สถาบันอาหาร ชวนผู้ประกอบการไทย เปิดโลกธุรกิจ สร้างโมเดลให้ SMEs สู่ยุคแห่งนวัตกรรมแบบเปิด

ศุกร์ ๐๖ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๑๕
สถาบันอาหารชี้ช่องสร้างธุรกิจ SMEs ไทยให้แข็งแรง เปิดโลกธุรกิจศตวรรษที่ 20 ด้วยนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) แนะผู้ประกอบการด้านอาหารต้องเปิดทัศนคติเพื่อรับความรู้จากแหล่งต่างๆ มาผสมผสานกับความรู้ที่มีอยู่ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ต่อสู้ในตลาดอาหารโลก

นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 20 “นวัตกรรม” ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้ความรู้ประสบการณ์ และความสามารถของบุคลากรภายในองค์กรมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ตั้งแต่การทำวิจัยขั้นต้น พัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ บริหารจัดการ และทำการตลาด จนกระทั่งผลักดันสู่เชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ ซึ่งรูปแบบของนวัตกรรมดังกล่าวนี้เรียกว่า นวัตกรรมแบบปิด (Closed Innovation) แต่นวัตกรรมแบบปิด มีข้อเสียที่ทำให้องค์กรผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างล่าช้าเพราะต้องเริ่มต้นทำทุกอย่างใหม่ และยังต้องยึดติดกับความรู้ที่ได้จากบุคลากรคนใดคนหนึ่ง ซึ่งอาจนำองค์ความรู้ติดตัวไปด้วยเมื่อพนักงานเหล่านั้นลาออกไป ดังนั้น เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์มากขึ้น นวัตกรรมแบบปิด (Closed Innovation) จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการอีกต่อไป แต่จะมีนวัตกรรมรูปแบบใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)”

นวัตกรรมแบบเปิดเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากแวดวงนักวิชาการ และองค์กรนวัตกรรมระดับโลก โดยมีแนวคิดว่า องค์กรควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้และพร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ จากแหล่งภายนอก ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่งานวิจัย พัฒนา และผลักดันนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ด้วยตนเองทั้งหมด แต่เป็นการนำองค์ความรู้จากภายนอกมาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่แล้วภายในองค์กร เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

“สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร นวัตกรรมแบบเปิดได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน มีทั้งคู่แข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น และผู้บริโภคก็มีความต้องการที่หลากหลายและสลับซับซ้อน จึงเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการต้องเปิดใจรับความรู้จากแหล่งภายนอกมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งกระแสนวัตกรรมแบบเปิดไม่ได้มีแนวโน้มที่ได้รับความสนใจแต่เฉพาะในบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ในบริษัทขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ต่างเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน” รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าว

จากการศึกษาของ Sungjoo Lee นักวิจัยชาวเกาหลี พบว่า ความจริงแล้วบริษัท SMEs มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ได้อย่างน่าสนใจ ประกอบกับโครงสร้างองค์กรขนาดเล็ก ปรับตัวได้ง่าย จะยิ่งส่งผลดีต่อการรับความรู้จากแหล่งภายนอกมาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แต่ยังพบว่าปัญหาสำคัญสำหรับ SMEs คือ ขาดแนวทางในการนำผลิตภัณฑ์ไปสู่ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็ง ค้นหาแหล่งความรู้ และช่วยหาพันธมิตร ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหน่วยงานที่เรียกว่า KICMS (Korean Integrated Contract Manufacturing Service) มาผสานให้เกิดความเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs เพื่อผลักดันนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ เช่น ผสานให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างองค์กร และสร้างความร่วมมือการวิจัยทางการตลาด เป็นต้น

นายอมร กล่าวต่อไปว่า “สำหรับประเทศไทยนั้น แม้อุตสาหกรรมอาหารจะเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก และมีมูลค่าการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 7-8 ของการผลิตมวลรวมของประเทศ แต่จากสภาวการณ์แข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงมากขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการจะต้องหันมาให้ความสนใจนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการเปิดใจรับรู้สิ่งใหม่ๆ นอกเหนือจากความรู้เดิมในองค์กร รวมทั้ง แสวงหาพันธมิตรเพื่ออาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายต่างๆ ในการสร้างนวัตกรรม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งอาจมีเงินทุนในการทำวิจัยและพัฒนาน้อย แต่หากมีการเปิดทัศนคติเพื่อรับความรู้จากแหล่งต่างๆ มาผสมผสานกับความรู้ที่ตนเองมีอยู่ รวมทั้งามมผสานกับความรู้ที่ตนเองมีอยู่ ตามที่บัตการiรใสใช้ประโยชน์จากความร่วมมือที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ก็จะสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ได้ไม่ยาก แต่อย่างไรก็ดี คงไม่สามารถตอบได้ว่านวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) จะดีกว่านวัตกรรมแบบปิด (Closed Innovation)หรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะมีความสามารถในการซึมชับความรู้ (Absorptive Capacity) เพื่อใช้ประโยชน์ได้มากแค่ไหน มีองค์ความรู้และความพร้อมเพียงพอที่จะนำไปแลกเปลี่ยนกับองค์กรอื่นหรือไม่ หากมีความสามารถดังกล่าวนี้มากเพียงพอ การนำนวัตกรรมแบบเปิดมาใช้ก็จะช่วยสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการได้อย่างมาก แต่ทั้งนี้องค์กรจำเป็นที่จะต้องสร้างบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถมากยิ่งขึ้น เพื่อให้รู้จักการคัดสรรความรู้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนครับ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version