“ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักๆ ของไทยตอนนี้คือการผลิตภาคอุตสาหกรรม เห็นได้จากสินค้าส่งออกหลักๆ ของไทยที่ขยายตัวดีได้แก่พวกสินค้าอุตสาหกรรม เช่น พวกยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรอุปกรณ์ ทำให้ลำพังภาคอุตสาหกรรมอย่างเดียวก็น่าจะช่วยให้ GDP ไตรมาส 2 ขยายตัวได้เกือบ 6% แล้ว ส่วนภาคบริการนั้น แม้บางส่วนเช่นโรงแรมร้านอาหารจะได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง แต่ภาคบริการอื่นๆ เช่นพวกขนส่งและการค้า น่าจะยังคงขยายตัวได้จากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัว ซึ่งเมื่อรวมกับภาคอุตสาหกรรมแล้วน่าจะช่วยให้ GDP ไตรมาส 2 ขยายตัวได้กว่า 7%” ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งแรกของปีถูกขับเคลื่อนโดยการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลก ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีโอกาสสูงที่จะแผ่วลงในครึ่งหลังของปีตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอันเนื่องมาจากจากปัจจัยลบหลายประการ เช่น ความเปราะบางในการฟื้นตัวของการบริโภคภาคครัวเรือนสหรัฐฯ ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป รวมไปถึงความพยายามของรัฐบาลจีนที่ต้องการลดความร้อนแรงของการเติบโตทางเศรษฐกิจลง
“ผมมองว่าโดยเฉลี่ยทั้งปี 2553 GDP ของไทยน่าจะขยายตัวได้ราว 6-7% ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่นับว่าดูดี แต่ประเด็นสำคัญคือ ตัวเลขเฉลี่ยดังกล่าวเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ออกมาดีมากในครึ่งแรกของปี ซึ่งหากมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงน่าจะทำให้การเติบโตของเศรษกิจไทยแผ่วลงไปด้วยในครึ่งหลังของปี” ดร.เศรษฐพุฒิ สรุป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB EIC คุณพิณัฐฐา อรุณทัต โทร.0-2544-2953 อีเมล์ [email protected]