ก.ไอซีที จัดกิจกรรมอบรมความรู้ด้านไอซีที มุ่งสร้างความเท่าเทียมในสังคม

จันทร์ ๐๕ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๕:๓๖
นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ว่า จากที่ภาครัฐมีนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้มีโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงที่ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และแข่งขันได้ เพื่อเป็นโครงข่ายหลักในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและชนบท รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมแก่คนพิการและผู้ด้อยโอกาสอย่างเหมาะสม และส่งเสริมความรู้และอาชีพให้สตรีและคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

“กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานหลักที่สนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ เท่าเทียม ทั่วถึง และคุ้มค่า เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ จึงได้จัดทำโครงการต่างๆ ขึ้นมากมายเพื่อผู้พิการและสนองตอบนโยบายและยุทธศาสตร์ภาครัฐในการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดังกล่าว อาทิ การจัดทำแผนด้าน e—Accessibility การส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การเสริมสร้างศักยภาพศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเพื่อคนพิการ การส่งเสริมการจัดทำองค์ความรู้ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และกิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม” นายสือ กล่าว

ด้าน นางทรงพร โกมลสุรเดช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทางด้านไอซีที การเรียนรู้การพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ไปสู่ประชาชนทุกระดับชั้นและทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึง ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ด้อยโอกาสทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้แก่ คนพิการทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ เด็กเร่ร่อน สตรีด้อยโอกาส ได้รับความรู้ทางด้านไอซีที และเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่กว้างขวางมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาตนเองและนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“จากการดำเนินกิจกรรมในปีที่ผ่านๆ มามีผู้สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมฯ ทั้งที่เป็นคนพิการทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ สตรีด้อยโอกาส และเด็กเร่ร่อน จำนวนทั้งสิ้น 980 คน แบ่งเป็นปีงบประมาณ 2550 จำนวน 192 คน ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 367 คน ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 421 คน และในปีงบประมาณ 2553 นี้ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาและเพิ่มเติมหลักสูตรใหม่ โดยมีหลักสูตรที่หลากหลายกว่า 12 หลักสูตรตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังขยายจำนวนผู้ร่วมอบรมมากขึ้น โดยรับสมัครผู้ด้อยโอกาสเข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 870 คน จากทุกภูมิภาค” นางทรงพร กล่าว

สำหรับพิธีเปิดกิจกรรมฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่กิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมให้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ ความเป็นมา และสิ่งที่จะดำเนินการ ในปี 2553 ตลอดจนความก้าวหน้าของกิจกรรมฯ รวมทั้งมีการจัดอบรมหลักสูตรการส่งเสริมศักยภาพการใช้ไอซีทีขั้นพื้นฐานเพื่อความเท่าเทียมสำหรับคนพิการทางการมองเห็น ซึ่งนับเป็นหลักสูตรแรกของกิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ประจำปีงบประมาณ 2553

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 021416747 MICT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ