ทั้งนี้ในภาพรวมสินค้าทั้ง 15 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทกว่า 11% มีตัวเลขการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรก(มกราคม-สิงหาคม2553) มีตัวเลขการส่งออกที่น่าพอใจ โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้รับผลกระทบเพราะโค้ดต้นทุนไว้ที่อัตรา 32 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่จะไม่กระทบเชิงปริมาณการส่งออกทั้งปี 890,000 คันนั้น มีการส่งออกช่วง 8 เดือนแรก 11,687 ขยายตัว 80.8% , อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ได้รับผลกระทบ เพราะมีการต่อรองราคาสูงมาก โดยส่งออก 8 เดือนคิดเป็นมูลค่า 6,848 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.99%
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า ส่งออกมูลค่า 5,222 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 34.55% อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะ SMEs อาจจะมีการทยอยปิดโรงงานในเร็วๆ นี้ ส่งออก 2,556 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.3% อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 1,820 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.7% อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์และเฟอร์นิเจอร์ ตามที่ 7 สมาคมที่เกี่ยวข้องรวมตัวกัน ประเมินไว้ว่าส่งออก 8 เดือนตั้งเป้า12-15% มูลค่าประมาณ 88,000 ล้านบาท (2,750 ล้านเหรียญสหรัฐ)
อุตสาหกรรมไก่สดแช่แข็ง ไก่แปรรูป มี 8 เดือนแรกส่งออกรวมประมาณ 2,070 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12 % อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 2,707 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 634.6 % อุตสาหกรรมน้ำตาล 1,933.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 66.25 อุตสาหกรรมเซรามิก 507 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.5% อุตสาหกรรมยางส่งออก 8,946 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 77%
นายฉัตรชัย ชูแก้ว ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ผู้ส่งออกได้เสนอ 3 แนวทาง ได้แก่ 1.ขอให้ปล่อยสินเชื่อส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และยกเว้นเก็บดอกเบี้ย 6 เดือน หรือคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ เช่น ให้ธนาคารรับประกันอัตราแลกเปลี่ยนที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 2.ขอให้รัฐบาลออกมาตรการภาษีเพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบ การผลิตและแรงงาน 3.ทางสมาคมผู้เลี้ยงและส่งออกไก่ ขอให้อุดหนุน เพิ่มกระดานซื้อขายสำหรับผู้ส่งออกโดยเฉพาะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
สำนักประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการส่งออก โทร.02-507-7932 — 4