โครงการศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ

จันทร์ ๐๖ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๖:๐๙
กทม. เพิ่มขีดความสามารถบำบัดน้ำเสียครอบคลุมแหล่งน้ำในเขตบางซื่อและใกล้เคียง ครอบคลุม 20 ตารางกิโลเมตร สามารถบำบัดน้ำเสียเฉลี่ย 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คาดว่าปลายปี 55 จะแล้วเสร็จ ซึ่งงานระบบบำบัดน้ำเสียคืบแล้วกว่า 59%

นายวสันต์ มีวงษ์ รองโฆษกของกรุงเพทมหานคร เปิดเผยว่า เพื่อแก้ไขปัญหาการปล่อยน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานลงสู่แหล่งน้ำในเขตบางซื่อและพื้นที่ใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร โดยการเก็บรวบรวมน้ำทิ้งจากระบบท่อระบายน้ำสาธารณะก่อนที่จะระบายลงสู่คลองเข้าสู่ระบบบำบัด ซึ่งมีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียเฉลี่ย 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคลองเปรมประชากร คลองบางเขนและคลองบางซื่อ ซึ่งเป็นการขยายการแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำของกรุงเทพมหานคร ด้วยการขยายโครงข่ายรวบรวมน้ำเสียและขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียในเขตกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมได้มากขึ้น โดยจะก่อสร้างอาคารศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบรวบรวมน้ำเสีย ระบบปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงคลอง ระยะเวลาดำเนินการ : 7 ปี (49—55) คาดว่าปลายปี 55 จะแล้วเสร็จ ในวงเงินงบประมาณ : 4,732,000,000 บาท

สำหรับความก้าวหน้าโครงการ ระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ขณะนี้ปรากฏว่า ผลงานที่ทำได้ 59.28% เร็วกว่าแผน 3.31% งานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่บางซื่อฝั่งเหนือและระบบปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงคลอง อยู่ระหว่างประมูลฯ ครั้งที่ 3 ขณะนี้การประมาณราคากลางแล้วเสร็จ TOR อยู่ระหว่างนำเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและสำนักการระบายน้ำและเตรียมเสนอรายงานขอดำเนินการประมูลฯ ส่วนงานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่บางซื่อฝั่งใต้ ผลงานที่ทำได้ 1.92%

สำหรับงานจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างศูนย์ฯ ผลงานที่ทำได้ 82.19% งานจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่บางซื่อฝั่งเหนือและระบบปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงคลอง ผู้ว่าฯกทม. พิจารณาอนุมัติเปลี่ยนกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 53 ส่วนด้านงานจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่บางซื่อฝั่งใต้ ขณะนี้ผลงานที่ทำได้ 4.06 % (ส.ค. 53)

สำหรับปัญหาอุปสรรคที่ประสบอยู่ ได้แก่ การประมูลฯ หาผู้รับจ้างงานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่บางซื่อฝั่งเหนือและระบบปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงคลองล่าช้ากว่าแผนงาน ทำให้การก่อสร้างบ่อสูบน้ำเสียเข้าระบบ ของงานก่อสร้างอาคารศูนย์ฯ และระบบบำบัดน้ำเสียล่าช้าออกไป อีกทั้งไม่สามารถนำน้ำเสียในพื้นที่เข้ามาสู่ระบบบำบัดได้ ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียดังกล่าว คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ เดือน มิ.ย. 54 แต่ในระหว่างนี้ไม่สามารถทดลองการเดินระบบได้ตามสัญญา เพราะยังไม่มีน้ำเสียเข้าระบบบำบัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ