ก.ท่องเที่ยวสรุปการจัดทำ NI ท่องเที่ยวเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

ศุกร์ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๐๔
นางธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดทำรายงานรายได้ประชาชาติ (NI) ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในการจัดทำรายได้ประชาชาติ (NI-National Income) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2553

นางธนิฏฐา เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจัดทำรายได้ประชาชาติของไทย (National Income) ได้จัดทำโดยแบ่งภาคการผลิตเป็น 16 สาขา อาทิ เกษตรกรรม/ล่าสัตว์/และป่าไม้ ประมง เหมืองแร่ อุตสาหกรรม ก่อสร้าง ไฟฟ้า/ประปา/และโรงแยกก็าซ ขนส่ง/คมนาคม/ และคลังสินค้า โรงแรม/และภัตตาคาร ค้าส่งและค้าปลีก/และการซ่อมแซมรถยนต์/และของใช้ ตัวกลางทางการเงิน/และธุรกิจประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์/การให้เช่า/และบริการธุรกิจ บริการการศึกษา บริการสุขภาพ การบริหารราชการการและป้องกันประเทศ/และการประกันสังคมภาคบังคับ บริการชุมชน/สังคม/และส่วนบุคคล บริการคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งพบว่ายังไม่มีสาขาด้านการท่องเที่ยวโดยตรง

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสำนักงานบัญชีประชาชาติได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายได้ประชาชาติด้านการท่องเที่ยวพบว่า โดยภาพรวมรายได้จากสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวมีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product-GDP) แต่จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวน่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7-8 หรือมูลค่าประมาณ 633,550-724,057 ล้านบาท ในปี 2552 ดังนั้น สำนักเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงได้จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านรายได้การท่องเที่ยวซึ่งกระจายทั่วประเทศประกอบการร่างยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาการท่องเที่ยว

ซึ่งการคำนวณรายได้ประชาชาติสามารถดำเนินการได้ 3 แนวทาง คือ 1.ด้านการผลิต (Product Approach) คือมูลค่าที่แท้จริงของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่พลเมืองของประเทศผลิตขึ้นในระบบเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาหนึ่ง 2.ด้านรายได้ (Income Approach) คือ รายได้ทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับในรอบระยะเวลาหนึ่ง 3.ด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) คือรายจ่ายรวมที่หน่วยเศรษฐกิจใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคิดระยะเวลา 1 ปี ด้ทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับในรอบระยะเวลาหนึ่ง 3.ด้านรายจ่าย ้นในระบบเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาหนึ่ง 2.ด้านรายได้

โดยรายได้จากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ปี 2552 มีมูลค่า 715,985.18 ล้านบาท เปรียบเทียบกับ GDP ของประเทศไทยปี 2552 เท่ากับ 9,050,715 ล้านบาท เป็นสัดส่วนร้อยล่ะ 7.91 ของ GDP โดยกรุงเทพฯ มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด 331454.31 ล้านบาท ภาคใต้มีรายได้จากการท่องเที่ยว 182,209.71 ล้านบาท ภาคตะวันออกมีรายได้จากการท่องเที่ยว 72,788.13 ล้านบาท ภาคเหนือมีรายได้จากการท่องเที่ยว 58,837.41 ล้านบาท ภาคตะวันตกมีรายได้จากการท่องเที่ยว 28,297.34 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27,213.14 ล้านบาท และภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพฯ)มีรายได้จากการท่องเที่ยว 15,185.14 ล้านบาท

นอกจากนี้ จากการสำรวจรายได้จากการท่องเที่ยวต่อประชากร พบว่า ภาคใต้จะมีรายได้ จากการท่องเที่ยวต่อประชากรสูงสุดเท่ากับ 20,673.04 บาทต่อคน ภาคตะวันออก 15,969.63 บาทต่อคน ภาคตะวันตก 7,140.11 บาทต่อคน ภาคเหนือ 4,988.83 บาทต่อคน ภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพฯ) 2,021.34 บาทต่อคน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว ต่อประชากรน้อยสุด 1,265.97 บาทต่อคน ส่วนในกรุงเทพมหานครมีรายได้จากการท่องเที่ยวเท่ากับ 331,454.31 ล้านบาท และรายได้จากการท่องเที่ยวต่อประชากร 58,123.42 บาทต่อคน

จังหวัดที่มีรายได้รวมด้านการท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพฯ กระบี่ ชลบุรี และเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่มีรายได้รวมต่ำสุดด้านการท่องเที่ยว 5 อันดับได้แก่ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ ยโสธร อ่างทอง และพิจิตร

ทั้งนี้ จากการคำนวณรายรายได้มวลรวมจากการท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ส่งผลให้พบว่าในบางจังหวัดมีรายได้มวลรวมจากการท่องเที่ยวมากและบางจังหวัดมีรายได้มวลรวมจากการท่องเที่ยวน้อย เพื่อให้แต่ละพื้นที่มีมวลรวมจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ได้มอบหมายให้สำนักเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทำการศึกษาหาแนวทางและรูปแบบในการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆ ตามความเหมาะสม โดยอาศัยตัวเลขจากรายได้ประชาชาติรายจังหวัด/รายภาค ช่วยในการวางแผนพัฒนาการการท่องเที่ยวทั้งในระดับจังหวัด ภาค ของประเทศไทให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพิ่มขึ้นเชิงรุกต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ