“มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” เคราะห์กรรมผู้ประสบภัยใกล้หมดลง

พุธ ๒๒ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๑:๓๐
“ร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ” หัวเรื่องใหญ่เป็น 1 ใน 9 ประเด็นร่างมติข้อเสนอสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้หลังจากเปิดเวทีเสวนาแล้วเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลายคนสงสัยใคร่รู้ อยากทราบการทำงานของคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ที่มีการจัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 ปลายปีนี้

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการกำหนดประเด็นในปีนี้ว่า “เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยเกิดความเหลื่อมล้ำแทบทุกด้านและนับวันจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพคนไทย ภารกิจของสช.จึงผลักดันประเด็นให้เป็นนโยบายสาธารณะตามกระบวนการของการมีส่วนร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ”

หนึ่งในประเด็นหลักที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือ “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” เนื่องจากแร่ใยหินก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้องและภาวะเยื่อหุ้มปอดหนา

จากรายงานการเฝ้าระวังและค้นหาโรคปอดจากแร่ใยหินของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในปี 2551 พบว่าในกิจการประเภทเสี่ยงต่อการเกิดโรครวม 14 แห่งมีผู้ผิดปกติ โดยที่มีอาการเข้าได้กับโรคนี้จำนวน 79 ราย ผู้ผิดปกติจากการทำ High-Resolution CT scan จำนวน 20 ราย เพิ่งพบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากเหตุอาชีพเพียง 1 ราย แอสเบสโตสิส 3 ราย ผู้มีอาการเข้าได้กับโรคแอสเบสโตสิส 7 ราย โรคเยื่อหุ้มปอดหนา 37 ราย

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถิติอัตราการเกิดโรคจากสาเหตุรับและสัมผัสแร่ใยหินเข้าไปค่อนข้างน้อยไม่ใช่ผู้รับและสัมผัสแร่ใยหินมีจำนวนน้อย แต่เนื่องจากขาดระบบการบันทึกประวัติการทำงานและการเก็บประวัติการรับสัมผัสแร่ใยหินของผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ

อันตรายที่เกิดจากแร่ใยหิน คือการที่อนุภาคของแร่ใยหินสามารถฟุ้งกระจายสู่ปอด ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส หรือ แอสเบสโตซิส โรคมะเร็งปอด และ โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น ส่วนการวินิจฉัยตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสจากแร่ใยหินและการเกิดอันตรายจากแร่ใยหินมีความยากลำบาก เนื่องจากมีการพัฒนาการของโรคใช้เวลานาน และขึ้นกับปริมาณอนุภาคที่ได้รับของแต่ละคน

พญ.พงษ์ลดา สุพรรณชาติ กลุ่มงานรังสีวิทยา สถาบันโรคทรวงอก เปิดเผยว่าประวัติผู้เสียชีวิตเพียงรายเดียวนี้คือ เริ่มทำงานวิศวกรเครื่องกลที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (อู่มักกะสัน) ประมาณ 20 ปี จากนั้นลาออกและเข้าทำงานที่โรงงานกระเบื้องแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ปีพ.ศ.2504 เป็นวิศวกรควบคุมสายการผลิตกระเบื้อง ซึ่งมีแอสเบสตอส (แร่ใยหิน) เป็นส่วนผสม ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงเปลี่ยนกะทุก 1 สัปดาห์ ในที่ทำงานมีฝุ่นค่อนข้างมาก โดยมีอุปกรณ์ป้องกันเป็นหน้ากาก แต่ผู้ป่วยรายนี้ใช้เฉพาะในตอนที่รู้สึกว่ามีฝุ่นมากเท่านั้น ผู้ป่วยรายนี้ทำงานจนถึงปีพ.ศ. 2528 รวมทำงานในโรงงานกระเบื้อง 24 ปี หลังจากออกจากงาน ผู้ป่วยไม่ได้ทำงานที่อื่นนอกจากอยู่บ้านทำงานบ้านเล็กน้อย มีงานอดิเรกคือการปลูกต้นไม้

ผู้ป่วยรายนี้เคยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ทำ X-ray ปอดเมื่อ 9 สิงหาคม 2550 พบก้อนบริเวณปอดขวา (malignant nodules in Right lung) และมีน้ำในเยื่อหุ้มปอดข้างขวาอาจเกิดจากมะเร็งปอดหรือ metastasis จึงส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งและได้ CT chest เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 พบ extensive nodule deposit at right pleural surfaces, multiple pulmonary nodule at right lower lung with mediastinal lymph node enlargement

แพทย์วินิจฉัยแยกโรค Malignant mesothelioma หรือ metastasis ได้ทำ FNA ผล suspect malignancy, immunostains are being process. Tissue is very distorted by artifacts only suggestion (not be confirmed) is probably non small cell carcinoma of lung เบื้องต้นสงสัยว่าเป็น non small cell carcinoma of lung เพื่อยืนยันผลจึงส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

วันที่ 11 กันยายน 2550 ผู้ป่วยได้รับการตรวจ Ultra sound ช่องท้อง วันที่26 ตุลาคม 2550 ทำ bone scan และวันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 ทำ CT brain แต่ไม่พบ metastasis กระทั่งปลายเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้ป่วยได้ไปพบแพทย์ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกแผนกมะเร็งวิทยา (Medical Oncology Unit) แพทย์อ่าน CT แล้วเห็นว่าลักษณะของก้อนมะเร็ง กระจุกตัวตามแนวเยื่อหุ้มปอดมากกว่าในเนื้อปอด

จากประวัติและผล CT น่าจะเข้าได้กับ malignant mesothelioma มากกว่ามะเร็งเนื้อปอด จึงส่งผู้ป่วยไปรับการตัดส่งชิ้นเนื้อตรวจ (core needle biopsy) และย้อมผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาเพื่อประกอบการวินิจฉัยแยกระหว่าง NSCLC กับ malignant mesothelioma ซึ่งพยาธิแพทย์อ่านผลว่าเป็นมะเร็งปอดชนิด Non-small cell carcinoma

ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม 2550 ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการเหนื่อยมากขึ้นเดินไม่ได้มีอาการเหนื่อย ไอมีเสมหะสีขาว เจ็บหน้าอกข้างขวามาก นอนราบแล้วเหนื่อย ทานอาหารน้อย วันที่ 12 ธันวาคม 2550 ผลการวินิจฉัยโรค: มะเร็งเยื่อหุ้มปอดชนิด mesothelioma หลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ได้ให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแต่อาการของผู้ป่วยทรุดลงอย่างรวดเร็วจึงรักษาประคับประคอง กระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551

พญ.พงลดายังได้เปิดเผยผลการศึกษาในปี 2549 ของคนงานโรงงานผลิตกระเบื้องมุงหลังคาทั้งหมด 907 ราย มีผลภาพเอกซเรย์ปอด และ/หรือ ภาพเอกซเรย์ปอดซึ่งยืนยันด้วย High-Resolution CT Scan (HRCT) พบรอยโรคที่ปอดและ/หรือเยื่อหุ้มปอด ซึ่งอาจเกิดจากการสัมผัสสูดดม แอสเบสทอส 39 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.3 โดยพบความผิดปกติในเนื้อปอดอย่างเดียว 2 ราย พบความผิดปกติของเยื่อหุ้มปอดอย่างเดียว 32 ราย และ พบความผิดปกติทั้งในเนื้อปอดและเยื่อหุ้มปอด 5 ราย สำหรับรอยโรคในเนื้อปอดซึ่งพบในคนงาน 7 รายคิดเป็นร้อยละ 0.77 และพบรอยโรคที่เยื่อหุ้มปอดในคนงาน 37 รายคิดเป็นร้อยละ 4

“การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดเป็นวิธีที่มีประโยชน์มากในการค้นหาโรคแอสเบสโทซิส และหารอยโรคของเยื่อหุ้มปอดที่เกิดจากการสัมผัสสูดดมแอสเบสทอส ภาพเอกซเรย์ปอดมีความแม่นยำสูงในการวินิจฉัยกรณีสงสัยรอยโรคที่เยื่อหุ้มปอด แต่ยังคงมีความคลาดเคลื่อนสูงในกรณีสงสัยรอยโรคแอสเบสโทซิส ในระยะเริ่มแรก”พญ.พงษ์ลดากล่าว

ผลิตภัณฑ์ส่วนผสมแร่ใยหิน 3,000 รายการ

แร่แอสเบสทอสหรือแร่ใยหิน นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรกรถยนต์ ฉนวนไฟฟ้า เนื่องจากป้องกันการรั่วไหลได้ดี ด้วยคุณสมบัติการทนความร้อนได้สูง700-1,000 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทนแรงดึงสูงถึง 5,000 - 31,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ทนสารเคมีกรดด่างเชื้อจุลินทรีย์และแมลง ราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุชนิดอื่น แร่ชนิดนี้จึงถูกนำใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เสื้อกันไฟ ท่อกระเบื้อง ผนังซีเมนต์ ผ้าเบรก ฉนวนไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ที่มีใยหินเป็นส่วนประกอบอีกกว่า 3,000 รายการ

ประเทศไทยมีการอนุญาตให้ใช้แร่ใยหินเพียงชนิดเดียวคือไครโซไทล์ (Chrysotile) หรือ แอสเบสตอสสีขาว โดยที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมแบ่งสารแอสเบสทอสเป็น 2 กลุ่มของวัตถุคือ Chrysotile และ Amosite จัดเป็นวัตถุอันตรายประเภท 3 คือการผลิต การส่งออกและนำเข้าหรือ มีในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาตประกอบการ

แหล่งแร่ชนิดนี้ในประเทศไทย สำรวจพบในเขตจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ และนราธิวาส ประมาณการว่ามีปริมาณทั้งหมด 5,000 ตัน นอกนั้นเป็นการนำเข้าจาก รัสเซีย บราซิล แคนาดาและจีน โดยมูลค่าการนำเข้าเกือบ 2,000 ล้านบาทต่อปี

ขณะที่สหภาพยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เลิกและห้ามใช้แร่ใยหิน บางประเทศมีข้อจำกัดการใช้แล้วเช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา การออกกฎหมายการรื้อถอนอาคารเก่าที่มีการใช้วัสดุแร่ใยหินที่ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีเครือข่ายการรณรงค์ให้มีการยกเลิกแร่ใยหินได้ทั้งระดับประเทศและระดับสากลแล้ว

ดร.เพลินพิศ สุวรรณอำไพ ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานฯประเด็นดังกล่าวเปิดเผยว่า ร่างมติในประเด็นนี้ขอให้รับรองยุทธศาสตร์”มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน”ให้ทางสช.นำเสนอยุทธศาสตร์นี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายแก่ให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายปรับสถานะแร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 คือห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง

“เสนอให้ตั้งศูนย์กลางข้อมูลแร่ใยหินเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับศึกษาและพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน เพื่อให้มีการติดตามกลุ่มเสี่ยง การบันทึกรายงานและการไหลเวียนของข้อมูลอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและมีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบข้อมูลและอันตรายจากแร่ใยหิน”

นอกจากนี้ยังเสนอมีการทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับการพัฒนาทางวิชาการและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเลิกใช้แร่ใยหินและเตรียมรับมือแก้ไขปัญหาจากการบังคับกฎหมายใหม่ที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัย

นั่นหมายความว่าอีกไม่ใช้ไม่นานประเทศไทยจะห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองแร่ใยหินโดยให้มีการติดตามเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวกับแร่ใยหินอย่าต่อเนื่อง

นอกจากประเด็นดังกล่าวคจ.สช.เตรียมประเด็นนำไปสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ประกอบด้วย 1) ร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ 2.) การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก 3) ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ 4) การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม 5) มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน 6) มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ 7) นโยบายสนับสนุนพื้นที่จัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ 8) นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติและ 9) การแก้ไขปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม วิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ