ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงการ “มิตรผลโมเดล” มีการดำเนินงานภายใต้องค์ประกอบหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ การปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงจะต้องมีมาตรฐานการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม (Condition) การดำเนินงานต้องเกิดจากการ “ร่วมคิด ร่วมทำ” ระหว่างชาวไร่ โรงงาน และหน่วยงานราชการอย่างสร้างสรรค์ (Co-creation) การจัดการต้องควบคุมให้เป็นไปตามแผน และมีต้นทุนต่ำ (Cost Efficiency) การจัดการต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
จากภาพซ้าย — บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว) ในกลุ่มมิตรผล โดยนายวิโรจน์ ภู่สว่าง
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตัวแทนรับรางวัล “นวัตกรรมแห่งชาติด้านสังคม” โครงการ
“มิตรผลโมเดล: Jigsaw ต่อยอดการพัฒนาที่ยั่งยืน” จากนายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี จากการประกวดนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2553 ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงพาวเวอร์ เมื่อไม่นานมานี้
จากภาพขวา - นายวิโรจน์ ภู่สว่าง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกลุ่มมิตรผล พร้อมด้วย
ตัวแทนจากบริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว) และชาวไร่อ้อย ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ในวาระ
ที่โครงการ “มิตรผลโมเดล: Jigsaw ต่อยอดการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งมีแนวคิดในการมุ่งพัฒนาระบบชลประทานและการ บริหารจัดการไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ได้รับรางวัล “นวัตกรรมแห่งชาติ
ด้านสังคม” จากการประกวดนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2553 ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงพาวเวอร์ เมื่อไม่นานมานี้
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ โทร. 0-2252-9871