วิธีสร้างเงินล้าน ตอนที่ 1: แก๊งค์อาชญากรรม นายหน้าค้าทราฟฟิกจอมปลอม และการขโมยคลิก

อังคาร ๐๗ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๖:๕๕
วิธีสร้างเงินล้าน ตอนที่ 1: แก๊งค์อาชญากรรม นายหน้าค้าทราฟฟิกจอมปลอม และการขโมยคลิก

ข้อมูลโดย เฟเก้ ฮักเกอบอร์ด (นักวิจัยด้านภัยคุกคามขั้นสูง) บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์

แก๊งค์อาชญากรไซเบอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจแค่การหารายได้ให้ได้เร็วที่สุดหรือเกษียณอายุงานก่อนกำหนด แต่พวกเขาก่ออาชญากรรมไซเบอร์ในรูปแบบของธุรกิจร่วมทุนที่จริงจังและให้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม และมีความสุขกับการขยายเครือข่ายอาชญากรรมของตนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พยายามซ่อนการดำเนินการที่เป็นอันตรายไว้ในส่วนต่างๆ ของโลก ในบทความนี้เราจะอธิบายถึงวิธีการที่เครือข่ายอาชญากรหาเงินจากเหยื่อเพียงไม่กี่ดอลลาร์ แต่จากจุดนี้เองที่ทำให้พวกเขาสามารถหาเงินเข้ากระเป๋าได้ปีละนับล้านดอลลาร์ การดำเนินการดังกล่าวเป็นรูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าจอมปลอม (หรือคนกลางในการหาคนเข้าเว็บ) และการลวงให้หลงเชื่อโดยใช้ชื่อแบรนด์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียง

เครือข่ายของอาชญากรไซเบอร์เหล่านี้ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 100 เครื่องที่โฮสต์อยู่ในศูนย์ข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก แก๊งค์อินเทอร์เน็ตบางแก๊งค์มีสินทรัพย์สภาพคล่องนับล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถลงทุนเพื่อก่ออาชญากรรมใหม่ๆ ได้อย่างมากมาย โดยที่สามารถได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาอย่างมหาศาล และนำมาซึ่งความเสียหายอย่างมากด้วยเช่นกัน

ได้แสดงให้เห็นถึงขนาดของบ็อตเน็ตหนึ่งตัวในระหว่างเดือนมีนาคม 2553 ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2553 จากภาพจะพบว่าจำนวนของบ็อตเน็ตผันผวนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งขณะนี้มีบ็อตกำลังทำงานอยู่ทั้งสิ้น 150,000 จุด แม้ว่านี่จะไม่ใช่บ็อตเน็ตที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่ แต่ก็สามารถทำเงินได้ปีละนับล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

โทรจัน Browser Hijacker หรือตัวปล้นบราวเซอร์จะยึดครองการทำงานของบราว์เซอร์และดำเนินการนำเหยื่อออกจากไซต์ที่พวกเขาต้องการเยี่ยมชมไปยังเว็บไซต์ลวงต่างๆ นอกจากจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือค้นหาก็มักจะถูกปล้นการทำงานจากมัลแวร์ประเภทนี้ด้วย นั่นคือการค้นหาโดยใช้เครื่องมือค้นหายอดนิยม อย่าง Google, Yahoo! หรือ Bing จะยังคงทำงานอย่างเป็นปกติ แต่เมื่อเหยื่อคลิกผลลัพธ์การค้นหาหรือลิงก์สนับสนุนที่ปรากฏ พวกเขาก็จะถูกนำไปยังไซต์อื่นแทนเพื่อให้วายร้ายสามารถทำเงินจากการคลิกในแต่ละครั้งของพวกเขาได้

ตัวปล้นบราวเซอร์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยม เนื่องจากการคลิกลิงก์ของผลลัพธ์จากการค้นหาที่ถูกดัดแปลงจนจับไม่ได้นั้น สามารถทำเงินและเป็นวิธีที่ง่ายในการหารายได้จากความสำเร็จของเครื่องมือค้นหาที่ดำเนินงานอย่างถูกต้อง ด้วยเครือข่ายบ็อต 150,000 จุด แก๊งค์วายร้ายจะสามารถทำเงินได้ปีละหลายล้านดอลลาร์จากการปล้นผลลัพธ์การค้นหาเพียงแค่อย่างเดียว โดยราคาต่อคลิกที่ขโมยมาได้นั้นจะขึ้นอยู่กับคำสำคัญที่ใช้เป็นหลัก เราพบว่ามูลค่าโดยเฉลี่ยต่อคลิกจะอยู่ที่ 0.01 - 0.02 ดอลลาร์ แต่ก็สามารถเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 2 ดอลลาร์ต่อคำหรือวลี อย่างเช่น “home-based business opportunities” หรือ “loans” ในตารางด้านล่างคือข้อมูลของบ็อตเน็ตที่สามารถปล้นคลิกได้มากกว่า 1 ล้านคลิกภายในเวลาหนึ่งวัน (20 กรกฎาคม 2553)

สำหรับคลิกที่ขโมยมาได้นั้น เหล่าร้ายจะทำการรวบรวมและนำไปส่งต่อให้กับนายหน้าค้าทราฟฟิก จากนั้นนายหน้ารายดังกล่าวก็จะนำทราฟฟิกนี้ไปขายต่อให้กับบริษัทที่ถูกต้องอย่าง Yahoo!, Google หรือ Ask.com ตัวอย่างเช่น เราพบว่าการคลิกผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาของ Yahoo! ถูกขายกลับไปยัง Yahoo! ผ่านนายหน้าค้าทราฟฟิกคนกลางรายหนึ่ง และอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือคลิกที่โดนขโมของ Google ถูกนำไปขายต่อให้กับ LookSmart

อย่างไรก็ตาม การขายทราฟฟิกที่ขโมยมาแก่บริษัทที่ถูกต้องอย่าง Google, Overture (Yahoo!) หรือ LookSmart ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีเครื่องมือขั้นสูงสำหรับตรวจจับการโกงอยู่ ดังนั้น นักปล้นทราฟฟิกส่วนใหญ่จึงต้องดำเนินการโดยใช้นายหน้า ซึ่งจะร่วมมือกับพวกเขาในการปรับข้อมูลสรุปของทราฟฟิกให้เหมาะสมและค้นหาผู้ซื้อที่เหมาะสมที่สุด นายหน้าค้าทราฟฟิกบางรายจึงไม่สามารถเชื่อถือได้และมีส่วนร่วมในแผนการหลอกลวงอีกด้วย ตัวอย่างเช่น นายหน้าค้าทราฟฟิกที่ชื่อว่า “บริษัท ออนวา จำกัด” (Onwa Ltd.) ในเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย เป็นบริษัทที่มีความรู้อย่างมากในการโกง ทราฟฟิกและนำไปจำหน่ายต่อ โดยสามารถเขียนและขายซอฟต์แวร์ส่วนหลังสำหรับอำพรางไม่ให้เครื่องมือค้นหาลวงตรวจพบว่าคลิกที่ได้มานั้นมาจากการโกงคลิก (บริษัท ออนวา จำกัด ยังมีธุรกิจในเครืออีกหลายแห่งในสหราชอาณาจักรและซีเชลส์)

นอกจากนี้ บริษัท ออนวา จำกัด ยังได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานของตนเองขึ้นมาสำหรับสนับสนุนเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อลวง Google โดยเฉพาะด้วย นายหน้ารายนี้น่าจะเริ่มธุรกิจตั้งแต่ปี 2548 หรืออาจเร็วกว่านั้นตั้งแต่ปี 2546 สำหรับชื่อของบริษัทอื่นๆ ที่กลุ่มบริษัทนี้ใช้งานอยู่ ได้แก่ “Uttersearch” “RBTechgroup” และ “Crossnets” และในรูปที่ 3 คือตัวอย่างหน้าเพจองค์กรของพวกเขา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถคลิกไปอ่านได้ที่: http://blog.trendmicro.com/making-a-million%e2%80%94criminal-gangs-the-rogue-traffic-broker-and-stolen-clicks/#ixzz0wDpsZMNb

และโปรดติดตามบทความจากเทรนด์ ไมโคร ตอนที่ 2 ที่ชื่อว่า “ขอบเขตของภัยคุกคาม”

สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

บุษกร สนธิกร โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8202 อีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION