ครู 400,000 คน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

อังคาร ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๐๒
เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะอนุกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติ ประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อช่วยให้การดำเนินงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาด้านการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมลำพอง 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศาสตราจารย์กิตติคุณสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะทำงานด้านการผลิตและการใช้ครู กล่าวว่า สิ่งสำคัญในเรื่องของการพัฒนาครู คือ ทำให้สถาบันที่ผลิตครูทำหน้าที่พัฒนาครูอย่างเป็นระบบครบวงจร และกระบวนการให้คนเข้าดำรงตำแหน่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหลักสูตร 4 ปี หรือ 5 ปี ต้องมีรูปแบบที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และเชื่อมโยงกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เงินเดือน ความก้าวหน้าและ การปรับวิทยฐานะ ที่สำคัญเรื่องการวิจัยซึ่งที่ผ่านมาได้มีความพยายามจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบการศึกษาของประเทศแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ขณะนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ บนพื้นฐานวัฒนธรรมของไทย โดยสภาวิจัยแห่งชาติพร้อมให้เงินสนับสนุน และจะร่วมกันพิจารณาเรื่องนี้ในวาระต่อไป นายเสน่ห์ ขาวโต คณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีครูที่จะต้องได้รับการพัฒนาในหลายรูปแบบประมาณ 400,000 คน แต่ที่น่าจะได้ผลมากและใช้งบประมาณน้อยคือ การให้ครูได้พัฒนาตัวเอง แต่ทั้งนี้จะต้องสร้างระบบที่ดีโดยให้มีเครื่องมือที่บอกได้ว่าครูมีการพัฒนาขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนประการที่หนึ่ง คือ วิทยฐานะ ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อการพัฒนาครู เช่น ครูที่อยู่ในวิทยฐานะชำนาญการ ถ้าพัฒนาแล้วจะเปลี่ยนเป็นชำนาญการพิเศษ เพียงแต่ว่าระบบและวิธีการได้มาซึ่ง วิทยฐานะยังไม่ตรงกับการพัฒนาครูอย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่อยากเห็นตอนนี้คือ ครูมีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีกลไกและเครื่องมือเพื่อประเมินในเรื่องนี้ ประการที่สอง คือ ใบประกอบวิชาชีพครู ต้องมีเกณฑ์ในการให้ใบประกอบวิชาชีพที่เป็นกลางจริง และคนที่ได้ใบประกอบวิชาชีพต้องเป็นครูที่มีความเป็นวิชาชีพอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงต้องมีเกณฑ์การประเมิน การสอบ การวัดที่ชัดเจน ถ้ากลไกทั้งสองเรื่องมีประสิทธิภาพ ครูจะพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น และหากจะให้การพัฒนาครูเป็นไปอย่างยั่งยืน ครูควรที่จะดำเนินงานร่วมกัน กล่าวคือ มีเครือข่ายในกลุ่มสาระวิชาของตนเอง เช่น เครือข่ายครูคณิตศาสตร์หรือชมรมครูคณิตศาสตร์ เพื่อให้ครูเก่งช่วยพัฒนาครูที่ด้อยกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ถ้าหากสร้างระบบต่าง ๆ เหล่านี้ให้ชัดเจน จะทำให้การพัฒนาครูได้ผลมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม