ไม่ไกลเกินเอื้อม เครือข่ายสถาบันทางปัญญาเสนอพลิกฟื้นความยุติธรรมชุมชน

พฤหัส ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๓:๑๔
อธิบดีกรมคุมประพฤติ ยอมรับระบบยุติธรรมชุมชนวันนี้ยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย อยู่ในช่วงใช้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาลงไปถอดบทเรียน ด้านอดีตผู้ว่าฯ ยะลา ชี้ยุติธรรมชุมชน ช่วยตัดคดีไม่ต้องไปถึงโรงถึงศาล หากมีผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาเข้ามามีส่วนพูดคุย ไกล่เกลี่ยก่อน

เวทีการประชุม “ปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสุขภาวะคนไทย” ครั้งที่ 36 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถ.วิภาวดีรังสิต ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นประธานการประชุมร่วมกับนักวิชาการทำงานในนามเครือข่ายสถาบันทางปัญญา

ศ.นพ.ประเวศ กล่าวถึง “ระบบความยุติธรรมชุมชน” ว่า เป็นบทเรียนให้คิด อะไรที่เอาออกจากชุมชนไปจะทำไม่ไหว ซึ่งแต่เดิมชุมชนจะดูแลทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องความยุติธรรมชุมชน จะมีผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้นำชุมชนทำหน้าที่คอยไกล่เกลี่ยเรื่องต่างๆ ก่อน แต่พอเราเลิกให้ความสำคัญกับชุมชน ทุกอย่างต้องเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมที่เป็นทางการ ภาระจึงไปตกอยู่ที่ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา จนกระทั่งทำงานกันไม่ไหว มีคดีคั่งค้างเกิดขึ้นมากมาย ทั้งหมดนี้เพราะเราเอาเรื่องยุติธรรมแยกออกมาจากชุมชน เข้าสู่ระบบยุติธรรมของรัฐ ดังนั้นควรนำเรื่องนี้กลับสู่ระบบความยุติธรรมของชุมชนเช่นเดิม

ด้านนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงระบบยุติธรรมว่า ถูกผูกขาดโดยระบบรัฐและราชการ แม้ว่า 5-6 ปีก่อนมีความพยายามผลักดันที่จะนำเรื่องความยุติธรรมกลับไปสู่ชุมชน โดยเริ่มทำอย่างจริงจังผ่าน 2 หน่วยงานหลัก คือ กรมคุมประพฤติ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จากนั้นก็เริ่มสอนให้ข้าราชการทำงานกับชุมชน และจัดตั้งเป็นศูนย์ยุติธรรมชุมชนขึ้น แต่เมื่อมีการประเมินผลเชิงปริมาณ ผลที่ออกมา ปรากฏว่า ข้าราชการไม่สามารถทำงานกับชุมชนได้ โดยเฉพาะข้าราชการที่เคยทำงานกับศาล ยังมีความมั่นใจว่า เป็นพนักงานของศาล ไม่มีกระบวนทัศน์ทำงานกับชุมชน ยังยึดติดกับอำนาจการทำงานตามกฎหมายเท่านั้น

“นอกเหนือจากที่สังคมไทยถูกรวมศูนย์โดยราชการแล้ว เรื่องของสังคมพึ่งพากันก็สำคัญ ชาวบ้านไม่ยอมรับว่า ตนเองมีพลังเพียงพอในการอำนวยความยุติธรรม เรื่องความยุติธรรมต้องขึ้นอยู่ที่ศาลเท่านั้น เป็นเวลา 60-70 ปี เราถูกทำให้เชื่อว่า ที่พึ่งสุดท้ายคือศาล อีกทั้งนักกฎหมายไทย ยังมีแนวคิดเชิงโครงสร้างแบบอำนาจนิยม เชื่อว่า กฎหมายเป็นเรื่องของอำนาจ เป็นเรื่องเฉพาะผู้เรียนมาเฉพาะทาง”

อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวอีกว่า ประชาชนมองกฎหมายเป็นเทพเจ้า ไม่อาจท้าทายหรือร่างขึ้นมาเองได้ ทำให้ความเป็นเจ้าของไม่เกิดขึ้น ไม่เชื่อว่าตัวเองมีพลัง วันนี้ระบบยุติธรรมชุมชนก็ยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย 50:50 ซึ่งต้องยอมรับความจริงในเชิงปริมาณไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการ ไม่สามารถถอดออกมาเป็นบทเรียนได้

ขณะเดียวกันการใช้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาลงไปถอดบทเรียน ก็ไม่แรงเท่าทำเรื่องสุขภาพที่มีภาพที่ชัดกว่า “กระบวนการยุติธรรมเจอกระบวนการของตุลาการ ประกอบกระบวนทัศน์ของชาวบ้าน ทำให้เจอ 2 เด้ง จึงเป็นเรื่องยาก และต้องชวนให้มีการปฏิบัติในพื้นที่จำนวนมาก เริ่มแรกอาจจะ 10 % หรือ 20 % แต่ในอนาคตหากมากขึ้นจะกลายเป็นความสำเร็จเล็กๆ เกิดเป็นการจัดการความรู้จากการปฏิบัติ จะเห็นช่องทางสว่าง และขยับต่อไปได้”

นายชาญเชาวน์ กล่าวถึงการให้ท้องถิ่นเขียนกฎหมายเอง “ประชาชนเป็นเจ้าของด้วยตนเอง ไม่ใช่รอเพียงฟ้าประทาน ในกระบวนการที่ท้องถิ่นสามารถเขียนกฎหมายได้เองนั้น วิญญาณมีอยู่แล้วในเทศบัญญัติ ไม่เพียงการล่ารายชื่อตามที่รัฐธรรมนูญให้ เชื่อว่า หากชาวบ้านเข้าใจระบบความยุติธรรมชุมชนจริงๆ จะสามารถเขียนกฎหมายเพื่อชุมชน เพื่อตัวเขาเองได้ ทั้งนี้ อยากให้รัฐสภา สภาท้องถิ่น และสังคมไทยเห็น ว่า ยุติธรรมชุมชนไม่ใช่สิ่งที่เพ้อเจ้อ เทศบัญญัติเริ่มต้นแล้วเราต้องการกฎหมายใหญ่ๆ ในสภากฎหมายเดียว คือ พ.ร.บ.ที่ให้อำนาจประชาชน เกี่ยวกับเรื่องชุมชนเข้มแข็งอย่างแท้จริง”

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย www.thaireform.in.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ