กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เรื่อง "ดนตรีเพื่อสุขภาพ" โดย อาจารย์เสาวณีย์ สังฆโสภณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐น. - ๑๒.๐๐น. ณ ห้องประชุมเบญจกูล ชั้นใต้ดิน สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๙๖๕ ๙๑๙๔, ๐ ๒๙๑๕ ๐๐๒๘, ๐ ๒๙๑๕ ๐๐๖๙ ต่อ ๑๑๗
เมื่อพูดถึงเรื่องดนตรี เรามักเกิดความรู้สึกที่ดี เพราะดนตรีต่อให้เกิดความสุข ความบันเทิงใจได้ง่าย สมัยก่อนเรารู้จักดนตรีในแง่สุนทรียศาสตร์และการศึกษา และ จะหาชมดนตรีได้ไม่ง่ายนัก แต่ในปัจจุบัน เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เราสามารถหาชมดนตรีได้ตลอดเวลา และที่สำคัญคือ วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ค้นพบว่า ดนตรีสามารถใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี และใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต ดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง เป็นความสุนทรีย์ที่ถ่ายทอดด้วยจิตใจและพลังความคิด ก่อให้เกิดความสุข ความซาบซึ้ง ความประทับใจได้ตามระดับการรับรู้ของแต่ละคน ดนตรีเป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส มีคนเคยกล่าวว่าดนตรีเป็นภาษาสากลเพราะสามารถเป็นสื่อความรู้สึกของชนทุกชาติได้ ดังนั้นคนที่โชคดีมีประสาทรับฟังเป็นปกติ ก็สามารถหาความสุขจากการรับฟังดนตรีได้
นักวิทยาศาสตร์พบว่าเสียงดนตรีจะกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในเรื่อง อัตราการหายใจ การเต้น ของหัวใจ ความดันโลหิต การตอบสนองทางม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ส่วนผล ทางจิตใจก็คือ ดนตรีสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สติ ความนึกคิด
องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ดนตรีเป็นที่ชื่นชอบ ก่อให้เกิดความสุขแก่ผู้สัมผัส ได้แก่ จังหวะ ทำนอง ความดัง และคุณภาพของเสียง (ความกังวาลและสีสัน) เราจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบที่สำคัญเหล่านี้เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์
(ที่มา : http://www.dtam.moph.go.th/alternative/news/newsdetail.php?newsid=147)--จบ--