จึงกำหนดจัด “โครงการอบรมเพื่อตรวจสอบและประเมินเบื้องต้น เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย” ให้แก่เจ้าหน้าที่และข้าราชการของกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน จากฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะนักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าหน้าที่อนามัย นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าหน้าที่จากสำนักสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มพูนประสบการณ์เกี่ยวกับการจำแนกแยกสารเคมีอันตรายออกจากชุมชน พร้อมทั้งการประสานแจ้งเหตุกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การจัดการแก้ไขปัญหาสารเคมีและกากของเสียได้อย่างทันท่วงที บางกรณีอาจนำไปสู่การสืบหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กล่าวด้วยว่า การจัดการขยะอันตรายในกรุงเทพมหานคร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรุงเทพมหานครเพียงหน่วยงานเดียว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของบ้านเรือนและชุมชนช่วยแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไปก่อนนำไปทิ้ง ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชน นอกจากนั้นในส่วนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างแท้จริง และเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืน