ทีมนักวิจัยไทยร่วมเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการซินโครตรอนเอเชียและภาคพื้นสมุทร

พุธ ๒๘ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๕๖
เมื่อวันที่ 5-9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ และ ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ได้นำทีมนักวิจัยด้านซินโครตรอนของไทย จำนวนรวม 14 คน เดินทางไปร่วมประชุมวิชาการประจำปีด้านซินโครตรอนที่จัดโดย Asia-Oceania Forum for Synchrotron Radiation Research (AOFSRR) ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดเป็นครั้งที่ 5 โดยทีมนักวิจัยไทยมีผลงานจากการวิจัย ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มาร่วมเสนอทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ รวม14 เรื่อง โดยมีเรื่องที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าประชุมหลายเรื่อง อาทิเช่น การใช้แสงซินโครตรอนในศึกษาสีในแก้วโบราณจากแหล่งต่างๆ ของไทย โดย ดร.วันทนา คล้ายสุบรรณ์ และคณะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านแสงซินโครตรอนต่างชาติมีความสนใจที่จะใช้เทคนิคชั้นสูงที่มีในสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนชั้นแนวหน้ามาร่วมศึกษาเพื่อความเข้าใจถึงหลักการเกิดสีที่แตกต่าง นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญต่างชาติซึ่งมีเทคโนโลยีด้านการผลิตแสงซินโครตรอนที่สูงกว่าไทย ยังได้แสดงความสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น ความร่วมมือที่เกิดขึ้นเหล่านี้นับเป็นการบรรลุถึงวัตถุประสงค

์หลักของ AOFSRR ในการ เน้นการเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยซินโครตรอนในเอเชียและภาคพื้นสมุทร กับ นักผู้เชี่ยวชาญด้านแสงซินโครตรอนจากทั่วโลก

การประชุมนี้เป็นเวทีที่เชิญผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกให้มาบรรยายถึงความก้าวหน้าด้านเครื่องกำเนิดแสง และ การวิจัยโดยแสงซินโครตรอน ที่เป็นปัจจุบันของโลก โดยในปีนี้ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งของโลก คือความสำเร็จในการผลิตแสงเลเซอร์ในย่านรังสีเอกซ์โดยใช้การเร่งอิเล็กตรอนอิสระ (X-ray Free Electron Laser, XFEL) ซึ่งใช้การเร่งอิเล็กตรอนให้มีความเร็วใกล้แสงในลักษณะเดียวกับการผลิตแสงซินโครตรอน แต่เร่งในแนวเส้นตรงระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และบังคับให้ลำอิเล็กตรอนดิ้นภายใต้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง เพื่อผลิตแสงเลเซอร์ในย่านรังสีเอกซ์ ซึ่งมีการแข่งขันกันผลิตในสถาบันแสงซินโครตรอนหลายแห่งทั่วโลก เช่น SLAC National Accelerator Laboratory (สหรัฐอเมริกา) SPring-8 (ญี่ปุ่น) European X-ray free-electron laser (ยุโรป) เป็นต้น โดยแต่ละเครื่องใช้งบประมาณลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าแสงเลเซอร์ในย่านรังสีเอกซ์นี้ จะสามารถใช้ในการถอดรหัสโครงสร้างโปรตีน ตลอดจนเชื้อโรค เพื่อการออกแบบยา และ ศึกษาโครงสร้างของสารต่างๆ ได้ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน และ จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการกาวกระโดดของเทคโนโลยี ต่างๆไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลของประเทศที่ต้องการครองเทคโนโลยีต่างเห็นความสำคัญ และ ลงทุนสร้างโดยไม่รีรอ ทั้งนี้ ประเทศ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ สวิสเซอร์แลนด์ ต่างล้วนเริ่มโครงการ XFEL ด้วยทั้งสิ้น

นอกจากการประชุมวิชาการ ยังมีการประชุมสภา AOFSRR ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันซินโครตรอน จาก 8 ประเทศ ประเทศละ 1 คน* ร่วมกันหารือแนวทางการสนับสนุนความร่วมมือในอนาคต โดยมีวาระสำคัญอันหนึ่งคือ การให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก และ ประเทศในภูมิภาค ในการสร้างความตระหนัก พร้อมประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน อาทิเช่น มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น และประเทศที่มีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนน้องใหม่ เช่น ประเทศไทย เป็นต้น ทั้งใน สภา AOFSRR จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้บรรยายศักยภาพของแสงซินโครตรอนตลอดจน XFEL ในพิธีเปิดการประชุม วทท. ครั้งที่ 36 ณ ไบเทค บางนา ในวันที่ 26 ตุลาคม นี้ นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ ในการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AOFSRR ครั้งที่ 6 ซึ่งได้วางกำหนดการที่จะจัดขึ้นในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2554

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-6723173 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ