เมื่อแยกเป็นรายนโยบายพบว่าประชาชนมีระดับความพึงพอใจ ดังนี้ นโยบายด้านสุขภาพ เท่ากับ 2.84 (คิดเป็นร้อยละ 71.0) นโยบายด้านการศึกษา เท่ากับ 2.75 (คิดเป็นร้อยละ 68.75) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและด้านความปลอดภัย เท่ากับ 2.74 (คิดเป็นร้อยละ 68.5) นโยบายด้านเศรษฐกิจ เท่ากับ 2.68 (คิดเป็นร้อยละ 67) และนโยบายด้านการจราจร เท่ากับ 2.67 (คิดเป็นร้อยละ 66.75) ทั้งนี้ การรับรู้ผลงานที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดในแต่ละนโยบาย คือ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง เช่น การเพิ่มสวนสาธารณะการปลูกหรือตัดแต่งต้นไม้ มีประชาชนรับรู้ จำนวน 10,027 คน (คิดเป็นร้อยละ 96.2) นโยบายด้านสุขภาพ การส่งเสริมและจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ มีประชาชนรับรู้ จำนวน 9,933 คน (คิดเป็นร้อยละ 95.3) นโยบายด้านความปลอดภัยการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่ด้วยการเพิ่มจำนวนจุดให้แสงสว่างและกล้องวงจรปิด(CCTV) ตามจุดเฝ้าระวังต่างๆ มีประชาชนรับรู้ จำนวน 9,790 คน (คิดเป็นร้อยละ 93.9) นโยบายด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การปรับปรุงสภาพพื้นที่ของตลาดสดและตลาดนัดให้สะอาดเรียบร้อยและเอื้อต่อการค้าขาย มีประชาชนรับรู้ จำนวน 9,608 คน (คิดเป็นร้อยละ 92.2) นโยบายด้านจราจร ได้แก่ การให้ความสำคัญต่อการเพิ่มเส้นทางรถไฟลอยฟ้า เช่น ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีอ่อนนุช — ซอยแบริ่ง ส่วนต่อขยายสายสีลม จากถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน - ถนนเพชรเกษม มีประชาชนรับรู้ จำนวน 9,536 คน (คิดเป็นร้อยละ 91.5) และนโยบายด้านการศึกษาการให้โอกาสกับเยาวชนในด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การสนับสนุนสวัสดิการด้านการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (โครงการเรียนฟรี 20 รายการ) การส่งเสริมการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความพิเศษและเด็กพิเศษ (ออทิสติก) โครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีประชาชนรับรู้ จำนวน 9,291 คน (ร้อยละ 89.1)
- ม.ค. ๒๕๖๘ กทม.จ่ายเงินเยียวยาเข้าบัญชีผู้ประสบอุทกภัยได้ก่อนปีใหม่
- ม.ค. ๒๕๖๘ กทม.เตรียมพร้อมรับเทศกาลปีใหม่
- ม.ค. ๒๕๖๘ กทม.ชี้ปริมาณฝนเดือนกันยายนสูงเกินครึ่งของปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี