ผลการทดสอบขั้นที่ 3 ระยะเวลา 24 สัปดาห์บ่งชี้ว่ายา Dapagliflozin ช่วยลดระดับ HbA1c เมื่อใช้ร่วมกับยา Glimepiride ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

จันทร์ ๒๐ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๗:๓๓
บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ (Bristol-Myers Squibb Company) (NYSE: BMY) (http://www.bms.com) และบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) (NYSE: AZN) (http://www.astrazeneca-us.com) ประกาศผลการศึกษาทางคลินิกขั้นที่ 3 แบบสุ่มและปิดสองทาง ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้ยา dapagliflozin ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบทางคลินิก ร่วมกับยา glimepiride (sulphonylurea) ช่วยลดระดับ glycosylated hemoglobin (HbA1c) ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการใช้ยา glimepiride เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นผลการศึกษายังบ่งชี้ว่าการใช้ยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride ยังช่วยลดน้ำหนักตัว ระดับความทนกลูโคส (OGTT) และระดับกลูโคสในพลาสมาหลังอดอาหาร (FPG) จากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 เมื่อเทียบกับการใช้ยาหลอกร่วมกับยา glimepiride โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride และมีระดับ HbA1c น้อยกว่า 7% มีจำนวนมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยา glimepiride เพียงอย่างเดียว ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้ได้รับการนำเสนอที่การประชุมประจำปีครั้งที่ 46 ของสมาคมศึกษาโรคเบาหวานแห่งยุโรป (European Association for the Study of Diabetes: EASD)

ความถี่ของการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามีระดับใกล้เคียงกันในกลุ่มผู้ป่วยทุกกลุ่ม แต่กลุ่มที่ใช้ยา dapagliflozin มีสัญญาณและอาการของการติดเชื้อในทางเดินอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ไม่พบการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มากกว่ากลุ่มอื่น

ยา dapagliflozin เป็นยาต้านตัวขนส่งโซเดียมและกลูโคส (SGLT2) ตัวแรกซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการทดลองขั้นที่ 3 ภายใต้การพัฒนาร่วมกันระหว่างบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และแอสตร้าเซนเนก้า ในฐานะยารับประทานวันละครั้งสำหรับรักษาผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งนี้ ยาต้าน SGLT2 ซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกลไกการทำงานของอินซูลิน จะช่วยขับกลูโคสและแคลอรีผ่านการปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

“ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีความสามารถในการควบคุมน้ำตาลลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นจึงอาจต้องอาศัยยารักษาเพิ่มเติม” ศจ.คริสตอฟ สโตรเจค (Krzysztof Strojek) จากแผนกโรคเบาหวานและโรคไต มหาวิทยาลัย Silesian Medical University ในเมืองซาบร์ซี ประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นผู้นำการทดสอบ กล่าว “การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการทดลองขั้นที่ 3 ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride ช่วยทำให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น โดยดูได้จากการวัดระดับ HbA1c, FPG และ PPG ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2”

เกี่ยวกับการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาขั้นที่ 3 แบบสุ่ม ปิดสองทาง มีกลุ่มเปรียบเทียบ มียาหลอกเป็นตัวควบคุม กินระยะเวลา 24 สัปดาห์ ในศูนย์ทดสอบหลายแห่งทั่วโลก เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา dapagliflozin (2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม หรือ 10 มิลลิกรัม/วัน) เมื่อเทียบกับยาหลอก เมื่อใช้ร่วมกับยา glimepiride (4 มิลลิกรัม/วัน) ในการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยดูจากการวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของ HbA1c จากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ และรวมถึงการขยายการทดสอบแบบปิดสองทางอีก 24 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมการทดสอบครั้งนี้ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (อายุ 18 ปีขึ้นไป) จำนวน 597 คน ซึ่งไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ (มีระดับ HbA1c 7.0% ขึ้นไป รวมถึงเท่ากับหรือต่ำว่า 10% ของมาตรฐาน baseline) ซึ่งได้รับยา glimepiride เพียงอย่างเดียวในปริมาณอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของปริมาณสูงสุดที่แนะนำ ผู้ป่วยแต่ละคนจะถูกสุ่มให้อยู่ใน 1 ใน 4 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่รับยา dapagliflozin 2.5 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride, กลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin 5 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride, กลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride

จุดประสงค์หลักพื้นฐานของการศึกษาครั้งนี้คือ การประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับ HbA1c จากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ ส่วนจุดประสงค์หลักขั้นที่สองคือการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐาน baseline ของน้ำหนักตัว, ผลการทดสอบความทนกลูโคส (OGTT), สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% และการลดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังอดอาหาร (FPG) ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ

ผลการศึกษา

ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride มีระดับ HbA1c ลดลง 0.58%, 0.63% และ 0.82% ในกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ซึ่งลดลงเพียง 0.13% (p-value ต่ำกว่า 0.0001 สำหรับทั้งสามกลุ่ม)

ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride มีน้ำหนักลดลงมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอกร่วมกับยา glimepiride โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม มีน้ำหลักลดลง 1.18 กิโลกรัม, 1.56 กิโลกรัม และ 2.26 กิโลกรัมตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride มีน้ำหนักลดลงแค่ 0.72 กิโลกรัมในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ (p-value น้อยกว่า 0.01 และน้อยกว่า 0.0001 ในกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ ส่วน p-value ของกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัมไม่มีความสำคัญทางสถิติ)

ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride มีระดับ OGTT ลดลงจากมาตรฐาน baseline โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมมี OGTT ลดลง 32.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ 34.9 มิลลิกรัม/เดซิลิตรตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ลดลงเพียง 6.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (p-value ต่ำกว่า 0.01 และต่ำกว่า 0.0001 สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ) ส่วนกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม มี OGTT ลดลง 37.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride และมีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% มีจำนวนมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมและมีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% มีจำนวน 30.3% และ 31.7% ของทั้งหมดตามลำดับ เมื่อเทียบกับ 13.0% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride (p-value ต่ำกว่า 0.01 และต่ำกว่า 0.0001 สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ) สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัมมีจำนวนผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% อยู่จำนวน 26.8%

ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride มีระดับ FPG ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมและมีระดับ FPG ลดลง 21.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ 28.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตรตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ที่ลดลงเพียง 2.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (p-value ต่ำกว่า 0.0001 สำหรับทั้งสองกลุ่ม) ส่วนกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัมมีระดับ FPG ลดลง 16.8 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

จำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์หลัง 24 สัปดาห์อยู่ที่ 51.9%, 48.3% และ 50.3% สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม ร่วมกับยา glimepiride ตามลำดับ เทียบกับ 47.3% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride โดยเปอร์เซ็นต์ของอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยในผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มประกอบด้วย อาการปวดหลัง (1.9%, 2.1%, 4.6% เทียบกับ 2.7%), การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (3.2%, 4.1%, 4.6% เทียบกับ 2.7%) และหลอดลมอักเสบ (1.3%, 2.1%, 3.3% เทียบกับ 0.7%) โดยผู้ป่วยส่วนมากมีอาการข้างเคียงในระดับอ่อนไปจนถึงปานกลาง สำหรับผู้ป่วยที่หยุดร่วมการทดสอบเพราะเกิดอาการข้างเคียงอยู่ที่ 3.2%, 3.4%, 2.6% สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม ร่วมกับยา glimepiride เทียบกับ 2.1% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride

ภาวะแทรกซ้อนที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ได้รับการวินิจฉัยจากผู้ป่วย 2 กลุ่มที่มีประวัติการรักษาด้วยตัวยาที่แตกต่างกัน โดยสัดส่วนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมอยู่ที่ 3.9%, 6.9% และ 5.3% เมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้ป่วย 6.2% ที่ใช้ยา glimepiride ร่วมกับยาหลอก และมีผู้ป่วยหนึ่งรายที่ขาดการรักษา เพราะมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับสัญญาณบ่งชี้ อาการ และรายงานอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride นั้นมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา glimepiride ร่วมกับยาหลอกที่อัตรา 3.9%, 6.2% และ 6.6% กับ 0.7% ตามลำดับ

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของผู้ป่วยที่ใช้ยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride อยู่ที่ระดับ 7.1%, 6.9% และ 6.0% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ 4.8% จากการใช้ยา glimepiride ร่วมกับยาหลอก

สัดส่วนของผู้ป่วยที่เกิดภาวะ hypoglycemic ในสัปดาห์ที่ 24 จากการรักษาด้วยยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride อยู่ที่ 7.1%, 6.9% และ 7.9% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้ป่วย 4.8% ที่รักษาด้วยยาหลอกร่วมกับยา glimepiride

อาการข้างเคียงของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับผลการวัดความดันโลหิต โดยค่าความเปลี่ยนแปลงของความดันตัวบน หรือความดันขณะหัวใจบีบตัวอยู่ที่ -4.7 mmHg, -4.0 mmHg และ -5.0 mmHg ส่วนค่าความเปลี่ยนแปลงของความดันตัวล่าง หรือความดันขณะหัวใจคลายตัวอยู่ที่ -1.1 mmHg, -1.7 mmHg และ -2.8 mmHg ในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ เมื่อเทียบกับค่าความเปลี่ยนแปลงของความดันตัวบนที่ -1.2 mmHg และความดันตัวล่างที่ -1.4 mmHg ของผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาหลอกร่วมกับยา glimepiride

เกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (diabetes mellitus) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของ beta cell ในตับอ่อน ซึ่งส่งผลกระทบให้การหลั่งอินซูลินในร่างกายปรับตัวลดลง จนทำให้ระดับกลูโคสในเลือดพุ่งสูง (hyperglycemia) ซึ่งภาวะ hyperglycemia จะสร้างความเสียหายต่อระบบออกฤทธิ์ต้านอินซูลินและส่งผลให้เกิดความผิดปกติใน beta cell มากยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลายรายมักมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคอ้วนและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ขณะที่เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษายังไม่มีวิธีควบคุมระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำได้ และมีผู้ป่วยไม่กี่รายที่ต้องควบคุมระดับกลูโคสจากหลายตัวแปร ในอดีต การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นมุ่งเน้นไปที่กลไกการผลิตสารอินซูลินเป็นหลัก แต่ปัจจุบัน แนวทางการรักษาได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีทางเลือกอื่นๆ ในการควบคุมระดับกลูโคสในร่างกาย

เกี่ยวกับตัวยับยั้ง SGLT2

ระบบ SGLT ในไตมีบทบาทสำคัญในการควบคุมสมดุลของระดับกลูโคสในร่างกาย ซึ่งโดยปกติไตจะทำหน้าที่กรองน้ำตาลกลูโคส 180 กรัมต่อวัน และกลูโคสทั้งหมดจะถูกดูดซึมกลับสู่ร่างกายอีกครั้ง กระบวนการดูดซึมกลูโคสกลับสู่ร่างกายเกิดขึ้นบริเวณท่อเล็กๆ ที่อยู่ติดกับไตผ่านระบบ SGLT โดยตัวยับยั้ง SGLT2 มีกลไกที่เป็นอิสระในการผลิตอินซูลินที่ช่วยให้ร่างกายขับกากของกลูโคสและพลังงานออกมาในรูปของปัสสาวะ ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของร่างกายที่ช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด

ความร่วมมือระหว่างบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และ แอสตร้าเซนเนก้า

บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และ แอสตร้าเซนเนก้า ได้ร่วมมือกันเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม 2550 เพื่อยกระดับความสามารถของบริษัทในการวิจัย พัฒนา และทำการตลาดยาใหม่ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความร่วมมือของบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และ แอสตร้าเซนเนก้านั้น อุทิศให้กับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกด้วยการช่วยปรับปรุงผลการรักษาผู้ป่วย และสร้างวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เกี่ยวกับ บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์

บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำของโลกที่มีภารกิจในการค้นคว้า พัฒนาและผลิตยาใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเอาชนะโรคร้ายได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.bms.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้บนทวิตเตอร์ที่ http://twitter.com/bmsnews

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วย “แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า” ตามที่มีการจำกัดความใน Private Securities Litigation Reform Act of 1995 ซึ่งรวมถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าตั้งอยู่บนการคาดการณ์ปัจจุบันและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง และความไม่แน่นอน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และอาจทำให้ผลลัพท์ที่แท้จริงแตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าไม่สามารถรับประกันผลลัพท์ได้ท่ามกลางความเสี่ยงต่างๆ ที่ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ยา dapagliflozin จะได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล หรือหากได้รับการอนุมัติแล้ว ยาดังกล่าวจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ควรมีการประเมินร่วมกับความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ระบุถึงข้อควรระวังในรายงานประจำปี Form 10-K ของบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ประจำปีที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2552 ในรายงานรายไตรมาส Form 10-Q และรายงานการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน Form 8-K ทั้งนี้ บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ ไม่มีหน้าที่ต้องอัพเดตข้อมูลในแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า แม้ว่าจะมีข้อมูลหรือเหตุการณ์ใหม่เกิดขึ้นหลังการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ก็ตาม

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในการพัฒนานวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ระดับโลกโดยมุ่งเน้นที่การค้นคว้า พัฒนา และจำหน่ายยาตามใบสั่งแพทย์ แอสตร้าเซนเนก้ามีรายได้ทั่วโลกที่ 3.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ.2552 ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้นำด้านเวชภัณฑ์โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบประสาท โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคติดเชื้อ โรคด้านเนื้องอกวิทยา และโรคติดต่อ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.astrazeneca.com

แหล่งข่าว: แอสตร้าเซนเนก้า และบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์

--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version