“ไดโด สิทธิผล” สร้างเกษตรกรน้อย...ตามรอยพ่อ หนุนเด็กไทยเข้าใจวิถีเกษตรอยู่อย่างพอเพียง

พฤหัส ๓๐ กันยายน ๒๐๑๐ ๑๓:๔๙
บริษัท ไดโดสิทธิผล จำกัด ผู้นำระบบขับเคลื่อนระดับโลก หนึ่งในกลุ่มสิทธิผล เปิดตัวโครงการ ไดโด สิทธิผล สร้างเกษตรกรน้อย...ตามรอยพ่อ จับมือโรงเรียนบ้านมาบเตย จังหวัดระยอง สู่โรงเรียนต้นแบบ หล่อหลอมเด็กไทยเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง

นายสุชาติ คชจันทร์ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิ ไดโดสิทธิผล เปิดเผยว่า ภายใต้ปณิธานของ คุณถาวร พิมพ์พระ ประธานมูลนิธิไดโดสิทธิผล ซึ่งน้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม จึงริเริ่มจัดทำโครงการ ไดโด สิทธิผล สร้างเกษตรกรน้อย...ตามรอยพ่อ ขึ้น โดยร่วมมือกับโรงเรียนบ้านมาบเตย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เป็นโรงเรียนต้นแบบปลูกฝังเยาวชนระดับประถมศึกษาเรียนรู้การปลูกพืชผักการเกษตร ทฤษฎีใหม่ การปลูกผักไร้ดิน หรือที่เรียกว่า ไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics) รวมถึงการสร้างแปลงเกษตรพอเพียงเพาะปลูกพืชสวนครัว โดยนำผลผลิตที่ได้เปลี่ยนเป็นอาหารกลางวัน พร้อมกับเพิ่มเงินออม เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนได้

ด้านนายสรณ์พัฒน์ ปถมอำพนธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านมาบเตย ตำบลมาบยางพร อำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มูลนิธิไดโดสิทธิผลเลือกโรงเรียนบ้านมาบเตย นำร่องโครงการดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่น่ายกย่องและเป็นแบบอย่างแก่สังคมในการสร้างรากฐานอุปนิสัยที่ดีแก่นักเรียนในทุกระดับชั้น และฝึกฝนเยาวชนรู้จักดูแลช่วยเหลือตนเองมากกว่าการรอคอย ความช่วยเหลือจากผู้อื่น

ทั้งนี้ โรงเรียนแต่งตั้งให้นายวุฒิพงษ์ ทิมจ้อย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เพื่อสอนแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 83 คน ยกตัวอย่างเช่นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 -6 ที่เรียนรู้การปลูก ผักไร้ดิน (ไฮโดรโพนิกส์) นับเป็นทฤษฎีเกษตรแนวใหม่สำหรับนักเรียน ซึ่งต้องให้ความใส่ใจรายละเอียด ตลอดกระบวนการผลิต โดยในอนาคตหากมีโรงเรียนในชุมชนแห่งอื่นๆ ให้ความสนใจเราพร้อมจะถ่ายทอดทักษะความรู้ให้อย่างเต็มที่

ส่วนนายวุฒิพงษ์ ทิมจ้อย อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการดำเนินงาน แบ่งนักเรียนรับผิดชอบแต่ละระดับชั้น แปลงละ 2 คน โดยระดับชั้น ป.1 — ป.4 ปลูกผักคะน้า ส่วนระดับชั้น ป.5-ป.6 ปลูกผักไร้ดิน หรือที่เรียกว่า ไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics) ประเภทผักตระกูลสลัด อาทิ ผักคะน้าเห็ดหอม และกรีนโอ๊ค เป็นต้น โดยล่าสุดอยู่ระหว่างขยายพื้นที่การปลูก เนื่องด้วยมูลนิธิไดโดสิทธิผล พร้อมลงทุนสนับสนุนแปลงผักไฮโดรโพนิกส์เพิ่มอีก 2 แปลง (ขนาดใหญ่) เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภคของนักเรียน

“โครงการเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2552 — ปัจจุบัน สามารถสร้างผลผลิตเพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารกลางวัน พร้อมกันนี้มูลนิธิไดโดสิทธิผลยังวางแผนสนับสนุนหากช่วงใดพืชผักสวนครัว ให้ผลผลิตงอกงามมาก จะอุดหนุนนำไปประกอบอาหารกลางวันให้แก่พนักงานในโรงงาน ช่วยให้นักเรียน มีรายได้เสริมเพื่อเป็นทุนการศึกษาและมีกำลังใจทำโครงการดีๆ ในระยะยาวอีกด้วย” นายวุฒิพงษ์ กล่าว

ซึ่งในอนาคตหากโรงเรียนใดสนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถแจ้งความจำนงได้ที่: มูลนิธิไดโดสิทธิผล โทร. 038-891206-10

รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ: บริษัท สิทธิผล 1919 จำกัด: ส่วนโฆษณาและประชาสัมพันธ์:

คุณสุญาณี คุณะวัฒนา โทร. 0-2639-1919 ต่อ 106,157 โทรสาร 0-2238-3617

อีเมล์: [email protected]

ทีมประชาสัมพันธ์กลุ่มสิทธิผล: บริษัท โปรเฟสชันแนล มีเดีย บิสซิเนส จำกัด

คุณพรรษชล พรหมภัทรพันธ์ (เพลย์) คุณทิพย์ชล เทพรังศิริกุล (ฝุ่น)

โทรศัพท์ 02-530-3218 ต่อ 13 หรือ 23 โทรสาร 02-530-4542-3

อีเมล์: [email protected], [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ