ก.เกษตรฯ ร่วมยินดี 24 โรงงานปลาป่นไทย ยกระดับคุณภาพได้มาตรฐาน HACCP

พุธ ๒๒ กันยายน ๒๐๑๐ ๐๘:๕๒
สืบเนื่องมาจากสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย เล็งเห็นถึงภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมปลาป่น หลังไทยได้จัดทำข้อตกลงทางการค้าเสรี หรือ FTA กับประเทศเปรู เพราะเปรูมีชื่อเสียงด้านการประมง และมีแหล่งประมงที่สำคัญ ผลกระทบจึงเกิดขึ้นโดยตรงกับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ รวมถึงโรงงานผลิตปลาป่น ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองผู้ผลิตปลาป่นไทยจึงได้จัดทำ “โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ HACCP โรงงานผลิตปลาป่นไทยเพื่อความปลอดภัยของอาหารสัตว์และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและส่งออก” ขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ภายใต้การสนับสนนุนจากกองทุน FTA กระทรวงพาณิชย์ และโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)

ล่าสุด ได้โรงงานผลิตปลาป่นที่สามารถผ่านการรับรอง HACCP จากกรมปศุสัตว์แล้วจำนวน 24 ราย โดยมีการจัดพิธีมอบใบรับรองขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ณ ห้องวิมานทิพย์ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมผลิตปลาป่นของไทยถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ ขณะเดียวกันยังเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้เข้าประเทศ โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาป่นไทยมีอัตราสูงขึ้น โดยในปี 2551 ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกปลาป่น 2.4 หมื่นตัน ปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 2.6 หมื่นตัน และเฉพาะช่วงครึ่งแรกของปี 2553 สามารถส่งออกสูงขึ้นถึง 8 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวมจาก 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 กว่าล้านบาท

“ เห็นได้ชัดว่าผลิตภัณฑ์ปลาป่นของไทยได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยผลักดันให้โรงงานผลิตปลาป่นของไทยสามารถผ่านการรับรองระบบคุณภาพ HACCP อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยที่สามารถผลักดันโครงการดังกล่าวขึ้น ถือเป็นการพัฒนาระบบการผลิตของประเทศและสร้างการยอมรับในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของสินค้าไทย ”

ดร.พงษ์ชัย จิตตะมัย ผู้จัดการเครือข่าย iTAP มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวถึงการสนับสนุนการจัดทำระบบคุณภาพว่า iTAP ในฐานะหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการสนับสนุนด้านพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้ว ยังสนับสนุนการยกระดับคุณภาพโดยใช้มาตรฐานต่างๆ ทั้ง GMP HACCP TFQS และISO เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีพื้นฐานที่มั่นคงในการจัดทำระบบคุณภาพที่จะไปแข่งขันได้ในตลาด

สำหรับการจัดทำระบบ HACCP ในโรงงานปลาป่นครั้งนี้ iTAP เครือข่าย มทส.ได้ให้การสนับสนุนทั้งสิ้น 5 รายได้รับการรับรองแล้ว 2 ราย คือ บจก. นิวัฒน์อุตสาหกรรม และบจก.สินอุดมอุตสาหกรรม ส่วนอีก 3 รายอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอาคาร และเตรียมขอการรับรองต่อไป ด้านผลการดำเนินงานของ iTAP เครืองข่าย มทส.ช่วง 1 ปีที่ผ่านมได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชนแล้วจำนวนทั้งสิ้น 50 โครงการโดยเป็นการจัดทำระบบคุณภาพถึง 10 โครงการ

ด้านนางสาวสมใจ เจริญวัฒนธาดา ที่ปรึกษาโครงการฯ จากบริษัท ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดทำระบบ HACCP ในโรงงานปลาป่นได้ดำเนินการจัดทำจนลุล่วงทั้งหมดจำนวน 24 ราย โดยมี 22 รายที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน FTA และอีก 2 ราย ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ iTAP ทั้งนี้จากการที่โรงงานผลิตปลาป่นไทยได้รับการรับรอง HACCP ในครั้งนี้ เป็นการยืนยันถึงคุณภาพและความปลอดภัยของปลาป่น และความปลอดภัยของอาหาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งออกได้อย่างยั่งยืน

ประชาสัมพันธ์ โครงการ iTAP

โทร. 02-270-1350-4 ต่อ 115,114

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ