สำนักงาน ก.พ. เผยร่วมมือกับ ม.เว็บสเตอร์ ประเทศไทย นำร่องจัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมนักเรียนทุนรัฐบาลระดับปริญญาโท-เอกในสหรัฐอเมริกา

ศุกร์ ๑๖ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๐๙:๔๗
สำนักงาน ก.พ. เผยร่วมมือกับ ม.เว็บสเตอร์ ประเทศไทย นำร่องจัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมนักเรียนทุนรัฐบาลระดับปริญญาโท-เอกในสหรัฐอเมริกา ประหยัดงบประมาณไปกว่าครึ่ง เตรียมเป็นต้นแบบรุ่นต่อไป

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เผยโครงการนำร่องกับ มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) จัดโครงการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษและพื้นฐานด้านสังคมอเมริกันในประเทศไทย สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลระดับปริญญาเอกและปริญญาโท เน้นทักษะการสื่อสาร การเขียนรายงานเชิงวิชาการและงานวิจัย พบว่าช่วยลดงบประมาณที่จำเป็นได้มากกว่าครึ่งของโครงการเดิมที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ พร้อมเตรียมขยายผลเป็นต้นแบบการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานราชการอื่นต่อไป

นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผยถึงความสำเร็จของโครงการนำร่อง หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาทุนรัฐบาลในครั้งนี้ว่า “เดิมทีการจัดเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษและความเป็นอยู่ในต่างประเทศของนักศึกษาทุนรัฐบาล จะให้นักศึกษาเดินทางไปล่วงหน้าและเข้าคอร์สเตรียมความพร้อมที่ประเทศนั้นๆ ก่อนเริ่มการศึกษาจริงในระบบปกติของสถาบัน ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อคนที่สูงมาก แต่ในปีนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้คัดเลือกและริเริ่มความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ประเทศไทย จัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษและพื้นฐานด้านสังคมอเมริกันสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล ระดับปริญญาเอกและปริญญาโท จำนวน 22 คน เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ก่อนเดินทางไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกา

การปรับรูปแบบเป็นการใช้สถานที่ในประเทศไทยในโครงการนำร่องครั้งแรกนี้ ได้เลือกคุณสมบัติเด่นของมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ประเทศไทย เพราะสถาบันแห่งนี้มีคณาจารย์ที่มีศักยภาพ รายละเอียดของหลักสูตรทั้งด้านวิชาการและวัฒนธรรม รวมไปถึงบรรยากาศ สภาพสังคมและจำนวนของนักศึกษานานาชาติ ที่สร้างสิ่งแวดล้อมคล้ายคลึงกับการศึกษาในอเมริกา ถือว่าช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก หากเปรียบเทียบเป็นสัดส่วน พบว่าช่วยลดงบประมาณไปได้มากกว่า 50% จากเดิมที่เคยจัดให้นักเรียนทุนรุ่นก่อนหน้านี้ในต่างประเทศ”

นายราทิช ทาเคอร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลด้านหลักสูตรเพิ่มเติมว่า ”การเรียนในระดับปริญญาโท-เอกในสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องที่ยาก นโยบายของมหาวิทยาลัยเราจะเน้นมาตรฐานการศึกษาจากอเมริกาเป็นหลัก ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรให้นักศึกษาไทยที่ได้รับทุนรัฐบาลในโครงการนี้ เราเพิ่มขีดความสามารถด้านภาษาของนักศึกษาที่มีอยู่แล้ว ให้มีทักษะการสื่อสารเชิงวิชาการและงานวิจัยมากขึ้น โดยเริ่มต้นเป็นลำดับขั้น ตั้งแต่การหาข้อมูล ค้นคว้าและวิเคราะห์ ไปจนถึงงานเขียนเชิงวิจัยและบรรยายในระดับปริญญาโท-เอก เสริมด้วยการสอดแทรกสาระด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต เพื่อให้เข้าใจและเรียนรู้ทัศนคติของชาวอเมริกัน เมื่อจบการศึกษาแล้ว นักศึกษาทุนเหล่านี้จะได้มีมุมมองและเรียนรู้ระบบการคิดเชิงวิชาการ เมื่อกลับมารับราชการจะได้เป็นกำลังสำคัญในแต่ละหน่วยงานช่วยพัฒนาประเทศต่อไป”

“หลังจากการติดตามหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ หากมีข้อสรุปประเมินผลชัดเจนแล้ว สำนักงาน ก.พ. พร้อมจะผลักดันขยายผลให้โครงการนี้เป็นต้นแบบสำหรับแผนงานหลักสูตรการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศรุ่นอื่นๆ ต่อไป เนื่องจากเห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจนและประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มาก รวมทั้งยินดีเผยแพร่ข้อมูลให้เป็นกรณีศึกษาของหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่มีการจัดสรรงบประมาณเป็นทุนพัฒนาบุคลากรศึกษาต่อต่างประเทศในลักษณะนี้ต่อไปด้วย” นางเบญจวรรณกล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ