SCB EIC ชี้นโยบายการคลังปีงบประมาณ 2011 จะกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าในปี 2009 — 2010 ขณะที่ฐานะการคลังของไทยยังไม่น่าเป็นห่วง

อังคาร ๑๗ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๒:๓๓
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า นโยบายการคลังปีงบประมาณ 2011 จะกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าในปี 2009 — 2010 ทั้งนี้ งบประมาณส่วนใหญ่คาดว่าจะถูกใช้ไปในรายจ่ายประจำเหมือนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายจ่ายลงทุนไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้น ภายใต้งบประมาณ 2011 ทางเลือกเดียวของรัฐในการลงทุนในโครงการใหม่ๆ คือการกู้ อย่างไรก็ตาม ฐานะการคลังของไทยยังไม่น่าเป็นห่วงทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันยอดขาดดุลการคลังและยอดหนี้สาธารณะอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และในอนาคต แม้หนี้สาธารณะต่อ GDP อาจเพิ่มขึ้นแต่จะไม่เพิ่มเร็ว

ดร. เศรษฐพุฒิ เปิดเผย “ถึงแม้ว่าปีงบประมาณ 2011 จะมีการตั้งงบประมาณขาดดุล (headline deficit) สูงถึง 4.2 แสนล้านบาท (4.1% ของ GDP) แต่ถ้าหักรายจ่ายที่เกี่ยวกับภาระหนี้ที่ไม่มีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ (-33 พันล้านบาท) รายจ่ายชดเชยเงินคงคลัง (-30 พันล้านบาท) และรายจ่ายดอกเบี้ย (-179 พันล้านบาท) ออกจะเหลือยอดการขาดดุลการคลังที่ไม่รวมรายจ่ายที่เกี่ยวกับภาระหนี้ (primary deficit) จากการขาดดุลในงบประมาณเพียง 178 พันล้านบาท หรือ 1.7% ของ GDP และเมื่อรวมเงินนอกงบประมาณจากมาตรการไทยเข้มแข็งที่น่าจะเบิกจ่ายได้ประมาณ 150 พันล้านบาท หรือ 1.5% ของ GDP จะทำให้ primary deficit จากในและนอกงบประมาณปี 2011 เท่ากับ 3.2 %ของ GDP ซึ่งมากกว่าปีก่อนๆ”

“แต่งบประมาณส่วนใหญ่คาดว่าจะถูกใช้ไปในรายจ่ายประจำเหมือนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายจ่ายลงทุนไม่มากเท่าที่ควร เพราะระหว่างปีงบประมาณ 2001 — 2011 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น 1,160 พันล้านบาท จาก 910 เป็น 2,070 พันล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นเพียง 24 พันล้านบาท ในทางตรงกันข้ามรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นถึง 1,105 พันล้านบาท ซึ่งอาจพูดได้ว่างบประมาณที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถูกใช้ไปเป็นรายจ่ายประจำนั่นเอง ดังนั้น ภายใต้งบประมาณ 2011 ทางเลือกเดียวของรัฐในการลงทุนในโครงการใหม่ๆ คือการกู้” ดร. เศรษฐพุฒิ กล่าวเสริม

ดร. เศรษฐพุฒิ กล่าวทิ้งท้าย “อย่างไรก็ตาม ฐานะการคลังของไทยยังไม่น่าเป็นห่วงทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เนื่องจากในปัจจุบันมีความเสี่ยงทางการคลังต่ำ โดยเห็นได้จากยอดหนี้สาธารณะ และขาดดุลการคลัง ต่อ GDP ที่ต่ำกว่าประเทศในยุโรปที่มีปัญหาวิกฤติทางการคลังและประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในอนาคตฐานะการคลังก็ยังไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากแม้หนี้สาธารณะต่อ GDP อาจเพิ่มขึ้นแต่จะไม่เพิ่มเร็ว”

ติดตามรายละเอียดการวิเคราะห์เชิงลึกเพิ่มเติมได้ใน SCB Outlook เรื่อง “ฐานะการคลังของไทยเป็นอย่างไร" สอบถามได้ที่ SCB EIC คุณพิณัฐฐา อรุณทัต โทร.0-2544-2953 อีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO