นางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง กล่าวต่อว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้ให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระ มาตรการ กลไกในการส่งเสริม คุ้มครอง และการพัฒนาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยมีการจัดตั้ง คณะกรรมการส่งเสริมความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศ คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การตรวจสอบการเลือกปฏิบัติ การสงเคราะห์ผู้เสียหาย จัดตั้งกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ เพื่อใช้จ่ายในการคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติ รวมทั้ง กำหนดบทลงโทษ แก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งโทษจำคุก โทษปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น
“ในระหว่างที่รอการเรียกประชุมเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มูลนิธิผู้หญิง และภาคีเครือข่ายด้านสตรี จะจัดเวทีเสวนาระดมความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้แทนภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และประชาชน พร้อมรวบรวมนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการกฤษฎีกา (คณะ ๙) เพื่อปรับปรุงกฎหมายให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยกำหนดจัดเวทีเสวนา ในวันอังคารที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ — ๑๒.๐๐ น. ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค ป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ” นางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง กล่าว