TPC รุกตลาดผลิตภัณฑ์ HVA เปิดตัว “TRUZT” นวัตกรรมใหม่ ทดแทนนำเข้า มั่นใจยอดขายปี 53 เป็นไปตามเป้าหมาย

พุธ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๑:๑๘
บมจ.ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (TPC) พัฒนาสินค้าเม็ดพลาสติกในกลุ่มธุรกิจสินค้าพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added ) ภายใต้แบรนด์ TRUZT ทดแทนตลาดนำเข้าพร้อมตั้งเป้าภายใน 5 ปีข้างหน้า จะผลิตสินค้า HVA อยู่ที่ 25% ของกำลังผลิตรวม ตามความต้องการของตลาดโลกที่นับวันจะเพิ่มขึ้น เผย HVA จะช่วยทำให้รายได้ของ TPC ใน 5 ปีข้างหน้าโตอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมพีวีซีในประเทศปี 2553 มีความต้องการเพิ่มขึ้น 6% และปี 2554 เพิ่มขึ้น 5%

นายคเณศ ขาวจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า TPC ได้วิจัยพัฒนาวัตถุดิบพีวีซีที่มีคุณสมบัติพิเศษเป็นสินค้าระดับ Premium ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือ HVA (High Value Added) ซึ่งเป็นพีวีซีเกรดใหม่มีคุณสมบัติเฉพาะทางภายใต้แบรนด์ TRUZT ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสทางการค้า และรักษาความเป็นผู้นำให้ยั่งยืน

“TPC ได้เริ่มคิดค้นและพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ TRUZT ตั้งแต่ปี 2551 TRUZT คือเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นตัวแทนของสินค้าในกลุ่ม HVA เป็นตัวแทนของกลุ่มสินค้าใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมของบริษัทฯ โดย TPC มีเป้าหมายของการสร้างแบรนด์ TRUZT เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าในกลุ่มให้มีความพิเศษแตกต่างจากสินค้าเกรดปกติทั่วไป”

สำหรับสินค้าภายใต้แบรนด์ TRUZT นั้น TPC ได้มีการแบ่งสินค้าออกเป็น 2 กลุ่มตามคุณสมบัติพิเศษ คือ กลุ่มที่ 1 เป็นพีวีซีเกรดที่มีประสิทธิภาพสูง (Performance Grade) นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต สินค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทนแรงดึงสูงยืดหยุ่นคล้ายยาง, อุตสาหกรรมสายไฟ สายเคเบิ้ลคุณภาพสูง แผ่นฟิล์มฉลากสินค้า ที่ต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพผิวดี เรียบเนียน และกลุ่มสินค้า บัตรเครดิต แพ็คเกจจิ้งของยา ที่ต้องการคุณสมบัติขึ้นรูปที่อุณหภูมิต่ำ และพิมพ์ติดสีได้ดีและกลุ่มที่ 2 เป็นพีวีซีเกรดพิเศษที่ใช้ในงานทางด้านสุขภาพ (Health Care Grade) ที่ต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัดตั้งแต่วัตถุดิบตั้งต้น กระบวนการผลิต ตลอดจนถึงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ได้พีวีซีมีความบริสุทธิ์สูง สำหรับผลิตเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น สายน้ำเกลือ, ชุดฟอกเลือด, ชุดฟอกไต และชุดบริจาคเลือด

นายคเณศ กล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้าภายในประเทศยอมรับมากกว่า 80% แล้ว และกำลังขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการทดสอบพัฒนาร่วมกับลูกค้า 1-2 ปี จนผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า คาดว่าจะเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทฯ ในอีก 5 ปีข้างหน้านี้กว่า 100 ล้านบาท

“ขณะนี้สินค้า TRUZT ถูกผลิตขึ้นอยู่ในสัดส่วน 7% ของกำลังการผลิตเมื่อเทียบกับกำลังการผลิตรวมของ TPC แต่ TPC วางเป้าหมายไว้ว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า สัดส่วนการผลิตสินค้าประเภทพรีเมี่ยมนี้จะอยู่ที่ 25% ของกำลังการผลิต ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น”

นายคเณศ กล่าวถึงภาวะอุตสาหกรรมพีวีซีปี 2553 และแนวโน้มปี 2554 ว่า ในส่วนของปีนี้คาดว่าความต้องการพีวีซีในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 8% ส่วนปีหน้าคาดการณ์ว่าตลาดโลกจะเติบโตในอัตรา 6% โดยเฉพาะตลาดจีนและอินเดียที่ยังคงมีการเติบโตในอัตราที่สูงส่วนในประเทศ ปีนี้คาดว่าความต้องการพีวีซีจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6% และปีหน้าคาดว่าตลาดจะเติบโตในอัตรา 5% อันเป็นผลมาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและงบประมาณไทยเข้มแข็ง ส่วนตลาดเวียดนามยังคงมีอัตราการเติบโตในระดับสูงที่ประมาณ 8% ส่วนอินโดนีเซียคาดว่าจะตลาดจะขยายตัวประมาณ 4-5 %

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ