กทม.เตรียมร่างแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยา

พฤหัส ๒๕ สิงหาคม ๒๐๐๕ ๑๔:๑๓
กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--กทม.
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร ว่า ในวันนี้ (24 ส.ค.48) กทม. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายปราโมทย์ ไม้กลัด สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน ศาสตราจารย์ธงชัย พันธุ์สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสถาบันการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และหน่วยงานกทม.ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ กทม.ร่างแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1.การบริหารจัดการคุณภาพน้ำ โดยสำนักการระบายน้ำกทม.เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมชลประทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจังหวัดใกล้เคียงที่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางผ่าน อาทิ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ 2.การปรับปรุงและพัฒนาภูมิทัศน์ทางกายภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการปลูกต้นไม้ การอนุรักษ์โบราณสถาน และสำรวจชุมชนบุกรุกที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 3.มาตรการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยให้สำนักผังเมืองแบ่งการพัฒนาพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อจะเชิญตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันรณรงค์ จัดกิจกรรม และโครงการต่างๆ อาทิ โครงการฉันรักเจ้าพระยา ตลอดจนผลักดันให้เกิดกองทุนเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อดึงภาคเอกชน และผู้ประกอบการให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการมากขึ้น และ 4.ข้อบัญญัติและกฎหมาย เพื่อบังคับใช้ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ สู่การกำหนดเป็นแผนแม่บทแบบบูรณาการ
ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม้จะไม่เห็นถึงความเน่าเสียมากนัก แต่ปัญหาที่เกิดจากคูคลอง ซึ่งมีสภาพน้ำเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเชื่อมต่อคลองต่างๆ ได้ ดังนั้น โครงการบำบัดน้ำเสียจะต้องมีการเร่งดำเนินการ อีกทั้งนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะมีการรณรงค์ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการมีส่วนร่วมในการบำบัดน้ำเสีย แต่หากครัวเรือนไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนทิ้ง ก็จะต้องมีการเข้าไปดูแล ซึ่งในหลักการมีส่วนร่วมรับผิดชอบนั้น ผู้ที่ทำให้เกิดน้ำเสียจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการบำบัด แต่จะต้องแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ครัวเรือน และผู้อุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้ปริมาณน้ำที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในเรื่องดังกล่าว กทม.กำลังหารือร่วมกับการประปานครหลวง ถึงอัตราค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version