การก้าวสู่ระบบคลาวด์ และเหตุผลที่ต้องให้ความสำคัญ โดย นาย สุนิล ชวาล ผู้เชี่ยวชาญ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

พฤหัส ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๒๒
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมีความเชื่ออย่างเป็นเอกฉันท์ว่าการประมวลผลแบบคลาวด์จะกลายเป็นประเด็นทางด้านไอทีในปี 2553 แม้ว่าความเชื่อดังกล่าวจะเป็นจริงที่ว่าโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ดูเหมือนจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีเข้าถึงเทคโนโลยีของเราได้อย่างมาก แต่ยังมีความจริงอีกด้วยว่า คลาวด์นั้นเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และองค์กรต่างรับทราบกันดีถึงประสิทธิภาพที่เต็มเปี่ยมของคลาวด์ นายสุนิล ชวาล ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จึงได้จำแนกความแตกต่างระหว่างสภาพแวดล้อมของระบบคลาวด์ที่มีอยู่หลากหลายชนิดเพื่อช่วยองค์กรให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของศูนย์ข้อมูลผนวกรวมเข้ากับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลนั้น นำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของทรัพยากร ซึ่งจำเป็นต่อการจัดเก็บ ประมวลผล และปรับใช้งานข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสามารถให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ได้ทุกเมื่อ ขณะนี้ศูนย์ข้อมูลจำนวนมากกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพื้นที่อาคาร ระบบไฟฟ้า และความสามารถด้านการระบายความร้อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องแลกกับความคล่องตัวด้านไอทีและการผูกติดกับผู้ค้าเพียงรายเดียว เช่นเดียวกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมและต้นทุนในการบริหารจัดการกลุ่มก้อนข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ความพยายามในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ทำให้องค์กรได้นำระบบเสมือนจริงเข้ามาใช้งานอย่างรวดเร็ว และขณะนี้กำลังพิจารณารูปแบบบริการแบบคลาวด์เพื่อลดค่าใช้จาย เพิ่มความยืดหยุ่น และปรับปรุงระยะเวลาที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในตลาดที่เต็มไปด้วยการแข่งขันปัจจุบัน องค์กรต้องการความยืดหยุ่นและความคล่องตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งมากกว่าที่สถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิมจะสามารถจัดหามาให้ ได้ปัจจัยต่างๆ เช่น เวลาตอบสนองของไอทีต่อธุรกิจ และความรวดเร็วในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ความต้องการสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่องค์กรต่างๆ กำลังพิจารณาปรับปรุงศูนย์ข้อมูลของตนให้ทันสมัยผ่านเทคโนโลยีระบบเสมือนจริงและการรวมระบบเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว โดยทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ภายใต้แนวทางเดียวคือการลดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้มาพร้อมกับการขยายตัวอย่างมหาศาลของเนื้อหาแบบไม่มีโครงสร้าง และกำลังผลักดันให้องค์กรต้องทบทวนรูปแบบการให้บริการด้านไอทีอย่างเร่งด่วน

การให้บริการด้านไอทีตามความต้องการ หรือออน ดีมานด์

ในการก้าวเข้าสู่บริการด้านไอทีตามความต้องการ จำเป็นที่ลูกค้าจะต้องรับรู้ถึงประโยชน์ของระบบคลาวด์รูปแบบต่างๆ ก่อน ไม่ว่าจะเป็นระบบคลาวด์แบบส่วนตัว แบบผสม และแบบสาธารณะ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างสูงสุดโดยแท้จริง ทั้งหมดนี้ใช้เวลาไม่นานนัก โดยเมื่อพิจารณารายจ่ายด้านการลงทุน (CAPEX) แล้ว องค์กรต่างๆ มีแนวโน้มที่จะจ่ายมากเกินไปสำหรับการจัดการความต้องการที่ลดลงและเพิ่มขึ้นในระบบจัดเก็บข้อมูลและทรัพยากรที่ใช้ในการสนับสนุนทางธุรกิจ ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ในส่วนฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มที่ โดยความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ที่เห็นได้ก็คือการขยายและย่อขนาดทรัพยากรของระบบจัดเก็บข้อมูลได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนส่วนหน้าให้เหลือน้อยที่สุด และสามารถโยกย้ายจาก "ต้นทุนคงที่" ไปเป็น "ต้นทุนผันแปร" ได้

ถ้าเราพิจารณาไปที่ต้นทุนการดำเนินงาน หรือ "ต้นทุนแฝง" จะพบว่าการขยายตัวของข้อมูลและความซับซ้อนในการจัดการสภาพแวดล้อมไอทีแบบดั้งเดิมกำลังเริ่มปรากฏออกมาให้เห็น ลูกค้าสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานดังกล่าวได้ด้วยการปรับใช้ระบบคลาวด์และใช้บริการที่มีการจัดการแบบคลาวด์ นั่นคือจ่ายเฉพาะส่วนที่พวกเขาใช้งานและสามารถขจัดงานด้านการจัดการในแต่ละวันออกไปได้ในคราวเดียว

แม้ว่าการเข้าถึงทรัพยากรด้านการประมวลผลตามต้องการนั้นจะเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมกำลังต้องการอยู่ แต่ก็อาจสร้างความกังวลและความเสี่ยงต่อองค์กรด้านไอทีได้ ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการและการบริหารจัดการทางด้านธุรกิจได้อย่างมาก ถ้าผู้ใช้ในภาคธุรกิจเริ่มต้นด้วยการจัดจ้างผู้ให้บริการระบบคลาวด์ภายนอกเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนที่เร็วขึ้น ข้อมูลสำคัญของพวกเขาก็อาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงได้ และเพื่อบรรเทาความเสี่ยงดังกล่าว องค์กรด้านไอทีจึงควรหันมาพัฒนาสถาปัตยกรรมแบบคลาวด์ภายในองค์กรขึ้นเพื่อสร้างความคล่องตัวให้กับธุรกิจของตน ขณะที่การประมวลผลโครงการเฉพาะกิจก็อาจจัดจ้างผู้ให้บริการระบบคลาวด์ สาธารณะหรือแบบผสมได้ วิธีนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถย้ายเข้าสู่ระบบคลาวด์ในลักษณะที่สามารถควบคุมและบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมาก

สำหรับการย้ายเข้าสู่ระบบคลาวด์นั้น มีตัวเลือกการปรับใช้อยู่จำนวนมาก และยังมีข้อพิจารณาบางประการที่ควรคำนึงถึงในการเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

ระบบคลาวด์ส่วนตัว หรือ Private Cloud: เพื่อความเข้าใจโดยง่าย ให้มองระบบคลาวด์ส่วนตัวเป็นโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ที่อยู่ภายในผนังของศูนย์ข้อมูล ระบบคลาวด์ส่วนตัวสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมากโดยที่ไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเหมือนกับการปรับใช้แบบสาธารณะ เนื่องจากระบบนี้จะสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเครือข่ายภายในหรืออินทราเน็ต ข้อมูลของคุณจึงมีความปลอดภัยสูง โดยคุณสามารถควบคุมสิ่งดังกล่าวและสภาพแวดล้อมต่างๆ (เช่น เครือข่าย เซิร์ฟเวอร์ และอื่นๆ) ได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถบรรลุข้อตกลงของระดับการให้บริการ (SLA) ในระดับองค์กรได้ด้วย แต่คุณอาจต้องพบกับค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานบางอย่าง เช่น พื้นที่อาคาร ไฟฟ้า และระบบระบายความร้อน เว้นแต่ว่าคุณ จะปรับใช้บริการที่มีการจัดการ แต่กระนั้นคุณก็ยังจะต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการจัดการอยู่ดี

ระบบคลาวด์แบบผสม หรือ Hybrid Cloud: เมื่อพิจารณาระบบคลาวด์แบบผสมหรือแบบเชื่อถือได้ เราจะกำหนดให้ระบบนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นของผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ ในกรณีนี้ การเข้าถึงจะถูกจำกัดเฉพาะทรัพยากรที่เหมาะสมภายในองค์กรของคุณเท่านั้น และจะได้รับการส่งผ่านทางเครือข่ายเสมือนส่วนตัว (Virtual Private Network) หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานอยู่นอกการควบคุมโดยตรงขององค์กร ระดับการให้บริการจึงอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่างๆ นอกจากนี้ ลูกค้ายังต้องคำนึงถึงด้านความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานจริงอีกด้วย ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าใจกระบวนการและข้อกำหนดในการเข้าถึงบริการของผู้ให้บริการได้อย่างแท้จริง

ระบบคลาวด์แบบสาธารณะ หรือ Public Cloud: ระบบคลาวด์แบบสาธารณะอาจเหมือนกับระบบแบบผสม เพียงแต่จะสามารถเข้าถึงบริการได้มากกว่าผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งมีความปลอดภัยอย่างจำกัด ข้อเสนอของระบบคลาวด์แบบสาธารณะค่อนข้างมีราคาไม่สูงนักหรือในบางครั้งอาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย และโดยทั่วไปแล้ว ระดับการให้บริการหรือ SLA มักจะไม่ได้รับการรับรองหรือมีเกณฑ์การวัดที่ต่างจากขององค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้ในการวัดระดับ SLA ของตน นอกจากนี้ บริการและคุณลักษณะแบบมูลค่าเพิ่ม เช่น การเข้ารหัสลับ การบีบอัด การสำรองข้อมูล การแบ่งระดับชั้น และการจำลองแบบ เหมือนอย่างผู้ให้บริการระบบคลาวด์แบบส่วนตัวหรือแบบผสม ก็อาจไม่มีให้ใช้งานได้จากผู้ให้บริการสาธาราณะ

แล้วจะทำระบบคลาวด์แบบไหนดี

ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์รูปแบบใด ระบบคลาวด์พื้นฐานทั้งหมดควรมีคุณลักษณะสำคัญบางประการ โดยอันดับแรกคือการเชื่อมต่อโดยตรงที่ปลอดภัยเพื่อเรียกใช้ข้อมูลภายในระบบคลาวด์ เช่น อินเตอร์เฟส REST[1] หรือเส้นทางที่จะเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นกับคลาวด์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดให้กับแอพพลิเคชั่นใหม่ นอกจากนี้ ยังต้องสามารถแบ่งปันทรัพยากรกับผู้ใช้จำนวนมาก (multitenancy) ด้วยการแยกส่วนข้อมูลออกมาได้ ดังนั้น SLA ต้องสามารถกำหนดให้กับชนิดข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่นที่เฉพาะเจาะจงได้ นอกจากนี้ ระบบคลาวด์ยังต้องมีเนมสเปซที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงและชั้นความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม ระบบคลาวด์บางอย่างอาจนำเสนอคุณลักษณะที่มีมูลค่าเพิ่ม (ขึ้นอยู่กับผู้บริการ) อย่างการบีบอัดและการสร้างชุดข้อมูลเดียวเพื่อช่วยในด้านการประหยัดค่าใช้จ่าย การเข้ารหัสลับเพื่อสร้างความปลอดภัยที่ดีขึ้น และการเรียกเก็บเงินหรือค่าบริการขององค์กรหรือ ผู้ให้บริการที่ต้องการเรียกเก็บจาก แต่ละหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ตามการใช้งานจริง

โดยทั่วไปแล้ว บริการด้านไอทีจะยึดตามมาตรฐานระดับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมใช้งาน ความเชื่อถือได้ และความเป็นเอกภาพ การเพิ่มเติมหรือแทนที่บริการไอที "ดั้งเดิม" ด้วยบริการคลาวด์ จำเป็นที่จะต้องได้รับการรับรองในด้านคุณภาพเช่นเดียวกัน แม้ว่าบริการระบบคลาวด์ที่มีการจัดการจะช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลในด้านรายละเอียดของการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลมากนัก เช่น RAID (Redundant Array of Independent Disks) การจำลองแบบ และการวางแผนด้านความจุ แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกค้าจะต้องระบุให้รวมคุณภาพของบริการไว้ในสัญญาผู้ให้บริการคลาวด์ด้วย จะเห็นได้ว่าไม่ใช่ผู้ให้บริการคลาวด์ทุกรายจะสามารถมี SLA ได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสอบถามผู้ให้บริการก่อนว่ามี SLA อย่างไรบ้าง แม้ว่าบริษัทของคุณจะกำลังสร้างระบบคลาวด์ส่วนตัวภายในขึ้นมาเอง แต่คุณก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ระบบไอทีเป็นไปตาม SLA ของหน่วยธุรกิจนั้นๆ ด้วยเช่นกัน

ในสถานการณ์ที่คุณอาจต้องแลกเปลี่ยนบางอย่างกับรูปแบบการปรับใช้ระบบคลาวด์ที่หลากหลาย คุณจะสามารถเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปรับใช้ได้อย่างไร ในการเริ่มต้นใช้งาน ให้ลองพิจารณาขั้นตอนการปรับใช้แบบแบ่งช่วง คุณไม่จำเป็นต้องกระโดดเข้าไปใช้อย่างเต็มตัวในตอนแรก อย่างน้อยควรลองทดสอบการใช้งานดูก่อน เริ่มด้วยการระบุข้อมูลในสภาพแวดล้อมของคุณที่โดยทั่วไปมักจะมีมูลค่าทางธุรกิจต่ำและมีความต้องการ SLA ในระดับต่ำเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ชนิดข้อมูลที่ใช้ร่วมกันไดเรกทอรีโฮม ข้อมูลคงที่ หรือเนื้อหาที่เป็นสำเนาสำรองที่สามารถย้ายจาก "ที่จัดเก็บหลัก" ในบ้าน ไปยังที่จัดเก็บ "สำรอง" ของระบบคลาวด์ได้

คุณสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ทันทีด้วยการย้ายข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการจัดการแบบแอ็คทีฟหรือเป็นข้อมูลที่มีการเข้าถึงแบบอ่าน/เขียนแบบคงที่ไปไว้ยังระบบคลาวด์ คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินในด้านบริหารและจัดการระบบที่มีราคาสูงให้กับข้อมูลที่ไม่ได้มีความสำคัญทางธุรกิจ สิ่งนี้จะช่วยคุณได้อย่างมาก อย่างแรกคือเพิ่มทรัพยากรที่จะช่วยสนับสนุนแอพพลิเคชั่นหลักของธุรกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ที่มีอยู่ของคุณ สำหรับประโยชน์ข้อต่อมาก็คือองค์กรของคุณจะสามารถใช้และพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการปรับใช้ระบบคลาวด์ได้ และข้อสุดท้ายก็คือคุณจะสามารถมุ่งไปยังแอพพลิเคชั่นหลักระดับ 1 ในลักษณะที่คุณต้องการได้

จะเห็นได้ว่าองค์กรต่างๆ ต้องการความคล่องตัวด้านไอทีเพื่อรักษาฐานที่มั่นของตนในตลาดที่มีการแข่งขันสูงปัจจุบัน และเพื่อให้บรรลุแนวทางดังกล่าว ระบบคลาวด์จึงอาจเป็นรูปแบบบริการตามต้องการที่สามารถสนับสนุนความต้องการทางธุรกิจปัจจุบันของคุณได้ ขณะที่ยังสามารถให้ระบบพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับศูนย์ข้อมูลในอนาคตได้อีกด้วย

สอบถามรายละเอียด กรุณาติดต่อ:

คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด โทร. 081 694 7807

อีเมล์ [email protected]

[1] REST (Representational State Transfer) คือแนวทางในการเรียกใช้เนื้อหาข้อมูลจากเว็บไซต์ด้วยการอ่านเว็บเพจตามที่กำหนด ซึ่งจะมีไฟล์ XML (Extensible Markup Language) สำหรับให้คำอธิบายและรวมเนื้อหาที่ต้องการเอาไว้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero