กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ศัลยแพทย์สหรัฐอเมริกาเตือนผู้ป่วยโรคอ้วน ที่เข้ารับการผ่าตัดเย็บกระเพาะให้เล็กลง เพื่อแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน มีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิตภายใน ๑ ปีหลังผ่าตัด
ศัลยแพทย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาผู้ป่วยในโครงการเมดิแคร์ จำนวน ๑๖,๑๕๕ ราย ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดเย็บกระเพาะในช่วงปี ๒๕๔๐ และ ๒๕๔๕ พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มอายุ ๓๕ - ๔๔ ปี กว่าร้อยละ ๕ ในเพศชาย และเกือบร้อยละ ๓ ในเพศหญิง จะเสียชีวิตภายใน ๑ ปีหลังจาก การผ่าตัดเย็บกระเพาะ นอกจากนี้ทีมงานยังพบว่า ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงมาก โดยถ้าผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุ ๔๕ - ๕๔ ปี อัตราเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย และผู้ป่วยอายุ ๖๕ - ๗๔ ปี ผู้ชายจะเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๓ และประมาณร้อยละ ๖ ในเพศหญิง ส่วนผู้ป่วยอายุ ๗๕ ปี หรือสูงกว่า มีอัตราเสียชีวิตสูงที่สุด
งานวิจัยก่อนหน้านี้ ได้ศึกษาผู้ป่วยโรคอ้วน อายุระหว่าง ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่เข้ารับ การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนมากที่สุด พบว่าหลังจากเข้ารับการผ่าตัดไปแล้ว คนในกลุ่มนี้มีอัตราการเสียชีวิต ไม่ถึงร้อยละ ๑ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตหลังผ่าตัดมีหลายประการ ได้แก่ ภาวะขาดอาหาร การติดเชื้อในช่องท้องและถุงน้ำดี นอกจากนี้การผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุ ยังเสี่ยงที่จะทำให้ระบบการทำงานในร่างกายล้มเหลวได้
สำหรับรูปแบบการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผ่าตัดบายพาสกระเพาะและ ลำไส้เล็ก ด้วยการสร้างเส้นทางลัดให้อาหารเดินผ่านกระเพาะลงไปสู่ลำไส้เล็กโดยตรง ส่งผลให้ผู้ป่วย ลดปริมาณอาหารที่จะบริโภคลงได้ และทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารไปใช้ได้น้อยลง
(ที่มา : http://www.komchadluek.net/news/2005/10-28/it-18916554.html)--จบ--
- ธ.ค. ๒๕๖๗ โควิด-19 คร่าชีวิตราว 6.9 ล้านคนทั่วโลก มากกว่าตัวเลขทางการกว่า 2 เท่า
- ธ.ค. ๒๐๒๕ IHME เผยคาดการณ์สถานการณ์โควิด-19 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน คาดยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกทะลุ 3.5 ล้านราย
- ธ.ค. ๒๕๖๗ IHME เผยตัวเลขประมาณการโควิด-19 เป็นครั้งแรกของโลก คาดระหว่างนี้จนถึง 1 มกราคมอาจช่วยได้เกือบ 770,000 ชีวิต