ก.ไอซีที จับมือ กสทฯ เพิ่มประสิทธิภาพโครงการศูนย์กลางความรู้แห่งชาติอย่างต่อเนื่อง

ศุกร์ ๑๗ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๔:๕๕
นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือให้บริการพื้นที่วางเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของโครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (TKC) ที่ศูนย์เครือข่ายกลางการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบครบวงจร (Internet Data Center : IDC) อาคาร กสท โทรคมนาคม บางรัก ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (TKC : Thailand Knowledge Center) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน ซึ่งมีการจัดแบ่งองค์ความรู้ออกเป็นกลุ่มๆ เน้นการจัดเก็บและเผยแพร่ในลักษณะสื่อดิจิตัลในรูปแบบต่างๆ และมีโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ประกอบด้วยด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับการจัดการความรู้ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ www.tkc.go.th

“ที่ผ่านมาโครงการ TKC ได้เช่าใช้บริการศูนย์เครือข่ายกลางการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบครบวงจร (IDC) ของบมจ. กสท โทรคมนาคม ในการวางระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายพร้อมระบบเครือข่ายความเร็วสูงมาตลอด แต่ในปีงบประมาณ 2553 นี้ กระทรวงฯ ได้ประสานความร่วมมือไปยัง บมจ.กสทฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนการใช้บริการศูนย์ IDC ดังกล่าวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงเป็นที่มาของการจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ในครั้งนี้” นายสือ กล่าว

สำหรับวัตถุประสงค์ของความร่วมมือในครั้งนี้ ก็เพื่อจัดหาพื้นที่วางเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของโครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ ซึ่งมีเว็บไซต์ www.tkc.go.th เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงองค์ความรู้ โดยความรู้นี้ได้มาจากการรวบรวมองค์ความรู้จากประชาชนและบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ แล้วจึงนำมาปรับเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ติดตัวให้สามารถสื่อสารถ่ายทอดเป็นความรู้ที่เปิดเผยได้ เพื่อเพิ่มทุนทางมนุษย์ให้กับประชาชนและสังคมไทย จนเกิดเป็นเว็บท่าศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (TKC) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของเครือข่ายสังคม หรือ Social Network ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์และสามารถให้บริการแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย ตลอดจนเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไทย ที่พยายามผลักดันให้ประเทศเข้าสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge Based Society)

ในส่วนของความร่วมมือนั้น ทาง บมจ.กสทฯ ได้ตกลงให้การสนับสนุนบริการวางพื้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของโครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ ณ ศูนย์เครือข่ายกลางการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบครบวงจร (IDC) อาคาร กสท โทรคมนาคม บางรัก คิดเป็นพื้นที่บริการ Sever Co-Location x 1 Full rack และ Extra IP x 12 IP พร้อมทั้งบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ขณะที่กระทรวงฯ จะสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ กสทฯ ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการ TKC เช่น กิจกรรมการประชุม/สัมมนา กิจกรรมเผยแพร่และแนะนำโครงการฯ รวมทั้งผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการฯ ด้วย

“กระทรวงฯ หวังว่าด้วยความมุ่งมั่นในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติอย่างต่อเนื่อง รวมกับศักยภาพของศูนย์ IDC ของ บมจ.กสทฯ ซึ่งเป็นศูนย์ IDC ชั้นนำของประเทศที่ให้บริการพื้นที่ฝากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายพร้อมระบบเครือข่ายความเร็วสูงแก่โครงการ TKC จะช่วยให้การเข้าถึงองค์ความรู้ผ่านทางเว็บไซต์ www.tkc.go.th ของโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์ความรู้สู่สังคมไทยต่อไป” นายสือ กล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 021416747 MICT

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ