ภาพข่าว: ร่วมหาแนวทางป้องกันหญิงไทยจากมะเร็งปากมดลูก

จันทร์ ๐๙ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๕๗
เมื่อเร็วๆนี้, จากปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกที่ครองสถิติการเสียชีวิตของหญิงไทยโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นถึงวันละ 14 รายและมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละเกือบหนึ่งหมื่นราย ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานจึงเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ และหาแนวทางป้องกันหญิงไทยจากโรคนี้ อาทิเช่น รศ.พญ.อรวรรณ คีรีวัฒน์ นายกสมาคมอนามัยเจริญพันธุ์ (ที่3 จากขวา) พล.อ.ต.นพ.วีระ สุรเศรณีวงศ์ อุปนายกคนที่ 1 สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย (ที่ 3 จากซ้าย) นพ.วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกคนที่ 2 สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย (ที่ 2 จากซ้าย) น.อ.นพ.ภานนท์ เกษมศานติ์ เลขาธิการ สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย (ซ้ายสุด) คุณณัฐยา บุญภักดี เลขาธิการมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.) (ที่ 2 จากขวา) และภก.กาญจนศักดิ์ มีศิลปวิกกัย ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ บริษัทแกล็กโซ สมิทไคล์น (ขวาสุด) ซึ่งหลังจากการประชุมครั้งนี้จะมีการจัดตั้งเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มแพทย์ บุคลากรการแพทย์ มูลนิธิ องค์กรเอกชน ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก รวมถึงประชาชนที่มีความสนใจเรื่องการป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการรณรงค์เรื่องมะเร็งปากมดลูกของสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย เร็วๆนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ