KTB เชื่อมั่นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้วงเงินสนับสนุน“กันกุลพาวเวอร์เจน” 490.95 ลบ.

จันทร์ ๒๗ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๕:๐๖
ธนาคารกรุงไทย ร่วมลงนามบักทึกข้อตกลงกับ บจ.กันกุล พาวเวอร์เจน ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ GUNKUL วงเงิน 490.95 ล้านบาท ระยะเวลา 8 ปี เพื่อสนับสนุนโครงการพลังงานทดแทน "กัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์" เผยเงินก้อนนี้จะใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เฟสแรกขนาด 3 เมกกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าได้ในเดือน ธ.ค.นี้ จากที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ.รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ ขนาด 30.9 เมกกะวัตต์ ระบุในอนาคตเมื่อก่อสร้างและจำหน่ายไฟฟ้าได้ครบทั้ง 5 โครงการ ดันธุรกิจขยายตัวแบบก้าวกระโดด

นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) หรือ GUNKUL ประกอบธุรกิจผลิต จัดหา และจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้า ให้กับลูกค้าภาครัฐและเอกชน รวมถึงลูกค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าวันนี้ (27 กันยายน 2553) บริษัท กันกุลพาวเวอร์เจน จำกัด(GPG) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ GUNKUL ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับธนาคารกรุงไทย วงเงิน 490.95 ล้านบาท ในสัญญาเงินกู้ระยะเวล า 8 ปี โดยได้รับดอกเบี้ยอัตราพิเศษสำหรับโครงการเพื่อนำเงินไปลงทุนและดำเนินงานในโครงการเกี่ยวกับพลังงานทดแทนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

กันกุลพาวเวอร์เจน” มีวัตถุประสงค์จะนำเงินที่ได้รับจากธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้ ไปใช้ในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โครงการที่ 1 โดยเฟสแรกมีขนาด 3.0 เมกกะวัตต์ ที่ตั้งโครงการอยู่ที่ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ โดยได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าได้ในเดือนธันวาคม 2553

นายกัลกุล กล่าวว่าเหตุผลที่ธนาคารกรุงไทย ให้ความไว้วางใจให้วงเงินกู้กับบริษัทฯ เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นโครงการพัฒนาพลังงานใหม่ หรือพลังงานทดแทน เพื่อให้เกิดการประหยัด , ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ รวมถึงช่วยลดภาวะโลกร้อน เป็นโครงการที่น่าสนับสนุน อีกทั้งยังเป็นโครงการที่หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุน และประการสำคัญคือโครงการนี้มีแหล่งที่มาของรายได้แน่นอน เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการลงนามในสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. เรียบร้อยแล้ว และเหตุผลสุดท้ายคือศักยภาพของ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญ เป็นที่รู้จักในวงการธุรกิจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าเป็นอย่างดี

“การที่เราได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกรุงไทย สามารถบอกอะไรได้หลายอย่าง ทั้งความเชื่อมั่นที่มีต่อกันกุล กรุ๊ป หรือความเชื่อมั่นที่มีต่อความเป็นไปได้ของโครงการ และเมื่อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้ จะส่งผลดีทำให้บริษัทฯ มีรายได้ที่มั่นคง และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตเมื่อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทยอยสร้างเสร็จจนครบทั้ง 5 โครงการ จะทำให้บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตและผลประกอบการที่โดดเด่นอย่างมาก” นายกัลกุล กล่าวในที่สุด

อนึ่ง บริษัท กันกุลพาวเวอร์เจน จำกัด ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)รวมทั้งสิ้น 30.9 เมกกะวัตต์ รวมจำนวน 5 โครงการ ซึ่งโครงการทั้งหมดจะได้รับประโยชน์จากการจำหน่ายไฟฟ้า ด้วยการได้รับส่วนเพิ่มราคาในการรับซื้อไฟฟ้า(Adder)จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในราคา 8 บาทต่อหน่วยเป็นระยะเวลา 10 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ : IR network

คุณณัฐพงษ์ ใจแกล้ว (มิกซ์) 081-401-0226 e-mail : [email protected]

คุณรจนา ใจดี (โรส) 082-977-7533 e-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ