กรมการแพทย์ จับมือ สวทช. ผลิตลูกตาเทียมช่วยผู้ป่วยสูญเสียดวงตา

พุธ ๒๒ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๗:๒๖
โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผลิตลูกตาเทียมโพลีเอธิลีนแบบมีรูพรุน ทดแทนลูกตาจริง ช่วยผู้ป่วยสูญเสียดวงตา วันนี้ (22 กันยายน 2553) ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์วิวัฒน์ วิริยกิจจา รองอธิบดีกรมการแพทย์ พร้อมด้วยรศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเป็นพยานในการลงนามบันทึกข้ อตกลงร่วมวิจัย โครงการผลิตลูกตาเทียมโพลีเอธิลีนแบบมีรูพรุนในประเทศไทย (ระยะที่ 2 ) : การศึกษาทางคลินิก ระหว่างโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหลังจากที่สวทช.ได้ดำเนินงานโครงการผลิต ลูกตาเทียมโพลีเอธิลีนแบบมีรูพรุนในประเทศไทย (ระยะที่ 1 ) : การพัฒนาวัสดุ และเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของผลงานวิจัยโครงการดังกล่าวให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงต่อไป จึงได้ประสานกับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) เพื่อให้การสนับสนุนโครงการทดสอบทางคลินิกระดับภาคสนาม ณ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) หรือสถานที่ปฏิบัติงานอื่นตามที่ตกลงกัน

ปัจจุบันผู้ป่วยที่สูญเสียดวงตามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากสถิติของโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดนำลูกตาออกมีจำนวนประมาณ 40 — 50 รายต่อปี ทั้งชนิดที่เก็บตาขาวไว้ และชนิดที่เอาออกทั้งลูกตา ทั้งนี้มีสาเหตุจากอุบัติเหตุต่อดวงตา โรคของตา เช่น ต้อหิน โรคของจอประสาทตา ภาวะเนื้องอกในลูกตา การติดเชื้อในลูกตา ผู้ป่วยจะได้รับผลกระทบทั้งทางกายและจิตใจจากการสูญเสียดวงตา จึงมีการพัฒนาลูกตาเทียมเพื่อใส่ทดแทนลูกตาจริงในเบ้าตา เพื่อหนุนเบ้าตาก่อนจะใส่ตาปลอมภายนอกอีกที ช่วยให้ผู้ป่วยไม่แตกต่างจากคนอื่น สามารถเข้าสังคมได้อย่างมั่นใจ และยังช่วยป้องกันการหดตัวของเนื้อเยื่อรอบเบ้าตา โดยลูกตาเทียมที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ชนิดผิวเรียบ เช่น ลูกแก้ว ซิลิโคน หรืออะคริลิก และชนิดมีรูพรุน ได้แก่ ลูกตาเทียมผลิตจากไฮดรอกซีแอปาไทต์จากปะการัง หรือผลิตจากกระดูกสัตว์ และลูกตาเทียมผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีเอธิลีน อย่างไรก็ตามลูกตาเทียมชนิด มีรูพรุนทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวมีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยลูกตาเทียมไฮดรอกซีแอปาไทต์มีราคาลูกละประมาณ 29,000 บาท และลูกตาเทียมโพลีเอธิลีนราคาลูกละประมาณ 22,000 บาท จึงทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถ &nbs p; รับบริการใส่ลูกตาเทียมชนิดมีรูพรุนได้ จักษุแพทย์จึงเลือกใช้ลูกแก้วพลาสติกที่ทำจากซิลิโคนหรืออะคริลิกแทน เนื่องจากมีราคาถูก แต่เนื่องจากพื้นผิวที่เรียบทำให้พบปัญหาหลังการผ่าตัดสูงกว่า เช่น การเคลื่อนหรือเลื่อนหลุดของลูกตาเทียม การกลอกตาที่ไม่สมจริง จากปัญหาดังกล่าวหลายประเทศได้มีความพยายามผลิต ลูกตาเทียมเพื่อใช้เอง เช่น อินเดีย บราซิล

นายแพทย์วิวัฒน์ วิริยกิจจา รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความสำคัญของปัญหา ที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)ในฐานะเป็นโรงพยาบาลที่มีพันธกิจหลักในด้านการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตลอดจนการเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านจักษุระดับชาติ จึงได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิท ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกันพัฒนาลูกตาเทียมที่ผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีเอธิลีน โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติในการขึ้นรูป ทั้งนี้ผ่านการทดสอบในเรื่องความปลอดภัย และทดลองโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมสร้างและตกแต่งเบ้าตาพบว่าอยู่ในเกณฑ์ เป็นที่น่าพอใจ และได้ทำการศึกษาผลการรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่ลูกตาเทียม เพื่อนำผลที่ได้ มาขยายผลต่อไปในอนาคต

สำหรับผลการทดสอบทางคลินิกของต้นแบบลูกตาเทียมโพลีเอธิลีนชนิดมีรูพรุน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 ถึงเมษายน 2553 จักษุแพทย์ได้ทำการผ่าตัดใส่ลูกตาเทียมในผู้ป่วยจำนวน 15 ราย เป็นชาย 9 ราย หญิง 6 ราย โดยนำลูกตาออกเหลือเพียงตาขาวจำนวน 8 ราย นำลูกตาออกทั้งหมด 5 ราย และใส่ลูกตาเทียมหลังการผ่าตัดครั้งก่อน 2 ราย พบว่าผู้ป่วยทุกรายมีสุขภาพดีหลังการผ่าตัด ไม่มีลูกตาเทียมเคลื่อนหลุด ไม่พบการติดเชื้อ จากการใส่ลูกตาเทียมที่พัฒนาขึ้น มีเพียงจำนวน 2 ราย พบว่ามีบางส่วนของลูกตาเทียมโผล่ แต่มีขนาดเล็กและ หายเองหลังให้การรักษา นอกจากนี้ได้ทำการตรวจสอบการงอกของหลอดเลือดเข้าไปยังลูกตาเทียมของผู้ป่วยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แม่เหล็ก ( Magnetic Resonance Imaging — MRI) หลังผ่าตัดเป็นเวลา 6 เดือน พบว่ามีหลอดเลือดและเนื้อเยื่องอกเข้าไปในลูกตาเทียมโดยรอบ การศึกษาที่ให้ผลเป็นที่น่าพอใจนี้สามารถนำไปขยายผลการศึกษาอื่น เช่น การผลิตลูกตาเทียม หรือเบ้าตาเทียมเฉพาะบุคคล

ทั้งนี้จากความร่วมมือดังกล่าว จะนำไปสู่การศึกษาในระยะที่ 3 เป็นการทดลองเปรียบเทียบระหว่าง การผ่าต ัดใส่ลูกตาเทียมที่ผลิตจากสารโพลีเอธิลีนซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศกับลูกตาเทียมจากสารโพลีเอธิลีน ที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทย ในผู้ป่วยจำนวน 120 ราย โดยได้รับความร่วมมือจากภาควิชาจักษุวิทยา คณแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการประมาณเดือนมกราคม 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ