ปภ. รายงานสถานการณ์อุทกภัย ๒๕ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ๖ จังหวัด

พฤหัส ๐๙ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๘:๒๓
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัย มีพื้นที่ประสบภัย ๒๕ จังหวัด รวม ๙๓ อำเภอ ๔๐๑ ตำบล ๒,๕๗๓ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๑๕๖,๘๔๗ ครัวเรือน ๕๔๘,๕๗๙ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๒๔๘,๓๓๗ ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๑๙ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน ๖ จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก สระบุรี นครนายก ลพบุรี และชัยภูมิ

นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของพายุมินดอนเล ทำให้หลายพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร มีพื้นที่ประสบภัย ๒๕ จังหวัด รวม ๙๓ อำเภอ ๔๐๑ ตำบล ๒,๕๗๓ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๑๕๖,๘๔๗ ครัวเรือน ๕๔๘,๕๗๙ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๒๔๘,๓๓๗ ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๑๙ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ๖ จังหวัด ดังนี้ สุโขทัย น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ ๘ อำเภอ ๗๑ ตำบล ๕๔๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๕,๔๑๕ ครัวเรือน ๙๕,๗๙๖ คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง กงไกรลาศ คีรีมาศ ทุ่งเสลี่ยม และบ้านด่านลานหอย พิษณุโลก น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นบริเวณริมฝั่งในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๒๗ ตำบล ๑๓๑ หมู่บ้าน ราษฏรเดือดร้อน ๒,๔๖๔ ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๓๙,๕๕๕ ไร่ ได้แก่ อำเภอบางระกำ และอำเภอเมืองพิษณุโลก สระบุรี น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใน ๕ อำเภอ ๑๖ ตำบล ๒๓ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๖,๘๙๗ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๕๘,๔๖๓ ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหมอ วิหารแดง หนองแค และแก่งคอย นครนายก น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใน ๒ อำเภอ ๘ ตำบล ราษฎรเดือดร้อน ๕๑ ครัวเรือน ๑๕๓ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๕๐ ไร่ ได้แก่ อำเภอปากพลี และบ้านนา ลพบุรี น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรและเขตเทศบาลเนื่องจากน้ำระบายน้ำไม่ทันในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกสำโรง ๑๓ ตำบล อำเภอเมืองลพบุรี ๕ ตำบล ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ ๒ อำเภอ ๖ ตำบล ๑๐๑ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอหนองบัวระเหว และภักดีชุมพล ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ลุ่มการเกษตรของจังหวัดสกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ระดับน้ำทรงตัวและเริ่มลดลงในบางพื้นที่แล้ว

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ๗ สกลนคร เขต ๙ พิษณุโลก เขต ๑๐ลำปาง และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งรถผลิตน้ำ ๒ คัน รถบรรทุกน้ำ ๕ คัน สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งเรือท้องแบน ๑๒ ลำ สำหรับใช้ในการอพยพราษฎร และขนย้ายทรัพย์สินสิ่งของออกจากพื้นที่ประสบภัย พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ ๓๗ นาย เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ