ด้านเงินฝากและเงินกู้ยืม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553 อยู่ที่ 43,468 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2552 เท่ากับ 3.40% และหลังจากมีการเพิ่มทุนโดยขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วน 1:1 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจาก 2,655 ล้านบาท เป็น 5,500 ล้านบาท ทำให้ธนาคารมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง อยู่ที่ 21.46%
สำหรับผลการดำเนินงาน 7 เดือน ณ สิ้นกรกฎาคม 2553 ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 56,715 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2552 เท่ากับ 14.21 % เงินให้สินเชื่อรวม 43,489 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2552 เท่ากับ 21.60% สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Gross NPL) อยู่ที่ 1.39% และสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิ (Net NPL) อยู่ที่ 0.92% หากรวมสินทรัพย์รอการขายและสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินทรัพย์รวม อยู่ที่ 1.06% และเงินสำรองหนี้สูญต่อสำรองพึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เท่ากับ 130.49%
ธนาคารมีกำไรสุทธิก่อนภาษี 7 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ 330 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.52 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 (กรกฎาคม 2552)
ธนาคาร คาดการณ์ว่าทิศทางเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553 อัตราการขยายตัว ของสินเชื่อประมาณ 25%-30% (สินเชื่อ ณ สิ้นปี 2553 จะอยู่ระหว่าง 45,000 — 46,000 ล้านบาท) กำไรสุทธิของ ปี 2553 คาดว่าจะดีขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% - 15%
“ส่วนครึ่งหลังของปี 2553 นี้ธนาคารยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ สู่การเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ และมีแผนที่จะปรับโครงสร้างการให้สินเชื่อ ที่เน้นธุรกิจสินเชื่อธุรกิจรายย่อย หรือ SMEs มากขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการขยายกิจการหรือการลงทุนใหม่ ทั้งนี้ธนาคารได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยได้แบ่งการดูแลตามประเภทของลูกค้า การบริการให้คำปรึกษาทางการเงิน โดยสัดส่วนสินเชื่อสำหรับ SMEs จะเพิ่มเป็น 40% ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการเคหะจะปรับเป็น 60%” นางศศิธร กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารได้ปรับกลยุทธ์สู่การรวมศูนย์การอนุมัติโดยสำนักงานใหญ่ (Loan Approval Centralization) รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือในการอนุมัติสินเชื่อ (Credit Scoring & Rating Model) เพื่อคัดกรอง และควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และเพื่อความรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ รวมถึงเน้นการปรับบทบาทของสาขาสู่การเป็น Relationship Manager (RM) เพื่อเป็นเครือข่ายในการรองรับการขยายสินเชื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้คาดว่าสินเชื่อในสิ้นปีนี้ จะเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ” นางศศิธร กล่าว
นางศศิธร กล่าวเสริมว่า แผนการขยายฐานเงินฝากของธนาคารนั้น จะเน้นกลยุทธ์การใช้สาขาในการบุกเบิกและสร้างฐานลูกค้าใหม่มากยิ่งขึ้น ซึ่งสาขาส่วนใหญ่เน้นทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งชุมชน ปัจจุบันธนาคาร มีสาขาทั้งสิ้น 26 สาขา แบ่งเป็น ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 20 สาขา และในภูมิภาคอีก 6 สาขา โดยภายในสิ้นปีนี้ จะมีสาขาใหม่เพิ่มขึ้นอีก 6 สาขา ได้แก่ สาขาบางรัก, สาขาคลองถม , สาขาคาฟูร์อ่อนนุช , สาขาสะพานควาย และอยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติมอีก 2 ทำเล คือ ประตูน้ำ , ศิริราช/พรานนก ธนาคารมีแผนจะขยายสาขาปีละ 10 กว่าสาขา จนกระทั่งครบ 60 สาขา ในปี 2555
นอกจากนี้ ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) มีแผนที่จะเปิดตัวบัตรเอทีเอ็ม LHB ATM ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ร่วมกับธนาคารกรุงไทย (ATM Co-Brand) ในเร็ว ๆ นี้ โดยลูกค้าที่เปิดบัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวัน สามารถขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็มที่อำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยบัตร ATM ดังกล่าวสามารถเบิก/ถอนเงินสดได้จากตู้เอทีเอ็มทั่วประเทศ โดยเบิกถอนเงินสดได้สูงสุดวันละไม่เกิน 150,000 บาท และสามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทั่วประเทศ รวมทั้งธนาคารเป็นตัวแทนรับชำระค่าบริการของเคาน์เตอร์เซอร์วิส ในการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ อาทิ ค่าสาธารณูปโภค ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าบริการโทรคมนาคมต่างๆ มากกว่า 500 บริการ ที่เคาน์เตอร์ของ LH Bank ทุกสาขาทั่วประเทศ และในโอกาสเดียวกัน ธนาคารได้จัดกิจกรรม LH Bank London Taxi ภายใต้แนวคิด “มั่นใจทุกถนนการเงินกับ LH Bank” เพื่อเป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินของธนาคาร สู่กลุ่มลูกค้าทั่วกรุงเทพฯ โดยกิจกรรมนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม ถึงวันที่ 2 กันยายน 2553 โดยจะมีการนำผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับสินเชื่อเอสเอ็มอี สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และผลิตภัณฑ์ด้านเงินฝาก ไปร่วมโรดโชว์ในครั้งนี้ด้วย นับเป็นหนึ่งในแผนการรุกตลาดลูกค้าที่ธนาคารมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คุณศจิกา เจนคิด (แหม่ม) โทรศัพท์. 02-359-0283 , 081-208-6306