“มังคุด” ราชินีแห่งผลไม้ ช่วยพิชิตโรคร้าย !

เสาร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๔:๒๕
“มังคุด” ได้รับสมญานามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of Fruits) ด้วยคุณประโยชน์ที่มังคุดมีให้มากกว่าความเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย หอม หวานกลมกล่อม และอยู่คู่กับคนไทยตลอดมา

แม้ในอดีตจะไม่มีศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ถึงคุณสมบัติของ “มังคุด” แต่คนไทยสมัยโบราณ รู้จักและนำมังคุดมาแปรรูปเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างสารพัด ไม่ว่าจะเป็นเปลือกมังคุดที่ใช้ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลให้หายได้เร็วขึ้น หรือช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า หรือนำไปต้มกับน้ำใช้ดื่มเพื่อแก้อาการท้องร่วง ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน

ขณะที่การบริโภคเนื้อมังคุดมีกากใยช่วยในการขับถ่าย และมีสารอาหารวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ความนิยมบริโภคมังคุดที่แพร่หลาย ส่งผลให้มีเกษตรกรหันมาปลูกมังคุดมากขึ้น วิวัฒนาการของมังคุดมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น จนปัจจุบัน “มังคุด” ถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งมังคุดอบแห้ง น้ำมังคุด ไวน์มังคุด อาหารเสริมจากมังคุด ยาสระผม ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น ฯลฯ

ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย ได้นำเสนอผลงานวิจัยมังคุดที่ศึกษามายาวนานกว่า 32 ปี โดย ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย กล่าวว่า มังคุด ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูง มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่ามังคุดมีสารต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพหากมีการนำไปใช้ในทางที่ถูกต้อง ซึ่งผู้บริโภคควรทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะนำไปบริโภค ทั้งนี้จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า มังคุดมีประโยชน์เชิงสุขภาพ โดยมังคุด สามารถปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล โดยการลดการหลั่งสาร Interleukin I และ Tumor Necrosis Factor ซึ่งตามหลักวิชาของภูมิคุ้มกันจะทำให้ทำให้ลดอาการที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ภูมิตัวเองและการอักเสบ เช่น ตับเสื่อม ไตวาย เบาหวาน ข้อเข่าอักเสบ ความดันโลหิต โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์เป็นพิษ และความผิดปกติของสมองอันเกิดจากการอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ “มังคุด” ยังเพิ่มการหลั่งสาร Interleukin II ของเม็ดเลือดขาว ซึ่งตามหลักวิชาของภูมิคุ้มกันจะทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น ไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย หรือเซลล์มะเร็ง

คณะนักวิจัย (รศ. ดร.วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม, รศ. ดร.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร และ รศ.ดร. อำไพ ปั้นทอง) ได้พบว่าสารจากมังคุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือสาร GM-1 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญ และ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และ ระงับปวดในสัตว์ทดลอง โดยมีความแรงของฤทธิ์เป็น 3 เท่าของแอสไพริน ลดอาการแพ้ และ แก้ปวดในหนูทดลองต้านอนุมูลอิสระได้ดี สมานผิวได้อย่างรวดเร็วและจากการทดสอบความปลอดภัย พบว่า สาร GM-1 เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง และ ปลอดภัยกว่าสารธรรมชาติที่ให้รสเปรี้ยว (citric acid) ในมะนาวและส้ม ถึง 5 เท่า โดยนำสาร GM-1 เสริมกับสารสกัดจากธรรมชาติอื่น ๆ มาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรัง จากสิวและอาการแพ้

จากการร่วมวิจัยพัฒนาและทดสอบกับ บริษัท Henkel KGa ของประเทศเยอรมัน จึงได้มีการผลิตสบู่ เจลล้างหน้า ครีมบำรุง ครีมกันแดด ครีมอาบน้ำ ครีมสิว ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญคือ สารสกัดจากเปลือกมังคุด GM-1 ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกของโลก โดยไม่มี ส่วนผสมของ Tannin ในเปลือกมังคุด อันอาจทำให้ผิวคล้ำและเหี่ยวย่นได้อยู่ด้วย

อย่างไรก็ดี คุณประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพของ “มังคุด” เกิดจากเนื้อมังคุดที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงน้ำมังคุด ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุด ร่วมกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ผลิตน้ำมังคุดมาตรฐานเพื่อให้เป็นเครื่องดื่มที่ไม่ใช่เป็นยา โดยไม่ใช้เปลือก ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล สี กลิ่นสังเคราะห์ และสารกันบูด พร้อมควบคุมปริมาณสารที่มีประโยชน์ในเนื้อมังคุดในขบวนการผลิตอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งเป็นการช่วยพยุงราคามังคุดที่ตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด

โดยปัจจุบัน น้ำมังคุดสกัดเข้มข้น “BIM” น้ำมังคุดสกัดเข้มข้นชนิดซอง “BIM & Trim” น้ำมังคุดสกัดเข้มข้นสูตรกระชับสัดส่วน มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และส่งออกไปจำหน่ายกว่า 10 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฯลฯ และจะมีวางจำหน่ายในยุโรปในอีก 2 เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ ขณะนี้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรฯ จะร่วมกับ Asian Phytoceuticals Public Company Limited ทำการศึกษาการบริโภคน้ำมังคุดดังกล่าว เป็นประจำต่อเนื่องทุกวัน วันละ 300 มล. สำหรับเป็นอาหารของผู้ป่วยมะเร็งขั้นสุดท้าย ซึ่งดำเนินการโดยคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในขณะเดียวกัน จะมีการศึกษาควบคู่กันไป ในมหาวิทยาลัย ในแคลิฟอร์เนีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา และในเครือข่ายมหาวิทยาลัยในประเทศอิตาลี โดยโครงการทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ในอีก 12 เดือน ซึ่งหากงานวิจัยดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ ย่อมเกิดนวัตกรรมด้านการรักษาที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก

ศ.ดร.พิเชษฐ์ กล่าวต่อว่า แม้มังคุดจะมีประโยชน์สารพัด แต่ก็มีโทษ โดยเฉพาะสาร แทนนิน(Tannins) ที่อยู่ในเปลือกมังคุด ซึ่งพบว่าการบริโภคสาร แทนนิน อย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต และการบริโภคสาร Tannins ในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงกว่าปกติได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรเลือกบริโภคน้ำมังคุดที่ผลิตได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยและได้ประโยชน์ต่อร่างกาย

ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้นำส่วนต่างๆ ของ “มังคุด” ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและการบริโภคที่เหมาะสม ซึ่งจะมีโทษต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังที่ อย.ได้เคยแถลงข่าวเตือนไว้แล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งผู้ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของมังคุด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.mangosteenrd.com เพื่อการบริโภคที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก...

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero