แต่อย่างไรก็ดี มั่นใจว่า รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินแผนสมานฉันท์เพื่อเร่งแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทางการเมือง เพื่อนำความสงบสุขคืนสู่สังคมไทยอีกครั้ง และสร้างให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยกลับมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่ารื่นรมย์สำหรับนักท่องเที่ยว และเป็นเวทีธุรกิจที่สงบและปลอดภัยสำหรับท่องเที่ยวไมซ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้แสดงสินค้า ผู้ชมงาน และนักแสดงจากต่างประเทศ จึงได้เปิดแคมเปญ VIV Asia “KAP” ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2554 (2011) ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ ไบเทค (BITEC) บางนา กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ การจัดโครงการ VIV Asia “Key Buyer Appreciation Program” หรือ KAP ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของถือเป็นความพยายามที่จะกระตุ้นการเดินทางมายังประเทศไทยของนักท่องเที่ยวไมซ์ และเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมงาน VIV Asia 2011 ซึ่งการจัดโครงการ VIV Asia “Key Buyer Appreciation Program-KAP” ไม่เพียงแต่ ส่งผลดีต่อธุรกิจไมซ์เท่านั้น แต่ยังจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่างาน VIV Asia 2011 เป็นงานแสดงเทคโนโลยีปศุสัตว์ระดับนานาชาติ จึงเป็นเหมือนการยิงปืนนัดเดียวให้นกสองตัว ทั้งทางด้านการท่องเที่ยวและด้านการเกษตร
นอกจากนี้ การมีเวทีแสดงเทคโนโลยีระดับภูมิภาคภายในประเทศ ยังจะมีนัยสำคัญและเอื้อประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะต่อเกษตรกรไทยที่จะมีโอกาสได้สัมผัสกับเทคโนโลยีระดับนานาชาติในเมืองไทย ตลอดจนสามารถเลือกสรรเทคโนโลยีที่จะนำมาปรับปรุงและพัฒนาการผลิตของตน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันให้แข็งแกร่ง พร้อมสำหรับการแข่งขันที่รวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์
นายชุมพล กล่าวในตอนท้ายว่า การที่จะทำให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวมานี้เป็นจริง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ตลอดจนความมุ่งมั่นทุ่มเท ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมกันสร้างให้ประเทศไทย เป็นเวทีธุรกิจที่มีเสถียรภาพในระยะยาว โดยหวังว่าการที่เรามาร่วมช่วยกันในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวไปด้วยกันอย่างเข้มแข็งของธุรกิจไมซ์ไทย