จาก ”อวตาร” สู่ อาวิเอชั่น : เปิดโลกทัศน์ใหม่ด้วยเทคโนโลยี โดย เดวิด เบรทท์, ประธานกรรมการ อะมาดิอุส เอเชียแปซิฟิค

อังคาร ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๐๘
ใครที่ได้ชมภาพยนตร์ฮิตระดับโลกเรื่อง “อวตาร (Avatar)” คงจะหลงไหลไปกับความคิดที่เกี่ยวกับโลกอีกใบหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้คนต่างมีความเข้มแข็ง และจิตใจที่ดีกว่าโลกใบนี้ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมที่ บริสุทธิ์ และเขียวขจีปราศจากความขัดแย้งใดๆ นับเป็นโลกที่ช่างสมบูรณ์แบบเสียจริงๆ ตัวผมเองก็ได้ตื่นตา ตื่นใจไปกับมนตร์สเน่ห์ของเรื่อง “อวตาร” นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้สร้างสรรค์ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กำเนิดขึ้น

ตั้งแต่ภาพยนตร์เข้าฉาย เราก็ได้เรียนรู้ว่าหนังเรื่องนี้ใช้ เทคโนโลยีในการถ่ายทำที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยใช้อุปกรณ์กล้องที่มีความล้ำสมัยผนวกกับการทำภาพแบบอนิเมชั่น 3 มิติที่ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับ วงการภาพยนตร์ไฮเทค ซึ่งเทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแค่สร้างสรรค์โลกใหม่ขึ้นมาในภาพยนตร์เรื่อง ”อวตาร” ให้เราได้ชื่นชมอย่างสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมการสร้าง ภาพยนตร์ในรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงอีกด้วย

เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่เคยหยุดสร้างความประหลาดใจให้กับผม มันมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ และเปลี่ยนแปลงความคิดในแง่มุมต่างๆ ของชีวิต เทคโนโลยีมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อทางเลือกในด้านความบันเทิงของเรา ที่รวมถึงดนตรีใหม่ๆ และเทคโนโลยีสำหรับภาพยนตร์ที่มีใช้อยู่โดยทั่วไป เทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงวิธีการ ในการสื่อสารของเราหลายคน รวมถึงการติดต่อพูดคุยกับคนอื่นๆ ในสังคมผ่านทางการพัฒนาของการใช้งาน โทรศัพท์มือถือ และโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ กล่าวได้ว่าในปีพ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา เฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค มีผู้ลงทะเบียนใช้โทรศัพท์มือถือมากถึง 2.1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 46.0% ของการลงทะเบียนใช้ทั้งหมด ทั่วโลก ในการจัดลำดับรายชื่อของประเทศทั่วโลกที่มีผู้ใช้ Facebook มากที่สุด ปรากฎว่าประเทศอินโดนีเซีย ถือเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีฟิลิปปินส์เป็นอันดับสามและมาเลเซียเป็นอันดับแปด จึงเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ ได้เข้ามาเป็นส่วนที่แนบแน่นของชีวิตประจำวันของผู้คน และทวีปเอเชียก็เป็นภูมิภาคที่เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีหลายๆ แง่มุมด้วยกัน

เทคโนโลยียังได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีทางการประกอบธุรกิจของเรา รวมถึงการปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แก่ อุตสาหกรรมการบิน (Aviation) ซึ่งอยู่

ในช่วงกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากมีสายการบินจำนวนมากเคยปฏิบัติงานโดยใช้ระบบเทคโนโลยี ที่ใช้สืบทอดกันมาอย่างยาวนานเป็นเวลาสามสิบปี ซึ่งมีข้อจำกัดมากมาย สายการบินเหล่านี้ จึงไม่ สามารถบันทึกข้อมูลที่เป็นรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับผู้โดยสาร หรือมีระบบอัตโนมัติที่สามารถเช็คและแน่ใจได้ว่าผู้โดยสารที่เป็นลูกค้าประจำได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พนักงานสายการบินเหล่านี้ต่างต้องใช้เวลามหาศาล ในการป้อนข้อมูลแบบแมนนวลเข้าสู่ระบบดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่ อีกทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการดูแล รักษาระบบเหล่านี้อีกด้วย

ในปัจจุบันหลายสิ่งหลายอย่างกำลังเปลี่ยนไป สายการบินต่างๆ พากันตระหนักว่าด้วยวิธีการจัดจ้างคนภายนอก (เอ้าท์ซอร์ส) สำหรับระบบ ไอทีของบริษัท จะทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยทำให้การบริหารธุรกิจได้ยืดหยุ่นดีกว่า นอกจากนี้ยังช่วยเอื้อประโยชน์ให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ควบคู่ กันไปด้วยและอาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมการบินยังมีความล้าหลังในด้านนี้อยู่มากเมื่อเปรียบเทียบ กับอุตสาหกรรมอื่นๆ

จากการศึกษาล่าสุดโดย Orange Business Services พบว่า 93% ของบริษัทข้ามชาติ หรือ MNCs ได้ดำเนินการ เอ้าท์ซอร์สบางรูปแบบโดยเฉพาะด้านการจัดทำศูนย์ข้อมูล เหตุผลประการแรกในการจัดจ้างคนภายนอกของบริษัท คือเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านไอที เพราะได้ใช้บริการของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอย่างแท้จริง ตามมาด้วยเหตุผลทางด้านการลดค่าใช้จ่ายที่มีนัยสำคัญ ดังนั้นอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบันจึงกำลังก้าวไปตามแบบแผนนี้ เพราะการเอ้าท์ซอร์สด้านไอทีของบริษัท จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าบริการของสายการบินเหล่านั้นจะไม่ถูกคู่แข่งทิ้งท้าย

เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกใหม่ทางด้านเทคโนโลยีการบิน และการบริการผู้โดยสาร อาจเปรียบได้ว่า“อะมาดิอุส” ก็คือ “อวตาร” ของอุตสาหกรรมการบิน โดยการที่เป็นผู้ให้บริการรายแรกในการเปลี่ยนแปลงโลกแห่งบริการ ให้เกิดขึ้นจริงด้วยระบบการบริหารจัดการผู้โดยสาร “อัลเทีย”

แล้วระบบนี้จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร? จริงๆ แล้วโลกของการบริการผู้โดยสารได้เปลี่ยนไปแล้วด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสุงสุด ซึ่งช่วยให้สายการบินสามารถป้อนข้อมูลการสำรองที่นั่ง และการจัดเก็บข้อมูลผู้โดยสารเข้าสู่ระบบล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาและกำลังคนมากมายในการคีย์ข้อมูลแบบเดิมๆ ไม่ว่าตั๋วจะถูกขายผ่านทราเวลเอเย่นต์, ผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยว หรือผ่านเว็บไซต์และศูนย์บริการลูกค้าของสายการบินเอง สายการบินเหล่านี้จะรู้ได้ในทันทีว่ามีจำนวนบัตรโดยสารเท่าไรที่สามารถจำหน่ายได้ ระบบนี้จะช่วยสายการบินดูแลลูกค้าประจำคนสำคัญให้ได้รับการจัดสรรที่นั่งในที่ที่ต้องการบนเครื่องบิน และได้รับการจัดลำดับเป็นพิเศษในฐานะที่เป็นผู้โดยสารสำรองกรณีเที่ยวบินเกิดล่าช้า หรือได้รับการเลื่อนชั้นที่นั่งระบบยังช่วย ตรวจสอบความถูกต้องในการจัดส่งสัมภาระไปยังจุดหมายปลายทางที่เดียวกับผู้โดยสารที่เป็นเจ้าของ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดจากการใช้แรงงานคน นอกจากนี้ระบบ “อัลเทีย” ยังช่วยให้ สายการบินสามารถคำนวณจำนวนน้ำหนักที่ควรบรรทุกเพื่อใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และส่งผลให้สายการบินนั้นเป็น “สายการบิน

ที่ช่วยด้านสิ่งแวดล้อม”

ประโยชน์อันหลากหลายเหล่านี้ทำให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์การบินที่ดี ซึ่งถือเป็นโลกทัศน์ใหม่ของ การเดินทางทางอากาศ โดยจะเห็นจากพัฒนาการที่ชัดเจนด้านบริการสำหรับผู้โดยสาร ในขณะเดียวกัน ก็มีการปรับปรุงในส่วนสำคัญๆ ให้มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายให้กับสายการบินได้ดียิ่งขึ้น

สายการบินล่าสุดที่ได้หันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบียน แอร์ไลน์ส ซึ่งเน้นความสำคัญ ของการรับเอาเทคโนโลยีที่ได้รับการเลือกสรรแล้วจากสายการบินชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก และย้ำว่า “เราจะไม่ แตกต่างจากสายการบินนานาชาติเหล่านั้น” สายการบินอย่างแควนตัส, ฟินแอร์, สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส, และคาเธ่ย์ แปซิฟิค ได้นำระบบนี้มาใช้แล้ว โดยมีสายการบินอื่นๆ ติดตามมาอย่างรวดเร็ว ตลอดช่วงปีพ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลของอะมาดิอุสได้บันทึกจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางโดยใช้ระบบอัลเทียถึง 238 ล้านคน มีจำนวนมากกว่าปีที่แล้วคิดเป็น 23% ซึ่งนับเป็นจำนวนถึง 11% จากจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางทางอากาศทั้งหมดในโลก และตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 อะมาดิอุสได้ถ่ายโอนระบบของ 31 สายการบิน มาใช้อย่างน้อยหนึ่งโมเดล หรือมากกว่าหนึ่งโมเดลของระบบการบริหารจัดการลูกค้าอัลเทีย (Altea CMS) และได้เซ็นสัญญาเพิ่มเติมกับอีก 30 สายการบิน

ปัจจุบันนี้ สายการบินต่างๆ พากันตระหนักว่าพวกเขาจะต้องทิ้งกลยุทธ์เดิมๆ ที่จะดำเนินการ ดูแลระบบไอที ของบริษัทด้วยตนเอง เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความล้าหลังจากสายการบินอื่นๆ ที่ได้เปลี่ยนมาใช้การเอ้าท์ซอร์ส ระบบไอที และในเมื่อธุรกิจสายการบินได้มีการเอ้าท์ซอร์สในหลายๆ ส่วน อาทิ การซ่อมบำรุงอากาศยาน ระบบเพื่อความบันเทิง และการบริการอาหารและเครื่องดื่มภายในเที่ยวบินมันจึงสมเหตุสมผลว่าในส่วนของ ไอที ก็ควรจะได้รับการเอ้าท์ซอร์สด้วย

พวกเราส่วนใหญ่อาจจะเคยยืนคอยอยู่ในทราเวลเอเย่นต์ หรือรออยู่ในสนามบินและสงสัยว่า เกิดความผิดพลาดขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใด บางทีการสำรองที่นั่งของคุณอาจหายไปหรือมีข้อมูลไม่ถูกต้อง แต้มสะสมคะแนนการบินของคุณไม่เพิ่มขึ้น หรืออาหารพิเศษที่คุณสั่งจองไว้ไม่มีให้บริการบนเที่ยวบิน หรือฝันร้ายของนักเดินทางทุกคนนั่นคือกระเป๋าเดินทางสูญหาย แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้สร้างโลกแห่งการเดินทางใบใหม่ที่จะช่วยลดทอนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด

เทคโนโลยีสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะนำไปสู่การบริการที่ดีขึ้น เสนอทางเลือกสำหรับแต่ละ บุคคลให้มากขึ้น และให้ประสบการณ์ในการเดินทางที่ราบรื่นกว่าเดิม นั่นคือสิ่งที่เราควรจะอ้าแขนรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะต้องเดินทางอยู่บ่อยๆ และใช้เวลาจำนวนมากอยู่ที่สนามบินและบนเครื่องบิน เหมือนกับที่ ”อวตาร” ได้แนะนำโลกใหม่ในภาพยนตร์ให้กับเรา ในอนาคตอันใกล้นี้ พวกเราทุกคนจะ เพลิดเพลินไปกับโลกแห่งการเดินทางแบบใหม่ ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆนั่นเอง

Contact details:

Edelman for Amadeus Asia Pacific

Fenix Wong

Tel : +65 6733 1110

Email : [email protected]

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

พีอาร์ แอนด์แอสโซซิเอส

ปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล

โทร 02 651 8989 ext 330

พิมพ์ลดา วรชาติทวีชัย

โทร 02 651 8989 ext 443

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม