กองทุน KTTN จ่ายเงินปันผลในอัตรา1.25 บาทต่อหน่วย เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี จำนวนไม่เกิน 30 หลักทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารหนี้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. กำหนด
ผลประกอบการของกองทุนซึ่งคำนวณตามมาตรฐาน AIMC สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 ย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 24.43 % เทียบกับ Benchmark คือ SET Index ซึ่งอยู่ที่ 22.32 % ย้อนหลัง 6 เดือน อยู่ที่ 28.46% เทียบกับ SET Index ซึ่งอยู่ที่ 23.64% ย้อนหลัง1 ปี อยู่ที่ 42.10 % เทียบกับ SET Index ซึ่งอยู่ที่ 36.01 % YTD อยู่ที่ 36.55 % เทียบกับ SET Index ซึ่งอยู่ที่ 32.78 %
นายสมชัย กล่าวต่อไปว่า กองทุน KTTN มีการบริหารกองทุนแบบ Active Management มีการปรับพอร์ตการลงทุนสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา มีการปรับน้ำหนักการลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรม มีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ลงทุน (Fundamental Analysis) และมีการกำหนดจังหวะในการลงทุน (Market Timing) ให้สอดคล้องกับแนวโน้มภาวะตลาดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี
นอกจากนี้ กองทุนเปิดไทยสร้างโอกาส (TOF ) จะจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.50 บาท ต่อหน่วย ซึ่งก่อนหน้านี้ ในปี 2553 กองทุน TOF ได้จ่ายเงินปันผลไปแล้ว 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน1.50 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นนักลงทุนสถาบัน มีนโยบายลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เน้นหลักทรัพย์ที่จะเข้าจดทะเบียนใหม่ (IPO) และที่มีแผนจะนำเข้าจดทะเบียน ( Pre-IPO) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต ที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ โดยสัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน ตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ
สำหรับแนวโน้มการลงทุนเดือน ตุลาคม 2553 — ธันวาคม 2554 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะมีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง เคลื่อนไหวประมาณ 940 — 1020 จุด (PE 12-13 เท่า) จากการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ ประกอบกับเม็ดเงินใหม่จากนักลงทุนในการซื้อกองทุน LTF และ RMF อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือ อัตราดอกเบี้ย ทิศทางค่าเงินบาท มาตรการต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเพื่อใช้ในการชะลอการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศทั้งการลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุน ส่วนปัจจัยต่างประเทศได้แก่ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐ และยุโรป การที่เฟดออกมาส่งสัญญาณเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจสหรัฐมีการชะลอตัวมากขึ้น การแก้ไขปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป
สำหรับในปี 2554 KTAM คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะแกว่งตัวผันผวนในกรอบ 1015 — 1200 จุด (เทียบเท่า PER ในปี 2554 ที่ระดับ 11 - 13 เท่า)