นางสาววัฒนา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “งานครั้งนี้เราได้เชิญคนทำสื่อวิทยุชุมชน อย่างสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Netizen) หนังสือพิมพ์อินเตอร์เน็ตประชาไท นักวิชาการด้านกฎหมายสื่อ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจะร่วมกันระดมความคิด หาข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาประมวลต่อในกระบวนการกำกับดูแล หรือเรื่องบทบาทสื่อ และจะมีสื่อกระแสหลักที่ทำหน้าที่เป็นสื่อสาธารณะ อย่างองค์การกระจายเสียงแพร่ภาพสาธารณะแห่งประทศไทย (ทีวีไทย) หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในเรื่องการออกใบอนุญาติประกอบกิจการวิทยุชุมชน อย่างคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และผู้ร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปสื่อมาโดยตลอดอย่าง คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ก็มาร่วมหารือในเวทีนี้เช่นกัน รวมถึงตัวแทนคนที่สื่อภาคประชาชนที่มาจากภูมิภาคต่างๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วย”
นอกจากนี้คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ นายสุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ (คปส.) ได้กล่าวถึงการปฏิรูปสื่อครั้งนี้ว่า “อยากให้รัฐบาลตั้งใจในการทำงานและทำอย่างโปร่งใสในเรื่องของสัดส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งในระดับจังหวัด ภาค และประเทศ เป็นไปตามมาตรา 26 วรรค 4 ของ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2543 รัฐต้องมีมาตรการป้องกันการแทรกแซงสื่อทุกประเภทจากกลุ่มการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และหยุดละเมิดเสรีภาพสื่อ ตามมาตรา 41 โดยการปิดวิทยุชุมชน และเว็บไซต์”
นายสุเทพ กล่าวเสริมอีกว่า “อย่างไรก็ตามคนทำสื่อ หรือสื่อมวลชนเองก็ต้องมีความรับผิดชอบ หรือมีจริยธรรมในการผลิตสื่อด้วยเหมือนกัน และอยากให้รัฐบาลมีความจริงใจในการปฏิรูปสื่อไม่ใช่ทำขึ้นมาเพื่อซื้อเวลา”
นาวสาววัฒนา ยังกล่าวเสริมต่ออีก “เราอยากเรียกร้องให้ออกใบอนุญาตตามเจตนารมณ์วิทยุชุมชนเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามีตัวตน และเป็นความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ โดยประชาชนร่วมเป็นเจ้าของและดำเนินการเอง ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นเกิดจากการมีความจำกัดในเรื่องของพื้นที่การได้รับสื่อ และเรื่องของเทคโนโลยีในการกระจายข่าวสาร ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้ถูกแทรกแซงจากกลุ่มทุน และกลุ่มการเมืองได้ง่าย จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เราก็ได้ทำให้รัฐเห็นถึงความสำคัญในบทบาทในเรื่องของการขับเคลื่อนของภาคประชาชนสามารถทำให้สำเร็จได้”