กรีนพีซเปิดตัว “สมาร์ทพาวเวอร์”

จันทร์ ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๐๙:๐๑
เชิญชวนคนไทย และผู้วางแผนนโยบายร่วมถอดนิวเคลียร์ออกจากแผนพลังงานของประเทศ

ประชาชนกว่า 100 คนร่วม “ถอด” เสื้อ เพื่อแสดงข้อความ “ถอดปลั๊ก ถอดนิวเคลียร์” หน้าศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ ใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อเชิญชวนให้ชาวไทยร่วม “ออกไปจากอนาคตแห่งนิวเคลียร์” กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัวโครงการ “สมาร์ทพาวเวอร์” การริเริ่มเพื่อรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันประเทศไทยมุ่งสู่ระบบพลังงานที่สะอาดและ ปลอดภัยอย่างแท้จริง

“สมาร์ทพาวเวอร์” กล่าวถึงประสิทธิภาพทางพลังงานไฟฟ้า หรือแนวทางการใช้ไฟฟ้าอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การลดการสูญเสียพลังงานจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของผู้บริโภคและของประเทศ และตัดความต้องการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ นอกจากนี้ มาตรการประสิทธิภาพพลังงานยังเป็นทางออกที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

ในการแถลงข่าวโครงการ กรีนพีซได้เปิดตัว “คู่มือหัวใสใช้พลังงาน” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และแสดงให้เห็นว่า ด้วยการหัวใสใช้พลังงานนี้เอง จะทำให้เราหลีกเลี่ยงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ โดยมีรายละเอียดในแผนปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซที่ได้สรุปรวบยอดไว้ในคู่มือดังกล่าวด้วย กรีนพีซยังเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติดำเนินการนโยบายประสิทธิภาพด้านพลังงาน (smart power) อย่างจริงจังเป็นระบบซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียในระบบพลังงานของประเทศได้เป็นจำนวนมหาศาล

“ประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้าตามบ้านเรือนและที่ทำงานมีศักยภาพมหาศาล แต่ส่วนใหญ่ยังคงไม่ถูกนำมาใช้ (1) หัวใสใช้พลังงานหรือสมาร์ทพาวเวอร์สร้างศักยภาพในแง่ที่เป็นการลด ละ เลิกการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นลง นอกจากนี้ เราไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ให้มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการประสิทธิภาพด้านพลังงานไฟฟ้ามากกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สกปรกหรือแม้กระทั่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อันตราย” จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

การดำเนินงานประสิทธิภาพด้านพลังงานไฟฟ้า (smart power policy) มีต้นทุนต่ำกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ การสร้างประสิทธิภาพด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างเป็นระบบมีต้นทุนอยู่ที่ 0.5-1.5 บาทต่อหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ในขณะที่การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมีต้นทุน 5.82 บาทต่อหน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ส่วนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีต้นทุนที่สูงกว่านั้น (2)

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2553-2573 (หรือ PDP 2010 ) ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นแผนพีดีพีสีเขียว ยังคงบรรจุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินไว้ แต่แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่เป้าหมายที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ชุมชนท้องถิ่นตั้งแต่จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ในภาคกลาง จังหวัดขอนแก่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดตราดในภาคตะวันออก ไปจนถึงสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในภาคใต้ต่างบอกว่าไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คนไทยทุกคนสามารถร่วมเป็นพลังในการเคลื่อนไหวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้โดยการเข้าร่วมโครงการสมาร์ทพาวเวอร์กับกรีนพีซ

“กรีนพีซจะเดินหน้าโครงการสมาร์ทพาวเวอร์นี้โดยทำกิจกรรมสาธารณะอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมาร่วมกันถอดปลั๊ก ถอดนิวเคลียร์ และถอดถ่านหิน โดยเริ่มต้นง่าย ๆ ที่การประหยัดไฟฟ้า การเข้าร่วมโครงการสมาร์ทพาวเวอร์ก็เป็นหนทางหนึ่งในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวนี้ หากทุกคนร่วมมือกัน อนาคตพลังงานของเราก็จะมุ่งไปสู่ทิศทางที่ยั่งยืนและสะอาดอย่างแท้จริง” นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวสรุป

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (สำหรับโครงการสมาร์ทพาวเวอร์) โทร 086-982-8572

ธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ ประจำประเทศไทย (สำหรับนโยบายด้านพลังงาน) โทร 089-476-9977

วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร 089-487-0678

หมายเหตุ

(1) การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการด้านความต้องการใช้พลังงานหรือ DSM ที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาคือการศึกษาของธนาคารโลกที่ประมาณว่า ภายในปี พ.ศ. 2554 ศักยภาพของการจัดการด้านความต้องการใช้พลังงานที่เป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจและบรรลุผล อยู่ที่ 2,529 เมกะวัตต์ (11,468 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี) อีกการศึกษาหนึ่งของ ดร.ธีระ ฟอแรน จากหน่วยวิจัยสังคมและสังคมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอว่า ประสิทธิภาพด้านพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนมีศักยภาพที่จะประหยัดลงได้ถึงร้อยละ 29 ภายในปี พ.ศ. 2569

(2) ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน “ต้นทุนรวมทั้งระบบของการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ” 2550 โดยรวบรวมจากการศึกษาต่างๆ ได้แก่ การศึกษา Externality ตามแนวทาง ExternE ของสหภาพยุโรป โดยปรับ GDP ต่อหัวเป็นของประเทศไทย, ธนาคารโลก (2005), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ Cost of Liability Protection ใน Journal "Regulation" 2002-2003.

ดาวโหลดคู่มือหัวใสใช้พลังงาน ที่ http://www.greenpeace.or.th/smart-power-toolkit

ร่วมลงชื่อเรียกร้องคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ http://www.greenpeace.or.th/get-smart

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version