ผู้บริหารแผนงานโครงการรณรงค์กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ 2553

อังคาร ๑๗ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๑:๐๖
มูลนิธิคุณพุ่ม จัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ2553 โดย นางสมบูรณ์ อาศิรพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานมูลนิธิคุณพุ่ม กรุงเทพมหานคร ร่วมรณรงค์กิจกรรมกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ โดยคุณสิริกิติยา ทัศนวิสุทธิ์ ในนามผู้บริหารแผนงานโครงการรณรงค์ กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ และทีมงานกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เด็กออทิสติก ในวันแม่แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยได้ระลึกถึงพระคุณของมารดา พร้อมมอบของที่ระลึกโครงการ “กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ” ทีมงานพีอาร์ร่วมกิจกรรม,กลุ่มเด็กออทิสติก โดยให้น้อง ๆ มอบ “กระเป๋ากันง่วง... ลดอุบัติเหตุ” พร้องพวงมาลัยให้กับคุณแม่เป็นของขวัญวันแม่ แสดงถึงความรักความห่วงใยที่มีต่อคุณแม่ เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากง่วงหลับใน “ คุณสิริกิติยา ทัศนวิสุทธิ์ ผู้บริหารแผนงานได้กล่าวว่า” โครงการรณรงค์ กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ ได้รับมอบหมายให้บริหารโครงการจาก นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี พูดถึง คุณสมบัติกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ และบอกถึงวิธีการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ สำหรับวางข้างกายคนขับ ซึ่งข้างกระเป๋าจะมีข้อความบอกถึงอันตรายของการง่วงแล้วขับ และมีวิธีป้องกันง่ายๆ ด้วยตัวเอง ในกระเป๋านี้บรรจุของ ที่จำเป็น 9 อย่าง ได้แก่ ลูกอม หมากฝรั่ง ยาหม่องน้ำหรือยาดม กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หมอนรองคอ หน้ากากปิดตา และปลั๊กอุดหู เพื่อให้คนขับหยิบใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดอาการง่วงหรือต้องการพักผ่อน เป็นการช่วยลดอุบัติเหตุและทรัพย์สินและชีวิตจากการหลับใน อีกทั้งสร้างจิตใต้สำนึกและกระตุ้น ความปลอดภัยด้วยสติศักยภาพทางด้านสมาธิให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนตั้งข้อสังเกต “ เมื่อมีอาการง่วงแล้วไม่ควรขับรถ” และกล่าวถึงการร่วมรณรงค์กิจกรรมในวันแม่แห่งชาติว่า จุดมุ่งหมายของกิจกรรมวันแม่ กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ

1. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ

กิจกรรมกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ เป็นกระบวนการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก/ครอบครัว โดยอาศัยการเล่มเกมส์

แม่กับลูกร่วมกัน ตอบคำถามร่วมกัน โครงการรณรงค์ กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ เป็น สื่อกลางของกิจกรรมวัน แม่แห่งชาติ 2553

ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ สามารถก่อให้เกิดความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน และส่งเสริมสถาบันครอบครัวเป็นอย่างดี

2. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ความรู้การป้องกันง่วงหลับใน

กิจกรรมกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรม เกี่ยวกับการป้องกันตนเอง และครอบครัวเมื่อ

มีอาการง่วงแล้วหลับใน เน้นเตือนสร้างจิตสำนึก ความพร้อม สมาธิ ในขณะที่ขับรถให้แก่ผู้ ร่วมเล่นกิจกรรม และจากเนื้อหาของ

คำถามและคำตอบสามารถสร้างความรู้อันเกิดจากแผนการรณรงค์กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ

3. เพื่อส่งเสริมการแสดงออกของแม่กับลูก/ครอบครัว

กิจกรรมกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ เป็นการส่งเสริมให้แม่และลูก/ครอบครัว ได้แสดงออกร่วมกันตอบคำถาม ทางด้านความรู้สึกนึกคิด สร้างสรรค์ หรือพฤติกรรมต่างๆ ทำให้สามารถมี ส่วนร่วมกันของกิจกรรมดังกล่าว และทางคุณสิริกิติยา ทัศนวิสุทธิ์ ได้กล่าวถึง “คำกล่าวของ นพ.มนุญ ลีเชวงวงศ์” เพื่อให้ประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วประเทศตระหนักถึงภัยอันตรายของการง่วงแล้วขับ เน้นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุบนท้องถนนเกี่ยวกับ "ง่วงแล้วหลับใน " สร้างจิตใต้สำนึกและกระตุ้น ความปลอดภัยด้วยสติศักยภาพทางด้านสมาธิให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนทั่วประเทศตั้งข้อสังเกต “ เมื่อมีอาการง่วงแล้วไม่ควรขับรถ ”

น.พ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี เปิดเผยถึงสถิติสำคัญของอุบัติเหตุรถยนต์อันมีสาเหตุมาจาก “ความง่วง” ภัยเงียบที่หลายๆ คน มิได้คำนึงถึง “เพราะอาการง่วงนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาช่วงบ่ายสองถึงสี่โมงเย็น และหลังเที่ยงคืนถึงเจ็ดโมงเช้า เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คนเราได้ตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานหลายชั่วโมง จนร่างกายเริ่มมีอาการเหนื่อยล้าและง่วงนอน “ง่วง” แล้วหลับใน ตายได้ใน 4 วินาที!!! “ ถ้าเรากลับเผลอหลับในเพียงแค่ 4 วินาที ขณะที่ขับรถด้วยความเร็ว 90 กม./ชม. รถจะวิ่งออกไปได้ไกลถึง 100 เมตร โดยที่คนขับไม่รู้ตัวเลย ซึ่งภายในระยะทาง 100 เมตรนี้ รถอาจจะพุ่งเข้าชนอะไรก็ได้ และด้วย ความเร็ว 90 กม./ชม. ความรุนแรงของการพุ่งชนจะเทียบได้กับการตกตึกที่สูงถึง 10 ชั้น ” ยกตัวอย่างถึงอันตรายร้ายแรงของ “ความง่วง” อย่างเป็นรูปธรรมทั้งนี้ ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับฯ ได้เผยถึงผลการศึกษาของมูลนิธิฯ ว่า

“ความง่วง เป็นสาเหตุสำคัญของ อุบัติเหตุการจราจรในเมืองไทย เพราะจากผลการศึกษาของมูลนิธิฯ ที่สอบถามจากผู้ขับรถหลากหลายประเภท พบว่า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องมีคนขับที่กำลังรู้สึกง่วงอยู่อย่างน้อยร้อยละ 50 โดยที่มีคนจำนวนมากถึงร้อยละ 28-53 เคยหลับใน และกล่าวขอขอบพระคุณการร่วมมือของหน่วยงานภาคเอกชน เสริมสร้างเป็นเครือข่าย ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมรณรงค์กับหน่วยงานภาคเอกชน 1. บริษัท ไทยลอตเต้ จำกัด 2. สมาคมเครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อพลังงาน 3. บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)4. บริษัท เบอร์แทรมเคมิคอล (1982) จำกัด 5. บริษัท บริดจสโตน เอ.ซี.ที (ประเทศไทย) จำกัด 6. บริษัท ไทยยินตัน จำกัด 7. บริษัท อินบิสโก้ (ประเทศไทย) จำกัด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

บริษัท ดิอายส์ดีท์ จำกัด

คุณนันทิยา รอดอยู่ , ประสานงานกิจกรรม : นางสาวกรอนงค์ วงศ์ศุภลักษณ์

Tel : 02-728-1732 ,02-728-7372 Fax : 02-728-0540

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ