วินิจฉัยโรคเท้าช้างด้วย...ชุดตรวจสำเร็จรูป

พฤหัส ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๑:๑๓
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนทุนวิจัยแก่ นพ.วิชัย สติมัย จากกระทรวงสาธารณสุข และรศ.ดร.สิริจิต วงศ์กำชัย แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาและประสิทธิภาพของชุดตรวจสำเร็จรูปเพื่อใช้ตรวจหาแอนติบอดีชนิด antifilarial LgG4 เพื่อการวินิจฉัยโรคเท้าช้าง” เพื่อการวินิจฉัยโรคและทำการรักษาโรคได้ทันเวลา

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์โรคเท้าช้าง ในปัจจุบัน ว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้เกิดความพิการซึ่งโรคนี้มียุงเป็นพาหะนำโรค เมื่อโดนยุงกัดพยาธิจะไปเจริญเติบโตในระบบน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ท่อน้ำเหลืองอุดตันเรื้อรัง ส่งผลให้แขน ขา หรืออวัยวะเพศบวมโต ผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่พบมากส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศและพบในแรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่เข้ามาทำงานตามจังหวัดต่างๆ ของไทยเป็นจำนวนมาก แรงงานเหล่านี้อาจไม่ได้รับการตรวจควบคุมโรคจึงอาจมีการติดเชื้อ จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในแรงงานเหล่านนี้ด้วย

ผู้วิจัยเปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการวิจัยว่า การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาชุดตรวจสำเร็จรูปต้นแบบ และศึกษาประสิทธิภาพของชุดตรวจสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นในการใช้วินิจฉัยโรคเท้าช้างที่มีสาเหตุจากพยาธิ บรูเกีย มาลาไย (Brugia malayi) ซึ่งพบในกลุ่มประชาชนที่อาศัยในแหล่งระบาดทางภาคใต้ และที่มีสาเหตุจากพยาธิ วูเคอเรอเรีย แบนครอฟไต (Wuchereria bancrofti) ซึ่งพบในกลุ่มแรงงานชาวพม่า แต่การตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้างนั้นจะต้องทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจวินิจฉัยหาไมโครฟิลาเรีย ที่เป็นพยาธิตัวอ่อนที่จะออกมาในกระแสเลือดเฉพาะเวลากลางคืน และถ้าพยาธิในกระแสเลือดมีจำนวนน้อยก็จะตรวจไม่พบเชื้อดังกล่าว

ผลการวิจัย พบว่าชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างสำเร็จรูปต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ มีประสิทธิภาพดี มีความไวและความจำเพาะสูง และยังสามารถตรวจวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดเวลาใดก็ได้ ทั้งยังสามารถใช้เลือดจำนวนน้อยในการตรวจ โดยเจาะเลือดจากปลายนิ้ว ซึ่งทำได้สะดวกและง่าย ทำให้ตรวจตัวอย่างเลือดได้ครั้งละ100 -200 คน โดยใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง คิดเป็นต่อผู้ป่วย 1 รายใช้เวลาน้อยกว่า 5 นาที ซึ่งสะดวกกว่าวิธีการย้อมฟิล์มเลือดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ที่จะตรวจผู้ป่วยในเวลากลางคืนและใช้เวลาต่อคนถึง 30 นาทีด้วยกัน ผู้วิจัย ยังกล่าวต่อไปว่าชุดตรวจสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นนี้มีราคาถูกกว่าชุดตรวจที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพงกว่า 2-3 เท่า ผู้วิจัยยังได้นำเอาชุดตรวจสำเร็จรูปนี้ไปใช้ค้นหาผู้ติดเชื้อใน จ. นราธิวาส เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่การระบาดอยู่ 87 หมู่บ้าน 7 อำเภอ และมีจำนวนผู้ป่วยโรคเท้าช้างมากที่สุด และนำไปใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของโครงการกำจัดโรคเท้าช้างในแหล่งระบาดในจังหวัดอื่นๆ อาทิ จ.สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อีกทั้งยังจัดทำการเ

ฝ้าระวังการระบาดของโรคเท้าช้างหลังโครงการวิจัยสิ้นสุดลงอีกด้วย

สถานที่ติดต่อ : รองศาสตราจารย์ ดร.สิริจิต วงศ์กำชัย

ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

โทร. ๐๘-๑๙๒๒-๓๒๒๕

E-mail : [email protected]

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 025799775 ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม