ไทย-จีนร่วมมือ เตรียมวางทุ่นศึกษาทิศทางลมทำนายปรากฏการณ์ลมมรสุมของเอเชีย

พฤหัส ๐๕ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๑:๒๐
ไทย-จีน ร่วมลงนามความร่วมมือศึกษางานวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล เตรียมติดตั้งทุ่นสมุทรศาสตร์ศึกษาทิศทางลม คาดผลทำนายปรากฏการณ์ลมมรสุมสามารถช่วยเกษตรกรและภาคเศรษฐกิจได้

นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า ประชากรในประเทศภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งลมมรสุมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางเกษตรกรรม การเปลี่ยนแปลงและการผันแปรของสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อการก่อตัวของมรสุม ซึ่งส่งผลต่อความแห้งแล้ง ความชุ่มชื้นหรือแม้แต่ปัญหาน้ำท่วมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค หากในปีที่ลมมรสุมเอื้ออำนวยก็จะทำให้ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมดี ในขณะที่ปีที่แห้งแล้งหรือมีฝนมากกว่าที่ควรก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรรมอย่างมาก ซึ่งหมายถึงผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีการพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรมากประเทศหนึ่งและท้ายที่สุดย่อมส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเช่นกัน ดังนั้นจึงมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะของระบบมรสุมของเอเชียเพื่อจะสามารถทำนายลักษณะการเกิดมรสุมในแต่ละปีได้

ด้าน ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสมุทรศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า กรมฯ ได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการขึ้นกับทาง First Institute of Oceanography (FIO) สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาโครงการ “Monsoon Onset Over the Andaman Sea and Its Social Impact Study” โครงการดังกล่าวต้องอาศัยการติดตั้งทุ่นสมุทรศาสตร์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแบบละเอียดและทันเหตุการณ์เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของมรสุมในรอบปี และใช้ในการทดลองหาแนวทางพัฒนาโมเดลในการทำนายปรากฏการณ์เกี่ยวกับมรสุม อีกทั้งข้อมูลจากทุ่นจะนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องสภาพอากาศจากมรสุมที่มีผลต่อการดำรงชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน

“ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดทุกเดือนพฤศจิกายน — เมษายน จะนำพาอากาศที่หนาวเย็นและแห้งแล้งมาสู่ภูมิภาค ในขณะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะนำพาฝนและความชุ่มฉ่ำมาสู่แผ่นดิน หากมีความรู้ ความเข้าใจในปรากฏการณ์ของมรสุม และทราบลักษณะลมล่วงหน้าจะช่วยนำไปสู่การบริหารจัดการทางด้านการเกษตร รับมือภัยพิบัติจากภัยแล้งและอุทกภัย เพื่อลดความเสียหายและความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อไป” นักวิชาการ ทช. กล่าว

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มสื่อสารองค์กร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

120 หมู่ 3 ชั้น 5 อาคารรวมหน่วยราชการ (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์ 0-2141-1299 โทรสาร 0-2143-9249

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version