ตำรวจบุกจตุจักร ปราบปรามการค้าสัตว์ป่าผิดกฎมายอย่างต่อเนื่อง ร้องปรับกฎหมาย-เพิ่มบทลงโทษ เอื้องานปราบอาชญากรปล้นทรัพยากรไทย

อังคาร ๒๘ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๑:๔๐
เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กันยายนผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) จับกุมผู้ลักลอบค้านกเถื่อนที่ตลาดนัดสวนจตุจักร พร้อมของกลางคือนกหลากหลายชนิดตามบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้กฎหมายไทยจำนวน 179 ตัว

จากการสืบสวนและเฝ้าติดตามกระบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่ (บก.ปทส.) พบว่ายังมีการลักลอบนำสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวนมากมาค้าอย่างผิดกฎหมายในบริเวณตลาดนัดจตุจักร จึงได้นำกำลังเจ้าหน้าที่จำนวน 30 นายเข้าตรวจสอบพื้นที่จนสามารถจับกุมผู้กระผิดข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ฐานค้าและมีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง ซึ่งผู้ค้าสัตว์ป่ารายนี้อาจต้องรับโทษจำคุกนานถึง 4 ปี หรือถูกปรับจำนวนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนกตามบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้กฎหมายไทยที่ยึดได้ครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ยังยึดเต่าดาวและงูไว้เพื่อตรวจสอบใบอนุญาตต่อไป แม้สัตว์ป่าเหล่านี้จะสามารถตีมูลค่าในตลาดมืดเป็นจำนวนเงินได้ แต่หากไม่สามารถตีเป็นมูลค่าความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยได้

“การปฏิบัติการนำกำลังเข้าจับกุมครั้งนี้เป็นการเผชิญหน้ากับผู้กระทำผิด เพื่อให้ผู้ค้าตระหนักถึงความเอาจริงเอาจังของผู้บังคับใช้กฎหมาย อย่างไรก็ตาม บทลงโทษของการกระทำผิดประเภทนี้ยังไม่รุนแรงเพียงพอ” พ.ต.อ. เกียรติพงศ์ ขาวสำอางค์ รองผบก.ปทส.ยังกล่าวพร้อมยังเสริมอีกว่า เนื่องจากยังมีความต้องการซื้อของตลาดอยู่จึงทำให้การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายไม่หมดไป ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะร่วมกันสร้างจิตสำนึกและหันมาใส่ใจกับปัญหาเรื่องนี้

“พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ของไทย ควรต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้มีบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดที่รุนแรงขึ้น เพื่อให้การทำงานของตำรวจไม่สูญเปล่า และเพื่อให้ผู้ค้าฯทั้งหลายไม่สามารถกลับมากระทำผิดได้อีก” นายสตีเว่น กาลสเตอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีแลนด์กล่าว

หนึ่งในจำนวนนกที่ถูกยึดได้คราวนี้คือ นกกรงหัวจุก (Pycnonotus Jocosus) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนหรือนกพิชหลิว มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเซียพบได้ในประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และประเทศไทย นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยเฉพาะการแข่งขันประชันเสียง ซึ่งนกแต่ละตัวจะมีความสามารถและเสียงร้องแตกต่างกันไป จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2519 จนทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย

สอบถามข้อมูลหรือต้องการรูปภาพเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ มุกด์ มูลนิธิฟรีแลนด์ โทร 02 204 2719 - 21 หรืออีเมล์ [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ