กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ห่วงสถานการณ์ภัยธรรมชาติ เดินหน้า “ทดลอง วิจัย เติมน้ำลงชั้นน้ำบาดาล” แก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม

อังคาร ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๕:๓๗
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเตรียมรับสถานการณ์ภัยธรรมชาติ เดินหน้าศึกษาแนวทางแก้ปัญหา ภัยแล้ง และน้ำท่วม โดยการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลพื้นที่แอ่งเจ้าพระยาตอนบน จังหวัดพิจิตร สุโขทัย และพิษณุโลก พร้อมเฝ้าติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติ และสถานการณ์การใช้น้ำอย่างใกล้ชิดทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ

นายโชติ ตราชู อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้ง ในปี 2553 รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง พบว่าระดับน้ำบาดาลในชั้นน้ำบาดาลได้ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนลดน้อยลงในฤดูฝน และปริมาณ น้ำผิวดินที่ไหลซึมลงสู่ชั้นน้ำบาดาลน้อยลง โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดพิจิตร สุโขทัย และพิษณุโลก ที่มักประสบปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก และปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งของทุกปี ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจและวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร ซึ่งระดับน้ำบาดาลที่ลดลงจะมีผลต่อการนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง ทำให้มีการทรุดบ่อเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ใช้น้ำบาดาล โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรประชาชนจะเสียค่าใช้จ่ายในการเพิ่มขนาดเครื่องสูบน้ำ และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งระดับน้ำที่ลดต่ำลง 1 เมตร จะทำให้เสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องสูบน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 3.50 บาท ต่อ ชั่วโมง รวมถึงอาจมีผลให้ชั้นน้ำบาดาลแห้งลง ขาดศักยภาพในการพัฒนานำน้ำขึ้นไปใช้เพื่อการเกษตรและหล่อเลี้ยงความชุ่มชื้นของผิวดิน อันจะนำไปสู่ การเสียสมดุลทางระบบนิเวศวิทยา

กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้ศึกษาทดลองการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลผ่านระบบสระน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร โดยสำรวจ ศึกษา รวบรวมข้อมูลด้านธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกพื้นที่เหมาะสมเพื่อเป็นพื้นที่นำร่องทดลองระบบเติมน้ำลงชั้นน้ำบาดาล โดยการเติมน้ำผิวดินในช่วงฤดูน้ำหลากเข้ากักเก็บสู่ชั้นน้ำบาดาล และสูบขึ้นมาใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นการลดความสูญเสียของพื้นที่เกษตรกรรม อันจะนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

ขณะนี้ การดำเนินโครงการแล้วเสร็จไป ร้อยละ 80 และอยู่ระหว่างการทดลองระบบเติมน้ำระยะเวลา 6 เดือน การติดตามผลกระทบของการเติมน้ำทั้งปริมาณและคุณภาพ และประเมินความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์ คาดว่าจะได้ทราบผลการศึกษาในเดือนตุลาคม 2553

นายโชติ ได้กล่าวย้ำว่า “อยากฝากให้ประชาชนช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของประเทศที่มีการพัฒนานำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ การใช้น้ำบาดาลอย่างรู้คุณค่า และบูรณาการการใช้น้ำผิวดินและน้ำบาดาลร่วมกันจะสนับสนุนให้เกิดระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความสูญเสียที่เกิดจาก ภัยธรรมชาติได้อย่างถาวรในอนาคต”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย