กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของไทย

พฤหัส ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๓:๓๓
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งดำเนินการจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของไทย สำหรับให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตเทียบวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรตนกับองค์กรชั้นนำประเภทเดียวกัน

นายสมเกียรติ ภู่ธงชัยฤทธิ์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า จากพันธกิจด้านการสนับสนุนและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพและเป็นกลไกสำคัญ ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) โดยสำนักโลจิสติกส์ ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินงาน “โครงการศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ (Logistics Service Information Center: LSIC)” เพื่อจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Industrial Logistics Performance Index) เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศที่ เป็นรูปธรรมครั้งแรกของไทย สำหรับให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตเทียบวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรตนกับองค์กรชั้นนำประเภทเดียวกัน เพื่อการพัฒนาปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็นสากล มีประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น

การจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ดังกล่าว จะดำเนินการจัดทำใน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านเวลา มิติด้านต้นทุน และมิติด้านความน่าเชื่อถือ ของ 9 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ได้แก่ การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน การจัดซื้อจัดหา การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ การขนส่ง การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้า การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า การบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และการบรรจุหีบห่อ และโลจิสติกส์ย้อนกลับ รวมทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด โดยการดำเนินงานในขั้นต้นจะเป็นสำรวจข้อมูลการบริหารจัดการโลจิสติกส์ตามกรอบมิติและกิจกรรมดังกล่าวในสถานประกอบการภาค อุตสาหกรรมการผลิตที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำด้านการประกอบการ จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ราย ใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก และอุตสาหกรรมยางพารา

ทั้งนี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กำหนดจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อแนะนำโครงการและถ่ายทอดความรู้ด้านการประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมให้ข้อมูลโครงการ ในวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2553 เวลา 09.00 — 13.00 น. ณ โรงแรม เดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะเป็นการเข้าสัมภาษณ์ ณ สถานประกอบการ ซึ่งจะดำเนินการในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ศกนี้ เพื่อให้การจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับพัฒนาเป็นเกณฑ์เทียบวัดสมรรถนะระดับประเทศ มีความถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลดีแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมที่จะสามารถนำข้อมูลชี้วัดประสิทธิภาพด้าน โลจิสติกส์ไปเทียบประเมินผลประสิทธิภาพองค์กร เพื่อพัฒนาปรับปรุงศักยภาพการประกอบธุรกิจ และยกระดับกิจการของตนให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกเสรีได้อย่างยั่งยืนต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2202 3565 รัตนา ปิยะกุลประดิษฐ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ