หอฯ ตากจี้ “อภิสิทธิ์” เร่งเขตศก.พิเศษ เตรียมเสนอ 2 กม.ตัดสินใจตั้งองค์กร

อังคาร ๒๗ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๒๕
ภาคเอกชนจี้รัฐบาล จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด รองรับค้าชายแดนที่โตขึ้น 30% ผลักดัน “ตาก” เป็น “สี่แยกอินโดจีน” เต็มรูปแบบ

นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก เปิดเผยว่า การค้าชายแดนไทย-พม่า ช่วง 5 ปีหลังมีอัตราการเจริญเติบโตมากขึ้น โดยในปี 2533 จะมีมูลค่าการค้าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 30% เชื่อว่าหลังสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 ก่อสร้างเสร็จ การค้าจะคึกคักมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงควรเร่งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมารองรับ ทำให้จังหวัดตากเป็นสี่แยกอินโดจีนเต็มรูปแบบ เชื่อมโยงกับการค้าชายแดนด้านลาว เขมร และมาเลเซีย รวมทั้งควรให้มีการจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมปลอดภาระภาษีขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย

นายปณิธิ ตั้งผาติ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า เหตุที่ต้องผลักดันให้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น เพราะจะสามารถคอยกักเก็บสินค้าจากพม่าเข้ามายังไทย โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ และข้าวโพด เพื่อไม่ให้สินค้าเหล่านั้นมาปะปนกับสินค้าเกษตรของไทย จากนั้นก็สามารถส่งออกไปยังประเทศที่ 3 ได้ เป็นการขจัดปัญหาผลกระทบต่อเกษตรกรไทยเหมือนอย่างที่ผ่านมา ทั้งยังช่วยบรรเทาเรื่องแรงงานพม่าหลบหนีเข้าประเทศ โดยให้แรงงานพม่าทำงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจทดแทน หรือในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และแม้แต่ปัญหาระบบภาษี ซึ่งพื้นที่นี้จะถือเป็น Gate way ของทั่วโลก

ด้าน นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า ภาคเอกชนได้เสนอให้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการตัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 และ พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 ซึ่งรัฐบาลสามารถเลือกมาดำเนินการบริการเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ แต่ภาคเอกชนมองว่าการนำ พ.ร.บ. จัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะเป็นการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาบริหารงานเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนจนไม่เป็นเอกภาพและไร้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้สามารถลงทุนหรือดำเนินการในกิจการที่แสวงหาผลกำไรได้ด้วย ในขณะที่ พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 ไม่สามารถกระทำได้

นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมปลอดภาระภาษี โดยนำ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาใช้ประกอบกันในการจัดตั้ง หรืออีกแนวทางหนึ่งคือ การนำพระราชบัญญัตินิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาใช้ ทั้งนี้แล้วแต่รัฐบาลจะพิจารณาตามความเหมาะสม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ