ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ความสำคัญในนโยบายการสร้างความรู้ ความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องวางรากฐานตั้งแต่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงได้จัดกิจกรรม เสวนา คุยกัน..ฉันท์วิทย์ สัญจร ให้เป็นเวทีที่สร้างโอกาสในการสื่อสารเรื่องราวข้อมูล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยมีรูปแบบให้เยาวชนและประชาชนที่สนใจ มีโอกาสพบปะและพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวเข้าถึงกลุ่มเยาวชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนสถานที่ในการจัดกิจกรรม ณ True Digitalpark สยามสแควร์ ซอย 4 ซึ่งเป็นศูนย์รวมของกลุ่มเยาวชนไทยรุ่นใหม่ ที่ใฝ่หาความรู้ ความก้าวหน้าของวิทยาการต่างๆ และถือเป็นถิ่นความรู้ของเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างปัญญาในสังคม สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ ดังนั้น ภารกิจสำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์ คือ การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างคนดีและเก่งในทุกระดับ รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับ โดยต้องสร้างและบ่มเพาะตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นการวางรากฐานให้เด็กและเยาวชนมีกระบวนการคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการสร้างปัญญาบนรากฐานของหลักเหตุผล และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้นอกจากนี้ วิทยาศาสตร์
ยังเป็นเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์ เพราะเป็นความจริงของธรรมชาติ ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีคุณประโยชน์มากมาย และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ของพวกเราทุกคน ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงจัดกิจกรรมเสวนา คุยกัน..ฉันท์วิทย์ โดยบุกมาถึงถิ่นความรู้ของเด็กและเยาวชน ที่สยามสแควร์นี้ เพราะเด็กและเยาวชนเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะพัฒนาประเทศต่อไป
สำหรับการเสวนา ในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี 3 G ซึ่งได้รับการกล่าวถึงจากผู้คนในสังคมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่สามารถช่วยให้การรับส่งข้อมูล ข่าวสาร เป็นไปด้วยความรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้บุคลากรแวดวงในทุกสาขาอาชีพสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว สามารถอำนวยความสะดวกและนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา เกษตรกรรม รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในสังคม เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก
นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ คอนเวอร์เจนซ์ และกรรมการผู้จัดการกลุ่ม ลูกค้าธุรกิจบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางบริษัท ทรูฯ มีความยินดีเป็นอย่างมากที่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องเทคโนโลยี 3 G โดยเฉพาะกับเด็กและ เยาวชน
ทั้งนี้ ประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G เป็นเสมือนบรอดแบนด์ไร้สาย และเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ทำให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอการวางสายเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง และเวลานาน และประโยชน์ของ 3G ไม่ใช่เพียงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่จะต้องมีการรวบรวมข้อมูล สาระ และคอนเทนท์ดีๆ เพื่อให้มีการใช้งานมากขึ้น และใช้ประโยชน์จาก 3G ได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ จะเห็นว่าการนำเทคโนโลยี 3G เพื่อมาใช้สร้างองค์ความรู้ในการติดต่อสื่อสารระหวางภาครัฐและเอกชน ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงได้ เช่น ข้อมูลด้านเกษตรกรรม การส่งออก-นำเข้า รวมทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าสร้างได้ให้เพิ่มขึ้น เช่น เรื่องของ E-commerce ที่มีความจำเป็นต้องมีการเตรียม infrastructure ให้พร้อม ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ลดปัญหาพ่อค้าคนกลาง สร้างธุรกรรมระดับภูมิภาค ทำให้ประชาชนสามารถนำเสนอสินค้าสู่สากลได้ ทำให้มูลค่าสินค้าของไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก
ด้าน ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ นักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความมั่นคง (เนคเทค) กล่าวว่า เทคโนโลยี 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี 2G ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล ประโยชน์ที่เราจะได้จาก 3G ก็คือ คลื่นความถี่ที่สนับสนุนให้การรับส่งข้อมูลทั้งข้อมูลภาพและเสียงรวมถึงไฟล์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น เรียกว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้ทุกที่บนโลก เพียงแค่มีเครื่องรับสัญญาณซึ่งก็คือโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่รองรับการใช้งาน 3G
“ความต้องการใช้เทคโนโลยีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการนั้นๆ ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาความต้องการใช้งานก็จะเกิดขึ้นตามมา เช่น เดิมเราใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อโทรเข้าโทรออกเท่านั้น แต่เมื่อสามารถถ่ายรูปและชมโทรทัศน์ได้ เราก็ต้องการใช้โทรศัพท์มือถือที่สามารถถ่ายรูปหรือชมโทรทัศน์ได้ หรือคนเป็นจำนวนมากที่ใช้โทรศัพท์มือถือเล่นอินเตอร์เน็ต เสมือนว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ดังนั้น หากประเทศไทยนำเทคโนโลยี 3G เข้ามาใช้ ก็เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับจากผู้ใช้งานในวงกว้างแน่นอน"
ทั้งนี้หากมีเทคโนโลยี 3G จริง บรรดาผู้ให้บริการก็จะพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่างๆออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการและไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งทำให้เราได้รับประโยชน์จาก 3G ไปพร้อมกัน และทำให้ 3G สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานในวงกว้างมากขึ้น เช่น ไลฟ์สไตล์ด้านบันเทิงการดูหนัง ฟังเฟลง ไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพ กลเม็ดเคล็ดลับการดูแลรักษาสุขภาพ รู้เท่าทันอาการของโรคและรู้จักโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไลฟ์สไตล์ด้านการเกษตร การบำรุงรักษาต้นไม้ อัพเดตพันธุ์ไม้ใหม่ๆ ไลฟ์สไตล์ด้านศิลปะ และไลฟ์สไตล์ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือเราไม่ได้ใช้ 3G ตามคนอี่น ใช้เพราะเห็นว่าประเทศอื่นเขาใช้กัน หรือใช้เพราะเพื่อไม่ให้ตกเทรนด์เท่านั้น แต่สิ่งที่ทำให้เราจำเป็นต้องใช้ 3G เพราะเราต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ทั้งเพื่อหาข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และใช้ 3G เพื่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลรอบข้าง สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต
“เรายังต้องใช้เทคโนโลยี 3G อย่างระมัดระวังและใช้อย่างรู้เท่าทัน โดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป เช่น วัน เดือน ปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน และเลขที่บัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น เพราะอาจมีผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในทางที่ไม่ดี และส่งผลให้เจ้าของข้อมูลได้รับความเดือดร้อนได้ในภายหลัง” ดร.กิตติ กล่าวในที่สุด
ในส่วนของคุณพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการสายงานบริการมัลติมีเดียและการตลาด บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทรนด์ของคนรุ่นใหม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเห็นได้จากรูปแบบการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมฟังก์ชั่นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารด้านเสียงอย่างเดียว ได้พัฒนาให้สามารถส่งข้อความสั้น(SMS) ส่งภาพ (MMS) ถ่ายภาพ ฟังเพลง จนถึงยุคปัจจุบันที่อุปกรณ์สื่อสารเพียงชิ้นเดียว สามารถเป็นได้ทั้งโทรศัพท์-มือถือ-กล้องถ่ายรูป-วิทยุ-ทีวี และคอมพิวเตอรพกพา ซึ่งทำให้ตอบสนองวิถีชีวิตการใช้งานของคนรุ่นใหม่ได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การใช้งานอุปกรณ์สื่อสารทันสมัยให้ได้ประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อได้สะดวก ซึ่งเทคโนโลยี 3G เปรียบเสมือนบรอดแบนด์ไร้สาย ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ สาระ บันเทิง ที่ต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาคอนเทนต์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มทรูที่มุ่งมั่นสรรหาและพัฒนาคอนเทนต์ รวมถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆ อาทิ ทรูปลูกปัญญาดอทคอม, ทรูมิวสิค, ทรูสปอร์ต ฯลฯ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่
“เทคโนโลยีสุญญากาศ” เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีในห้องปฏิบัติการแสงสยาม ซึ่งเป็นที่ตั้งเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของไทย ดังนั้น การนำเสนอความก้าวหน้าและพัฒนาเทคโนโลยีสุญญากาศ ของสถาบันแสงซินโครตรอน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสุญญากาศให้เป็นที่รับทราบแก่บุคคลภายนอก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสุญญากาศในขบวนการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีสุญญากาศต่อผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายมิติต่อไป
ด้าน ดร. ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล หัวหน้าฝ่ายระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เพื่อตอกย้ำภารกิจหลักในการติดตั้งและพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงสยาม และการให้บริการแสงซินโครตรอนแก่ประชาคมวิจัยไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสุญญากาศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิตแสงซินโครตรอนจากประเทศญี่ปุ่น ล่าสุดสถาบันได้พัฒนา ขีดความสามารถ “เทคโนโลยีสุญญากาศระดับสูง” รวมทั้งการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศความดันต่ำระดับ1x10-10 (ทอร์) Torr (Ultra High Vacuum Components) และชิ้นส่วนเชิงกลความแม่นยำสูง (high precision mechanical components) ในระดับต่ำกว่าไมโครเมตร และการจัดสร้างปั๊มสุญญากาศแบบสปัตเตอร์ไอออน นับว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ที่ทีมนักวิจัยและวิศวกรสามารถพัฒนาขีดความสามารถเทคโนโลยีสุญญากาศได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นค่าความดันอากาศที่ต่ำที่สุดที่สามารถทำได้ในประเทศไทยขณะนี้
สำหรับความสำเร็จที่ได้รับจากการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีสุญญากาศ ในประเทศและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมนั้น ทำให้ลดการพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศของภาครัฐและเอกชนไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีสุญญากาศนี้ เช่น ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ผู้ผลิตผงแม่เหล็ก และผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมถึงห้องปฏิบัติการวิจัยต่างๆ ของหน่วยงานวิจัยและสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งสถาบันได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชิ้ส่วนสุญญากาศระดับสูง การให้คำปรึกษาการออกแบบ และผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สุญญากาศตามรูปแบบงานวิจัยที่ต้องการในราคาที่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซนต์ แต่คุณภาพเทียบเท่าสั่งซื้อจากต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการตรวจสอบชิ้นส่วนสุญญากาศอีกด้วย เช่น งานแก้ไขปัญหาระบบสุญญากาศของเครื่อง Freeze Dryer (เครื่องทำวัคซีนเหลวให้เป็นผง) ณ บริษัท องค์การเภสัชกรรม- เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด เขตอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันได้มีความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสุญญากาศในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศ การขึ้นรูปชิ้นงาน การประกอบชิ้นงานที่ไม่ต้องการความซับซ้อนมากนัก สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการพัฒนากำลังคนทางวิศวกรรมระดับคุณภาพและเพิ่มทักษะงานช่างฝีมือออกสู่ตลาด ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตระหว่างสองสถาบันอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานบางส่วนนี้ถือเป็นการสนองนโยบายการสร้างงาน สร้างเงิน และสร้างคุณภาพชีวิต ของรัฐบาลได้อีกด้วย
นายสำเริง ด้วงนิล หัวหน้าฝ่ายเทคนิคและวิศวกรรม กล่าวถึง เทคนิคการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศของไทยระดับสูงที่พัฒนาขึ้น ว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีความจำเป็นในการพัฒนาชิ้นส่วนสุญญากาศระดับสูง เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศในประเทศ ทำให้มีข้อจำกัดในการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ใช้งบประมาณสูง ใช้ระยะเวลาในการรอคอยชิ้นงานนาน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สามารถผลิตชิ้นงานและนำไปประกอบหรือติดตั้งประยุกต์ได้ตรงตามความต้องการในการใช้งาน อีกทั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับงานระบบลำเรียงแสงต่าง ๆ ภายในสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน รองรับการให้บริการกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการแสงซินโครตรอน การให้บริการสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่สำคัญเป็นการพัฒนากำลังคนทางด้านเทคโนโลยีสุญญากาศขึ้นในประเทศ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสุญญากาศสู่สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ของประเทศในอนาคต
นายสำเริง กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการผลิตเริ่มจากความต้องการของผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน แล้วนำมาออกแบบและเขียนแบบทางวิศวกรรม จากนั้นเข้าสู่กระบวนการผลิต ทดสอบรอยรั่วครั้งที่ 1 หากมีรอยรั่วจะส่งกลับไปยังกระบวนการแก้ไข เมื่อชิ้นงานสมบูรณ์ จะนำสู่กระบวนการล้างด้วยสารเคมี และทำการทดสอบรอยรั่วครั้งที่ 2 ถ้ารั่ว ก็จะส่งกลับไปยังขั้นตอนกระบวนการแก้ไข หากไม่มีรอยรั่วจะเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบสุญญากาศระดับสูง โดยการให้ความร้อนในชิ้นงาน และการเพิ่มอุปกรณ์ทำการทดสอบ หากมีรอยรั่วจะส่งกลับไปยังกระบวนการแก้ไขอีกครั้งหากไม่มีรอยรั่วจะส่งให้นักวิจัยหรือกลุ่มผู้ใช้นำไปประกอบและทดสอบ เตรียมเข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปในลำดับต่อไป
การขึ้นรูปชิ้นงาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ทำความสะอาดโดยการขัดผิดด้านในเพื่อให้ชิ้นงานมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น 2) การเจาะรูต้องมีเครื่องมือที่สามารถบอกพิกัดหรือตำแหน่งที่มีความแม่นยำมาก ๆ หากตำแหน่งการเจาะไม่แม่นยำเมื่อนำไปประกอบกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ จะไม่สามารถทำได้
การคว้านรู เป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศระดับสูง การคว้านรูมีรูปแบบหลายลักษณะเพื่อให้สอดคล้องและตรงตามการใช้งานของผู้ใช้ต่าง ๆ จากนั้น เข้าสู่กระบวนการประกอบชิ้นส่วน เพื่อให้ได้ค่าระนาบ ค่าขนาน รวมถึงความยาวและความถูกต้องของมุม ที่ชัดเจน หากไม่ได้ค่าดังกล่าว เมื่อนำไปประกอบกับระบบลำเลียงแสง หรือประกอบกับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ จะทำให้มีปัญหาในการติดตั้ง
งานเชื่อม ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสุญญากาศขั้นสูง พื้นที่ในห้องงานเชื่อมต้องสะอาด เทคนิคการเชื่อมถ้าต้องการความแข็งแรงมากขึ้นก็จะเติมเส้นลวด จากนั้นทำการทดสอบรอยรั่วที่ความดัน -6 ถึง -7 ทอร์
กระบวนการล้าง ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน หรือผงซักฟอก ใช้สก๊อตไบรท์ ในการขัด เพื่อทำความสะอาดคราบและรอยเปื้อนที่เกิดจากกระบวนการผลิต ลำดับต่อมาจะล้างด้วยการใช้ ไอแรงดันสูง เป่าให้แห้ง แล้วห่อด้วยอลูมิเนียมฟอย เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต
นายบุญรักษ์ ถาวรรุ่งโรจน์ กล่าวว่า บริษัท องค์การเภสัชกรรม จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจ มีภารกิจผลิตวัคซีนให้กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้เทคโนโลยีจากประเทศฝรั่งเศส วัคซีนที่ผลิตมีหลายชนิด ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ 2009) คางทูม โปริโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบ แต่มีวัคซีน 3 ชนิด ได้แก่ วัคซีนคางทูม หัดเยอรมัน และวัคซีนพิษสุนัขบ้า ที่ต้องใช้เทคโนโลยีการทำแห้งด้วยวิธีสุญญากาศ เพื่อให้วัคซีนเก็บไว้ใช้ได้นาน ประมาณ 3 ปี ดังนั้นจึงเป็นจุดกำเนิดความร่วมมือระหว่าง สซ. กับ บริษัท องค์การเภสัชกรรม จำกัด
ด้าน นายสุพรรณ บุญสุยา วิศวกร กล่าวถึงเทคนิคการทดสอบรอยรั่วระบบสุญญากาศ ว่า รอยรั่วเป็นปัญหาหนึ่งในระบบสุญญากาศ ทั้งในส่วนเครื่องกำเนิดแสงซินโครตอนและภาคอุตสาหกรรม วิธีการตรวจสอบรอยรั่วแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1) รอยรั่วขนาดใหญ่ 2) รอยรั่วขนาดปานกลาง 3) รอยรั่วขนาดเล็กลงที่สุด การตรวจสอบรอยรั่วทดสอบได้ 2 แบบ ได้แก่ 1) ใช้ความดันสามารถบอกความละเอียดได้ในระดับที่แตกต่างกัน โดยการสังเกตการลดลงของแรงดันสามารถให้ความละเอียดของรอยรั่วได้ 10-2 มินิบาร์ลิตรหรือทอร์ต่อวินาที 2) ใช้การทดสอบด้วยสุญญากาศสามารถวิเคราะห์และบอกตำแหน่งของรอยรั่วได้ในระดับ 10-11 มินิบาร์ลิตรหรือทอร์ต่อวินาที
วิธีการตรวจสอบรอยรั่วที่นิยมในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในการซ่อมบำรุงของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนและในภาคอุตสาหกรรม ใช้วิธีการตรวจสอบรอยรั่วโดยการใช้สเป็คโตมิเตอร์ เนื่องจากราคาไม่แพง นายสุพรรณ กล่าวทิ้งท้าย
งานซ่อมบำรุง และเร่งอนุภาคของเรา เพื่อรองรับการให้บริการกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการแสงซินโครตรอน หรือการให้บริการสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่สำคัญเป็นการพัฒนากำลังคนทางด้านเทคโนโลยีสุญญากาศขึ้นภายในประเทศ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสุญญากาศสู่สถาบันฯ และภาคอุตสาหกรรม ภายในประเทศ ในอนาคต
ขั้นตอนการผลิต เริ่มจากข้อกำหนดต่าง ๆ ของผู้ใช้ทั้งภายในภายนอกของสถาบันฯ
เมื่อได้แล้ว จะนำมาออกแบบ และเขียนแบบทางวิศวกรรม สู่กระบวนการผลิต ล้าง ทดสอบรอยรั่วครั้งที่ 1 หากมีรอยรั่วจะส่งกลับไปยังกระบวนการแก้ไข เมื่อชิ้นงานสมบูรณ์ จะนำสู่กระบวนการล้างด้วนสารเคมี และทำการทดสอบครั้งที่ 2 ถ้ารั่ว ก็จะกลับไปยังขั้นตอนกระบวนการแก้ไข หากไม่มีรอยรั่ว เข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบสุญญากาศระดับสูง โดยการให้ความร้อนในชิ้นงาน และการเพิ่มอุปกรณ์ทำการทดสอบ หากมีรอยรั่วจะส่งกลับไปยังกระบวนการแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง หากไม่มีรอยรั่ว ก็จะส่งให้นักวิจัยหรือกลุ่มผู้ใช้นำไปประกอบ ทดสอบ เมื่อทำการออกแบบเขียนแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วจะใช้ซอฟท์แวร์ในการพิมพ์โมเลท คุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ มาให้เหมาะสมและออกแบบ เลือกวัสดุวัสดุให้เหมาะสมกับการหล่อเย็น ส่งชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการผลิต การเตรียมตัวท่อต่าง ๆ เตรียมเข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปในลำดับต่อไป
การขึ้นรูปชิ้นงาน โดยการทำท่อเมน มีขั้นตอนการขัดผิดด้านในเพื่อให้ชิ้นงานมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น ต่อจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการมีนนิ่ง เพื่อทำการเจาะรู การเจาะรูต้องมีเครื่องมือที่สามารถบอกพิกัดหรือตำแหน่งที่มีความแม่นยำมาก ๆ หากชิ้นงานตำแหน่งการเจาะไม่แม่นเวลานำไปประกอบกับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ จะไม่สามารถทำได้
การคว้านรู เป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนสุญญากาศระดับสูง มีการคว้านรูหลายลักษณะที่มีความหลากหลายให้สอดคล้องและตรงตามการใช้งานของผู้ใช้ต่าง ๆ จากนั้น เข้าสู่กระบวนการประกอบชิ้นส่วน การประกอบจะเป็นการประกอบแบบเคเบิลเครื่อง เพื่อให้ค่าระนาบต่าง ๆ รวมถึงความยาวและความถูกต้องของมุม และค่าขนาน และค่าความขนานที่ถูกต้องชัดเจน หากไม่ได้ค่าขนานเวลานำไปประกอบกับระบบลำเลียงแสง หรือประกอบกับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ทำให้มีปัญหาในการติดตั้งต่อไป
งานเชื่อม พื่นที่ในห้องงานเชื่อมต้องสะอาด ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสุญญากาศขั้นสูง เทคนิคการเชื่อมแบบ การเชื่อมฟิค ถ้าต้องการความแข็งแรงมากขึ้น ก็จะเติมเส้นลวด จากนั้น ทำการทดสอบรอยรั่วครั้งที่ 1 ทดสอบที่ความดัน -6 ถึง -7 คอล
กระบวนการล้าง 12 ขั้นตอน ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน หรือผงซักฟอก ใช้สก๊อตไบรท์ ในการขัด เพื่อทำความสะอาดคราบและรอยเปลื่อนที่เกิดจากกระบวนการผลิต ลำดับต่อมาจะล้างด้วยที่มีไอแรงดันสูงทำให้ชิ้นงานด้วยโบเวอร์ แล้วนำชิ้นงานจุ่มในอุลตราโซนิค เป่าให้แห้ง แล้วห่อด้วยอลูมิเนียมฟอย เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต
นายบุญรักษ์ ถาวรรุ่งโรจน์ กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรม เป็นรัฐวิสาหกิจ มีภารกิจผลิตวัคซีนให้กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้เทคโนโลยีจากประเทศฝรั่งเศส เพื่อให้ได้วัคซีนในราคาที่เหมาะสม โรงงานอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรม จ.ฉะเชิงเทรา วัคซีนที่ทำเป็นหลายรูปแบบ เช่น ไข้หวัดใหญ่ (ไม่ใช่ไข้หวัด 2009) คางทูม โปริโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบ มี 3 ชนิด ที่ต้องใช้เทคโนโลยีการทำแห้งด้วยวิธีสุญญากาส เช่น คางทูม หัดเยอรมัน พิษสุนักบ้า จึงเป็นความร่วมมือระหว่าง สซ. กับ องค์การเภสัชกรรม การทดสอบส่วนใหญ่จะใช้หนูตะเภา หัวเชื้อวัคซีนนำมาผสม การทำวัคซีนให้อยู่ได้นาน ๆ ประมาณ 3 ปี จึงทำให้ต้องผลิตในรูปแห้ง จึงต้องทำให้อยู่ในสภาวะสุญญากาศ จึงเป็นจุดกำเนิดที่ให้เกิดความร่วมมือกัน ถ้ารั่ว วัคซีนก็จะเสีย กระบวนการทำแห้งของวัคซีน รวมถึงการทดสอบรวยรั่วระบบสุญญากาศ ระหว่าง สซ. กับ องค์การเภสัชกรรม ด้วย
ด้าน นายสุพรรณ บุญสุยา วิศวกร กล่าวถึง เทคนิคการทดสอบรอยรั่วระบบสุญญากาศ ว่า รอยรั่วเป็นปัญหาหนึ่งในระบบสุญญากาศ ทั้งในส่วนเครื่องกำเนิดแสงซินโครตอนและส่วนภาคอุตสาหกรรม วิธีการตรวจสอบรอยรั่วทำได้ รอยรั่วแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1) รอยรั่วขนาดใหญ่ 2) รอยรั่วขนาดปานกลาง 3) รอยรั่วขนาดเล็ก การตรวจสอบรอยรั่ว ทดสอบ 2 แบบ 1) ใช้ความดันสามารถบอกความละเอียดได้ในระดับที่แตกต่างกัน โดยการสังเกตการณ์ลดลงของแรงดันสามารถให้ความละเอียดของลอยรั่วได้ 10 ยกกำลัง -2 มินิบาร์ต่อวินาที ในขณะที่ใช้การทดสอบด้วยสุญญากาศด้วยเครื่องมือ จะสามารถวิเคราะห์และบอกตำแหน่งของรอยรั่วได้ในระดับ 10 ยกกำลัง -11 มินิบาร์ต่อวินาที เช่น การทดสอบโดยการลดลงของความดันในภาคอุตสาหกรรม ระบบประกอบด้วย แก๊ส ความดัน น้ำ วาว ทำการอัดแก๊ส หรือน้ำเข้าไป การทดสอบโดยใช้สุญญากาศ เป็นปั๊มสุญญากาศ ความดันที่เวลาผ่านไป ระบบทดสอบมีการรั่วเกิดขึ้น สามารถทราบถึงอัตราการรั่วอย่างคร่วาว ๆ ได้
วิธีการตรวจสอบรอยรั่วที่นิยมใช้กันของสถาบันฯ ในกระบวนการผลิตของสถาบัน และการซ่อมบำรุงของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนและในภาคอุตสาหกรรม การตรวจสอบโดยใช้สเป็คโตมิเตอร์ ราคาไม่แพงมาก
รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่าเนื่องจากปัจจุบันนี้ กระแสของพลังงานทดแทนกำลังเป็นที่สนใจอย่างมาก โดยเฉพาะการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งหากมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในประเทศไทย ต้องมีมาตรการ ขั้นตอน และกลไกสำหรับการกำกับดูแลความปลอดภัย โดยทิศทางการพัฒนาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้น ควรคำนึงถึงผลกระทบและความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เป็นหลัก
รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ผู้เข้าร่วมเสวนาจะได้รับทราบข้อมูลการกำกับดูแลความปลอดภัยดังกล่าวจากหน่วยงานซึ่งมีความรับผิดชอบหลักด้านนี้คือ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และข้อมูลในด้านเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งความคืบหน้าของการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย จากสำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมเสวนาจะได้รับประโยชน์ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่น่าสนใจจากการเสวนาครั้งนี้
ด้าน ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งในรูปแบบขององค์การมหาชน มีหน้าที่หลัก ส่วนแรก คือ การวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ส่วนที่สอง คือ ให้บริการ เผยแพร่ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ สำหรับงานบริการของศูนย์บริการทั้ง 5 แห่งซึ่งประกอบด้วย ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ศูนย์ไอโซโทปรังสี ศูนย์ฉายรังสี ศูนย์ฉายรังสีอัญมณี และศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี นั้น เราได้ต่อยอดและพัฒนามาจากผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์แทบทั้งสิ้น ฉะนั้นงานวิจัยจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ สทน. “ในปีๆหนึ่ง เราจะมีงานวิจัยประมาณ 40-50 เรื่อง ซึ่งแต่ละเรื่องจะพิจารณาถึงปัญหาพื้นฐานของสังคมและสามารถที่จะนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปช่วยแก้ไขปัญหา”
สทน. มีอายุครบ 3 ปี ถึงแม้งานวิจัยบางเรื่อง และงานบริการส่วนใหญ่ได้รับการโอนย้ายมาจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ แต่ในส่วนงานวิจัยของ สทน. ได้พิจารณาคัดสรรงานวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ตั้งเป้าว่าผลงานวิจัยทุกเรื่องต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ผลงานวิจัยของ สทน.ที่เผยแพร่ออกไปสู่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือ ประชาชน นั้นมีความหลากหลาย ทั้งงานวิจัยด้านการแพทย์ซึ่งมีการใช้อยู่มากกว่า 25 โรงพยาบาลในประเทศไทย งานวิจัยด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีคุณภาพดีต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูงมากกว่าพันธุ์เดิมหรือการฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช งานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และอุตสาหกรรม นักวิจัยมุ่งศึกษาและพัฒนาโครงการวัสดุต่างๆเช่น ไม้ โลหะ โพลิเมอร์ ให้ทนทาน มีคุณภาพดี และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น
ดร. สมพร กล่าวต่อไปว่า “ผลงานวิจัยของ สทน. ได้ถูกนำไปใช้มากมาย โดยเฉพาะด้านการแพทย์และการเกษตร ส่วนในด้านอุตสาหกรรมมีการนำไปใช้แต่ยังไม่กว้างขวางนัก เช่น การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการตรวจวิเคราะห์หอกลั่นน้ำมัน หรือตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย หรือการใช้รังสีในการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม”
สำหรับโครงการผลิตผงไหมโดยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมหม่อนไหม เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยนักวิจัย สทน. ศึกษาร่วมกับสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติ จากการนำรังไหมและเศษไหมที่เหลือจากจากอุตสาหกรรมทอผ้านำมาฉายรังสีแกมมา ซึ่งจะทำให้เส้นไหมสามารถบดเป็นอนุภาคเล็กๆ ได้ง่ายกว่าการไม่ฉายรังสี การฉายรังสียังทำให้เส้นไหมสามารถละลายน้ำได้ดีอีกด้วย เทคโนโลยีดังกล่าว สามารถช่วยให้การนำผงไหมไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น ดร.สมพรกล่าวทิ้งท้าย
นางบุญญา สุดาทิศ ผู้เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวในเวทีเสวนาว่า สทน.ได้ทำการวิจัยร่วมกับกรมวิชาการเกษตรพบว่าผงไหมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีกรดอะมิโนอยู่มากถึง 16-18 ชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง ทั้งยังช่วยรักษาปริมาณน้ำในผิวหนัง กำจัดสิ่งสกปรกในเซลล์และยืดอายุเซลล์ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ผลจากการวิจัยยังพบว่า ผงไหมพันธุ์ไทยยังมีคุณสมบัติพิเศษ บางชนิดเด่นมากกว่าพันธุ์ไหมของต่างประเทศ เช่น มีสารช่วยป้องกันผิวแห้งและลดแอลกอฮอล์ในตับซึ่งมีมากกว่าถึง 3 เท่า มีสารช่วยความจำ ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจมากกว่า 2 เท่า และมีสารลดการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสและสารต้านไวรัส มากกว่า 4 เท่า (เมื่อเทียบกับพันธุ์ไหมต่างประเทศ)
“ผงไหม” ยังมีสารที่ช่วยควบคุม คอเลสเตอรอลในหลอดเลือด สลายแอลกอฮอล์ในร่างกาย ช่วยความจำ อีกทั้งยัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ฯลฯ ดังนั้น หากนำมาผสมในอาหาร นอกจาก จะเพิ่มคุณค่าสารอาหาร และยังมีประโยชน์ในหลายๆ ด้านอีกด้วย สทน. ประสบความสำเร็จในผลิตซิลล์เพปไทด์ (silk peptide) ที่มีอนุภาคขนาด 25-50 ไมครอน มีความสามารถในการละลายน้ำ 99.8 % มีลักษณะเบาฟู ดูดซับความชื้นจากอากาศได้ยาก มีสารปนเปื้อนประเภทโลหะหนักน้อยกว่าผงไหมที่ผลิตจากที่อื่น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำผงไหมไปเป็นส่วนผสมได้ เช่น ไส้กรอก กุนเชียง ลูกชิ้น ไอศกรีม บะหมี่ หมูยอ กุนเชียงที่ใส่ผงไหม ลักษณะจะนุ่มเหมือนกับของซึ่งทำออกใหม่ ลักษณะเนื้อเหมือนกับว่าผสมหมูเนื้อแดงในอัตราส่วนที่มาก และสีสันยังสด เนื้อนุ่มชวนกิน ส่วนโยเกิร์ต หรือไอศกรีม จะทำให้มีเนื้อผลิตภัณฑ์ที่เนียน ไม่ละลายง่าย บะหมี่ ทำให้มีคุณสมบัติเหนียวนุ่มไม่ยุ่ย เมื่อเร็ว ๆ นี้ สทน. ได้ทดลองฉีดสารละลายโปรตีนไหมกับข้าวหอมปทุมธานี เนื้อที่ 2 ไร่ เปรียบเทียบกับข้าวหอมปทุมธานีที่ไม่ได้ฉีดสารละลายโปรตีนไหม (เนื้อที่ 10 ไร่) ที่ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นข้าวที่ปลูกในแปลงติดกัน มีคันนาติดกัน เริ่มปลูกในวันเดียวกัน และปฏิบัติเช่นเดียวกันทุกขั้นตอน แตกต่างกันที่การฉีดพ่นสารละลายไหมเท่านั้น ผลปรากฏว่า ข้าวหอมปทุมธานี แปลงที่ฉีดสารละลายโปรตีนไหม ให้สภาพต้นข้าวที่ดูแข็งแรง ใบเขียว ตั้งตรงกว่าต้นข้าว ที่ไม่ได้ฉีด ออกรวงและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าประมาณ 7 วัน และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ 38.75% คิดเป็นจำนวนเงินเพิ่มประมาณไร่ละ 2,900 บาท
คุณนิษฐา รุจิประชากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แก้วหลวง จำกัด ผู้ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปใช้ เปิดเผยว่า เดิม บริษัทฯ ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและดำเนินการผลิตเส้นไหมและผ้าไหมขาย ปรากฏว่าเมื่อผลิตเสร็จไม่สามารถขายสินค้าได้ เนื่องจากเส้นไหมและผ้าไหมที่ผลิตจากเกษตรกรไทยมีราคาสูง อีกทั้งประเทศไทยมีการลักลอบการนำเข้าเส้นไหมสูงมาก จึงเริ่มศึกษาผู้ประกอบการผลิตผงไหมของต่างประเทศ ประกอบกับมีนักมีนักวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นมาติดต่อเพื่อขอตั้งโรงงานผลิตผงไหมในประเทศไทย บริษัทฯ ก็ไม่ได้ตอบรับการมาตั้งโรงงานผลิตในไทย และพยายามติดต่อนักวิจัยที่เป็นคนไทย จนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผงไหมจากนักวิจัยไทย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันได้ทำการผลิตผงไหม จำหนายให้กับสปา ธุรกิจความงาม และขายให้กับผู้บริโภคทั่วไป จนประสบความสำเร็จ และได้จดลิขสิทธิเป็นผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียวของประเทศไทย
ส่วน คุณสุชาดา สิงสถิต ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเนื้อสัตว์ จ.เลย กล่าวว่า ได้รับการถ่ายทอดองความรู้ในการนำผงไหมช่วยเพิ่มคุณภาพอาหาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเลยที่เป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมกันทดลองโดยนำผงไหมสีเหลืองและผงไหมสีขาว มาเป็นส่วนประกอบในอาหาร จนประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องใส่ผงชูรส ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด เช่น หมี่กรอบ ซึ่งจะมีความกรอบอยู่นานโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น ลูกชิ้นก็จะเด้งโดยไม่ต้องใส่สารบอร์แลค เป็นต้น อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคและมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย
คุณสมุทร คำพระ ผู้แทนเกษตรกร อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง กล่าวว่า เมื่อนำผงไหมไปฉีดในนาข้าว ทำให้ต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เดิมผลผลิตข้าว 1 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 800— 900 กิโลกรัม เมื่อใช้ผงไหม ซึ่งต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตไร่ละ 160 บาท จะได้ผลผลิตข้าวประมาณ 1,200 — 1,300 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 300 กิโลกรัม เป็นหนทางช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และยังไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สทน. ประกอบด้วย บริษัท แก้วหลวง จำกัด เป็นผู้ผลิตผงไหม บริษัท สุโขสปา จำกัด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปเนื้อสัตว์อำเภอภูหลวง จ.เลย บริษัท ฮ่องเต้ ผู้ผลิตกุนเชียงในจังหวัดราชบุรี ส่วนผู้ที่นำโปรตีนไหมไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด ต.ตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี และเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จ.อ่างทอง
ด้าน รศ. ศิริลักษณ์ นิวิฐจรรยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า แหล่งกำเนิดมลพิษจากรถยนต์นั้นมี 3 รูปแบบ คือ มลพิษจากการระเหยในระบบเครื่องยนต์ (evaporative emissions) มลพิษจากการเติมเชื้อเพลิง (refueling losses) และมลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ (exhaust emissions) หากพิจารณามลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเบนซินหรือดีเซล ก็จะมีทั้งประเภทที่ควบคุม (regulated emission) ดังเช่น CO, HC, NOx และ PM ในมาตรฐานมลพิษยูโร และประเภทที่ไม่ได้ควบคุม (unregulated emission) ที่เป็นสารพิษ เช่น เบนซีน สารประกอบอะโรมาติก และสารประกอบอัลดีไฮด์ ทั้งนี้มลพิษดังกล่าวสามารถใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยลดปริมาณที่ปล่อยสู่บรรยากาศได้
ในมุมมองด้านรถยนต์ นาย ตรีพล บุญยะมาน ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม สถาบันยานยนต์ กล่าวว่า การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสมนั้น จะให้ค่ามลพิษที่แตกต่างไปจากการใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา ซึ่งทางสถาบันฯ ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ. สมุทรปราการ นั้นมีห้องปฏิบัติการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากยานพหนะ ซึ่งสามารถตรวจวัดไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิงจากรถยนต์ได้ โดยที่ผ่านมา ทางสถาบันฯ ได้ทำงานร่วมกับทางกรมควบคุมมลพิษ ในโครงการตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ เพื่อตรวจวัดไอระเหย (evaporative emission) ที่เกิดขึ้น โดยทางสถาบันฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการวิจัยเพื่อศึกษาให้แน่ชัดว่ามลพิษประเภทสารประกอบอัลดีไฮด์ จากไอเสียของรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์นั้น มีส่วนส่งผลให้ปริมาณสารฟอร์มัลดีไฮด์ และอะเซทัลดีไฮด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศมากน้อยแค่ไหน อย่างไร
ด้านนาย ธนวัฒน์ คุ้มสิน อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวว่า
ในมุมมองด้านการวิเคราะห์ตรวจวัดปริมาณสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย กลุ่มคาร์บอนิลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟอร์มัลดีไฮด์ และอะเซทัลดีไฮด์นั้น ดร. นุจรินทร์ รามัญกุล หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารอันตราย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่าทางห้องปฏิบัติการฯ มีเครื่องมือในการตรวจวัดปริมาณสารดังกล่าวฯ โดยเฉพาะการวัดปริมาณไอระเหยในรถยนต์ ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญในการวัด ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บตัวอย่างอากาศในที่เย็นเพื่อป้องกันการแตกตัว หรือก่อตัวใหม่ การเฝ้าระว้งมิให้สารประกอบอัลดีไฮด์จากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำหอม กลิ่นบุหรี่ กลิ่นกาว เข้ามารบกวนในห้องปฏิบัติการฯ การวัดปริมาณสารที่ความเข้มข้นน้อยๆ ระดับไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่มีการดึงตัวอย่างในระดับลิตร การวัดค่า blank เพื่อเปรียบเทียบ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำ และสามารถใช้เป็นค่าบ่งชี้ถึงสภาพอากาศในแหล่งที่เก็บอากาศมาได้
ท้ายสุด ดร. นุวงศ์ ชลคุป นักวิจัยห้องปฏิบัติการพลังงานชีวภาพ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในไอเสียของรถยนต์ ทั้งที่เป็นสารที่รู้ว่าก่อมะเร็งแน่นอนในมนุษย์ (known human carcinogens) เช่น Benzene 1,3-butadiene และสารที่อาจจะก่อมะเร็ง (probable carcinogens) เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ และอะเซทัลดีไฮด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับความอันตรายของสารดังกล่าวฯ ที่หน่วยงานทางสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา เช่น EPA (Environmental Protection Agency) OEHHA (Office of Environmental Health Hazard Assessment ภายใต้ California Environmental Protection Agency) ได้กำหนดไว้ โดยในการตีความระดับความอันตรายนั้น จำเป็นต้องเข้าใจถึงสมมุติฐานที่เกี่ยวข้อง