ฮิวเบิร์ต โยชิดะ นักคิดแห่งอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล (ดีเอสไอ)

อังคาร ๒๔ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๑๓
นายโยชิดะ เป็นรองประธานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ในการพัฒนาแนวทางการวิจัยของดีเอสไอ

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT) เปิดเผยว่า นายฮิวเบิร์ต โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล หรือ ดีเอสไอ (Data Storage Institute: DSI) องค์กรด้านการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อเสียงระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยดีเอสไอเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยของประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งของชุมชนโลกในด้านการสร้างฐานความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนบ่มเพาะความสามารถด้านการวิจัยสำหรับการวิจัยและพัฒนาระดับโลกในเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ นายโยชิดะจะเป็นหัวหน้าทีมในด้านการตรวจสอบและพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีของดีเอสไอ รวมถึงระบุกิจกรรมและโปรแกรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของดีเอสไอ

การได้รับตำแหน่งในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของนายโยชิดะในฐานะผู้นำทางความคิดของอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบเสมือนจริง ทั้งนี้ นายโยชิดะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงอุตสาหกรรม เนื่องจากเขาได้อุทิศตนเป็นเวลากว่า 35 ปี ในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ครอบคลุมทั้งในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2549 Byte and Switch ได้ยกย่องให้เขาเป็นหนึ่งใน “Storage Networking’s Heaviest Hitters” (ผู้มีบทบาทอย่างมากในด้านเครือข่ายระบบจัดเก็บข้อมูล) และล่าสุดบล็อกของเขาที่ ชื่อว่า “Hu’s Blog” ได้รับการจัดอันดับให้ติดอยู่ใน “10 อันดับสูงสุดที่มีอิทธิพล” ภายในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลจาก Network World นายโยชิดะ ยังได้เขียนรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล (Storage Area Network: SAN), Fibre Channel, SAN แบบหลายโปรโตคอล และเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง นอกจากนี้เขายังเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารในบริษัทด้านเทคโนโลยีอีกหลายแห่งอีกด้วย

ฮิวเบิร์ต โยชิดะ เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่น่ายกย่อง และด้วยองค์ความรู้ตลอด จนวิสัยทัศน์ของเขาจะนำมาซึ่งประโยชน์อันมีค่ายิ่งสำหรับสถาบันจัดเก็บข้อมูลของเรา” ดร.แพนเทลิส โซโพคลิส อเล็ก โซปูลอส กรรมการบริหารสถาบันจัดเก็บข้อมูล กล่าว และว่า “เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างมากสำหรับเราที่โยชิดะเข้า มาเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ องค์กรของเราจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากแนวทางของคณะกรรมการชุดนี้เกี่ยวกับการพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีของเรา รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับโปรแกรมด้าน การวิจัยในอนาคตด้วย”

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล และผมตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ร่วมงานกับทีมงานที่น่าเคารพยิ่งในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของสถาบัน แห่งนี้ในฐานะของศูนย์การวิจัยและพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูล” นายฮิวเบิร์ต โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บิรษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า “การทำงานขององค์กร อย่าง ดีเอสไอ คือการสนับสนุนให้เกิดการบ่มเพาะนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ขั้นสูง ดังนั้นผมจึงรู้สึกตื่นเต้น อย่างมากที่จะได้นำเสนอความรู้และมุมมองที่จะช่วยผลักดันการดำเนินงานเหล่านี้ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น”

ที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นายโยชิดะรับผิดชอบในด้านการกำหนดทิศทางเทคโนโลยีของบริษัท และเป็น ผู้นำองค์กรในด้านการช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับวงจรชีวิตของข้อมูลที่เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ ตลอดจนสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงด้านการดำเนินงานที่มีอยู่ โดยเขาถือเป็น ส่วนสำคัญในการผลักดันแนวทางการดำเนินงานของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ให้โดดเด่นในด้านระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงด้วยการใช้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ภายใน Hitachi Universal Storage Platform และขยายครอบคลุมไปถึงระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกันแบบเชื่อมต่อภายนอก นับตั้งแต่เข้าร่วมงานกับบริษัทในปี 2540 นายโยชิดะได้ทำงานในด้านการพัฒนามาตรฐานแบบเปิดสำหรับการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลและช่วยกำหนดกลยุทธ์ด้าน SAN, NAS (network attached storage) รวมถึงเทคโนโลยีข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย

ก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมงานกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นายโยชิดะ ใช้เวลา 25 ปีในฝ่ายระบบจัดเก็บข้อมูลของบริษัท ไอบีเอ็ม ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งด้านบริหารเกี่ยวกับการดูแลประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการจัดการผลิตภัณฑ์ เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอรเนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ ในสาขาคณิตศาสตร์

เกี่ยวกับสถาบันจัดเก็บข้อมูล (Data Storage Institute)

สถาบันจัดเก็บข้อมูลเป็นสมาชิกของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2535 ในฐานะของศูนย์เทคโนโลยีแม่เหล็กศาสตร์ (Magnetics Technology Centre: MTC) และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันจัดเก็บข้อมูล (Data Storage Institute: DSI) ในปี 2539 สำหรับวิสัยทัศน์ของสถาบันวิจัยแห่งนี้คือการเป็นส่วนสำคัญของชุมชนโลกในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม บ่มเพาะความสามารถด้านการวิจัยสำหรับการวิจัยและพัฒนาระดับโลกในเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ดีเอสไอยังเป็นสมาชิกของกลุ่มอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บสารสนเทศ (Information Storage Industry Consortium: INSIC) ที่ไม่แสวงหากำไร ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ www.dsi.a-star.edu.sg

แหล่งข้อมูลบนเว็บ- บล็อกของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์: http://blogs.hds.com/hu

- ติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้ที่ทวิตเตอร์: http://twitter.com/HDScorp

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้จัดเตรียมบริการ โซลูชั่น และเทคโนโลยีสารสนเทศระดับดีเยี่ยมที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่น่าสนใจแก่ลูกค้า อัตราผลต่อแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ที่โดดเด่น และแสดงให้เห็นผลกระทบที่ธุรกิจจะได้รับอย่างชัดเจน ด้วยมุมมองด้านไอทีเสมือนจริงแบบยั่งยืน อัตโนมัติ และพร้อมใช้สำหรับระบบคลาวด์ โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้นำเสนอโซลูชั่นที่สามารถปรับปรุงต้นทุนด้านไอทีและก่อให้ความคล่องตัวในระดับสูง และด้วยพนักงานกว่า 4,200 รายทั่วโลก ทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถดำเนินธุรกิจได้ในกว่า 100 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก ซึ่งรวมถึงองค์กรกว่า 70% ของทำเนียบฟอร์จูน 100 และกว่า 80% ของทำเนียบฟอร์จูนโกลบอล 100 ด้วย โดยบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่าข้อมูลจะเป็นตัวขับเคลื่อนโลกของเราและสารสนเทศคือกระแสใหม่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.hds.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT/ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลก ด้วยจำนวนพนักงานทั่วโลกประมาณ 360,000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2552 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553) บริษัทฯ มียอดขายรวม 8,968 พันล้านเยน (96.4 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ บริษัท ฮิตาชิ จะให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เน้นด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมมากกว่าที่เคย ซึ่งรวมถึงระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า สภาพแวดล้อม ระบบอุตสาหกรรมและการขนส่ง ระบบสังคมและเมือง รวมถึงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครอบคลุมในการสนับสนุนธุรกิจดังกล่าว สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.hitachi.com

2010 Hitachi เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด และ/หรือธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ ในสหรัฐและประเทศอื่นๆ Hitachi Data Systems เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและเครื่องหมายบริการของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด ในสหรัฐและประเทศอื่นๆ

สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียด กรุณาติดต่อ:

บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัด

ศรีสุพัฒ เสียงเย็น

โทร. 02 439 4600 ต่อ 8300

[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ