การสัมมนาครั้งนี้ร่วมกันจัดขึ้นโดยโครงการปฏิบัติการโลกเพื่อป้องกันการเกิดสงคราม (Global Action to Prevent War: GAPW), สมาคมพุทธศาสนา โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ เอสจีไอ (Soka Gakkai International : SGI) และกลุ่มเอ็นจีโอ เวิร์คกิ้ง กรุ๊ป เพื่อสตรี สันติภาพ และความมั่นคง (NGO Working Group on Women, Peace and Security: NGOWG) ซึ่งในการสัมมนาประกอบด้วยการประชุมผู้เชี่ยวชาญในช่วงเช้า การประชุมสาธารณะ และการเปิดตัวหนังสือ
ผู้ร่วมการสัมมนาได้ร่วมกันฉลองความสำเร็จของสตรีระดับรากหญ้าที่มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ในแอฟริกาไปจนถึงตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ร่วมงานต่างรับไม่ได้ที่มีประเทศสมาชิกเพียง 19 ประเทศที่ดำเนินแผนปฏิบัติการระดับชาติ (National Action Plans) ในการทำตามมติข้างต้น ทั้งที่มติดังกล่าวผ่านการอนุมัติมานานถึง 10 ปีแล้ว ทั้งหมดจึงเห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้และเปิดเผยความก้าวหน้าของการดำเนินงานให้มากขึ้น
ดร.โนลีน เฮย์เซอร์ (Dr.Noeleen Heyzer) เลขานุการผู้บริหารของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) และอดีตกรรมการบริหารของกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) กล่าวย้ำเตือนกับผู้ร่วมการสัมมนาว่า มติดังกล่าวเปิดโอกาสให้สามารถปกป้องคุ้มครองกลุ่มคนที่อ่อนแอที่สุด ถูกเพิกเฉยที่สุด รวมถึงผู้ที่มีส่วนในการสร้างสันติภาพมากที่สุด
คาโย มาเอตะ (Kayo Maeta) ประธานคณะกรรมาธิการสันติภาพสตรีของโซคา งักไก กล่าวถึงแรงบันดาลใจของเอสจีไอในการสนับสนุนการสัมมนาครั้งนี้ว่า “ในฐานะองค์กรประชาสังคม เราได้พยายามกระตุ้นให้ประชาชนในระดับชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของมติ UNSCR 1325 ด้วยการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักถึงศักยภาพอันเต็มเปี่ยมของสตรี”
ดร.จัสมิน เอ็น.กาลาซ (Dr.Jasmin N. Galace) รองกรรมการศูนย์เพื่อการศึกษาสันติภาพแห่งวิทยาลัยมีเรียม (Center for Peace Education at Miriam College) ในฟิลิปปินส์ ได้เปิดเผยความก้าวหน้าของการวิจัยและการดำเนินแผนปฏิบัติการระดับชาติ ซึ่งทำให้กลุ่มสตรีและหน่วยงานรัฐได้มาพบปะพูดคุยกัน ทั้งยังสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับสตรีด้วย
มิคิโกะ โอทานิ (Mikiko Otani) ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กล่าวเสริมว่า มติ UNSCR 1325 ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับประเทศที่มีส่วนในความขัดแย้งโดยตรงเท่านั้น แต่การสร้างศักยภาพให้กับสตรีมีความสำคัญสำหรับทุกประเทศ เนื่องจากสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุรุษและสตรีมีสิทธิในการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันเท่านั้น
แนวคิดดังกล่าวได้รับการตอบรับจาก ไดซาขุ อิเคดะ (Daisaku Ikeda) ประธานเอสจีไอ ซึ่งกล่าวว่า “สิ่งที่มติดังกล่าวต้องการจะสื่อคือ ทัศนคติและสิทธิของสตรี ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ต้องได้รับการเอาใจใส่และสะท้อนออกมาผ่านการมีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในสังคม”
ซาร่าห์ เทย์เลอร์ (Sarah Taylor) ผู้ประสานงานผู้บริหารของกลุ่มเอ็นจีโอ เวิร์คกิ้ง กรุ๊ป เน้นย้ำว่า ประสบการณ์พิเศษของสตรีต้องถูกนำมาใช้ในการอภิปรายเรื่องสันติภาพและความมั่นคงทุกครั้ง ขณะที่ผู้ร่วมการสัมมนาเห็นด้วยว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดควรเป็นการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ซึ่งสตรีและบุรุษได้รับการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและลงมือแก้ปัญหาการข่มเหงและแก้ไขข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้น
นอกจากนั้น คาวิธา สุธันธิราราช (Kavitha Suthanthiraraj) และ คริสติน่า อาโย (Cristina Ayo) ยังได้ร่วมกันเปิดตัวหนังสือ “Promoting Women's Participation in Conflict & Post-Conflict Societies: How women worldwide are making & building peace” ซึ่งทั้งคู่ได้ร่วมกันเขียนขึ้นเพื่อเน้นให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของสตรีในการเจรจาด้านสันติภาพ ด้านการเมือง และการปฏิรูปด้านความมั่นคง หนังสือเล่มนี้ผลิตโดย GAPW, NGOWG และสหพันธ์สตรีนานาชาติเพื่อสันติภาพและอิสรภาพ (Women's International League for Peace and Freedom) ซึ่งสามารถติดต่อขอรับได้ที่ [email protected]
โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นสมาคมพุทธศาสนาที่มีสมาชิกกว่า 12 ล้านคนทั่วโลก ทางสมาคมดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมสันติภาพ วัฒนธรรม การศึกษา และการสร้างศักยภาพ ผ่านแนวคิดเรื่องมนุษยธรรมตามหลักของพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
แหล่งข่าว: โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อ :
โจน แอนเดอร์สัน
สำนักงานข้อมูลสาธารณะ
โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล
โทรศัพท์: +81-3-5360-9475
โทรสาร: +81-3-5360-9885
อีเมล: janderson[at]sgi.gr.jp
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --