เผยแพร่: 11 พฤศจิกายน 2553
วันนี้ แกรนท์ ธอร์นต้น เผยแพร่รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติ หรือ “International Business Report: Thailand Country Focus” โดยเป็นการเปรียบเทียบประเทศไทยกับอีก 35 ประเทศในหลายมุมมอง อาทิ ทัศนคติด้านบวกต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน ความคาดหวังต่อรายรับ ข้อจำกัดในการเติบโตของธุรกิจ ความคาดหวังต่อความสามารถในการทำกำไร การสนับสนุนของหน่วยงานที่ให้กู้ยืมเงิน การควบรวมกิจการ และทักษะของบุคลากร
มุมมองจากทั่วโลก
รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ The Grant Thornton International Business Report (IBR) 2010 เป็นรายงานประจำปีที่สำรวจทัศนคติของผู้บริหารระดับอาวุโสในธุรกิจเอกชน (Privately Held Businesses: PHBs) กว่า 7,400 ราย ใน 36 ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลก เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2009 แล้ว ผลการสำรวจของปีนี้เผยว่าธุรกิจในเกือบทุกประเทศมีทัศนคติด้านบวกสูงขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้า
นับเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ที่ประเทศชิลีนำประเทศอินเดียในฐานะประเทศที่มีทัศนคติด้านบวกสูงสุด ด้วยดุลยภาพสุทธิ ที่ +85% (-24% เมื่อปี 2009) ตามด้วยอินเดียที่มีค่าดุลยภาพใกล้เคียงกันที่ +84% ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงอยู่อันดับท้ายสุดด้วยดุลยภาพที่ -72% ทั้งนี้ โดยรวมแล้ว ทัศนคติด้านบวกของธุรกิจทั่วโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นจากปี 2009 โดยในปีนี้ ค่าดุลยภาพที่ +24% จากธุรกิจในทุกประเทศนั้นแสดงทัศนคติด้านบวกต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศของตน เปรียบเทียบกับค่าดุลยภาพที่ -16% เมื่อปี 2009
สำหรับประเทศไทย รายงานของปีนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับประสบการณ์และทัศนคติของผู้บริหารธุรกิจเอกชน ตลอดจนผลกระทบของความผันผวนของเศรษฐกิจต่อธุรกิจ และการรับมือกับการพลิกฟื้นของเศรษฐกิจของประเทศ
มุมมองภายในประเทศ
ประเทศไทยมีอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้นสำหรับโอกาสทางธุรกิจและการฟื้นตัวจากการส่งออก แม้ว่าเกิดความไม่สงบทางการเมืองและการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 1-2 ก็ตาม
เอียน แพสโค กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า “สภาพเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวมในปี 2010 นั้นปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมาก แม้ว่าความไม่สงบทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้จะส่งผลให้รายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวลดลง ในส่วนของ GDP ก็ขยายตัวอย่างไม่คาดฝันที่ 0.2% ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งตรงข้ามกับคาดการณ์ที่ว่า GDP จะหดตัวลง 3.5% เนื่องมาจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ
ทั้งนี้ รายงานของเราแสดงให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศไทยมีทัศนคติด้านบวกสูงขึ้นอย่างมากในปีนี้ เมื่อมองเศรษฐกิจโดยรวม แม้ว่าธุรกิจจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวอยู่ในขาขึ้นในปลายปี 2010 ยิ่งไปกว่านั้น ในด้านความคาดหวังในการทำกำไร ค่าดุลยภาพ (ของธุรกิจในประเทศไทยที่คาดหวังจะเพิ่มผลกำไร) สูงขึ้น 50% ในปีนี้เป็น +30%”
The Grant Thornton IBR 2010 รายงานว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2010 มีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาโดยเป็นผลจากการส่งออก อย่างไรก็ตาม การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือนมีนาคม 2010 ได้ฉุดรั้งการเติบโตและส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน การแข่งขันที่สูงขึ้นในระดับนานาชาติ
บ่งบอกว่าประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับทักษะแรงงานและความสามารถในการผลิตเพื่อให้แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
นอกจากนี้ มีสัญญาณบ่งชี้ที่สำคัญประการอื่นๆ ได้แก่:
การส่งออกเดือนมิถุนายนสูงขึ้น 46% เป็นมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 40% เป็น 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ธุรกิจในประเทศไทยมีทัศนคติด้านบวกสูงขึ้นอย่างมากต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศในปี 2010 โดยมีค่าดุลยภาพทิศนคติด้านบวก/ลบสูงขึ้นอย่างมาก จาก -63% เมื่อปี 2009 เป็น +12% ในปี 2010
ค่าดุลยภาพของธุรกิจในประเทศไทยที่คาดหวังว่าการจ้างงานจะขยายตัวในปี 2010 อยู่ที่ +28% เปรียบเทียบกับ -1% เมื่อ 12 เดือนก่อนหน้า ส่วนค่าเฉลี่ยสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสูงขึ้น 25% จาก +8% เมื่อปี 2009 เป็น +33%
ความคาดหวังต่อรายรับสูงขึ้น 53% เป็น +39% ในปีนี้ จาก -14% เมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมา
ความคาดหวังต่อความสามารถในการทำกำไรนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย-แปซิฟิก (26%)
มองไปภายภาคหน้า
คาดการณ์ระบุว่า GDP ของประเทศไทยน่าจะเติบโตในอัตรา 5.5% ในปี 2010 โดยเป็นผลจากการขยายตัวของคู่ค้าของประเทศไทย โดยเฉพาะในเอเชียที่คาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตเป็น 11.3% ในปี 2010 นอกจากนี้ คาดว่าการนำเข้าจะมีการเติบโตใกล้เคียง 15% เนื่องด้วยอุปสงค์จากอุตสาหกรรมการผลิตและการบริโภคจากภาคเอกชนสูงขึ้น ส่วนการท่องเที่ยว คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปีเนื่องจากเชื่อว่าการฟื้นตัวจากผลกระทบของการชุมนุมทางการเมืองที่ใช้เวลา 6 เดือน
อุตสาหกรรมการจัดการประชุมและสัมมนาก็เป็นอีกหนึ่งที่น่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่แล้วการจัดอีเว้นท์จะมีการวางแผนล่วงหน้าประมาณ 18 เดือน — 2 ปี และเนื่องจากประเทศไทยมีความไม่สงบทางการเมืองเกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา จึงทำให้ทางผู้จัดงานต่างยกเลิกและมองหาประเทศอื่นในเอเชียเป็นสถานที่จัดงานแทน ดังนั้น เราจึงคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการจัดประชุมสัมมนาน่าจะใช้เวลาค่อนข้างนาน
ในปี 2011 มีการคาดการณ์ว่า GDP จะขยายตัวช้าลงเนื่องจากการส่งออกไม่น่าจะเติบโตในอัตราเดียวกันกับในปี 2010 เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ส่วนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2011 นั้น หากมีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นอีกครั้ง ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอาจได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคการลงทุนจะมีการเติบโตเพียงแต่ไม่อยู่ในระดับเดียวกันกับปี 2010
เกี่ยวกับ IBR
รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ The Grant Thornton International Business Report (IBR) เป็นรายงานประจำปีที่สำรวจทัศนคติของผู้บริหารระดับอาวุโสในธุรกิจเอกชน (Privately Held Businesses: PHBs) ทั่วโลก
ที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 1992 โดยทำการสำรวจใน 9 ประเทศในยุโรป จนถึงปัจจุบันที่ทำการสำรวจกว่า 7,400 บริษัท ใน 36 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอมุมมองทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ ในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อ “ตัวขับเคลื่อน” ของเศรษฐกิจโลก สำหรับในประเทศไทย 150 บริษัท จากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมได้รับการสำรวจ โดยมีทั้งธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 20 คนจนถึง 599 คน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBR พร้อมเนื้อหารายงานและบทสรุป สามารถค้นหาได้ที่เว็บไซต์: www.internationalbusinessreport.com
ประเทศที่ได้รับการสำรวจ ได้แก่ อาร์เจนตินา อาร์เมเนีย ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บอตสวานา บราซิล แคนาดา ชิลี จีน
เดนมาร์ค ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮ่องกง อินเดีย ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน ไต้หวัน ไทย ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย
แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี พ.ศ. 2540 โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การลดค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงแผนธุรกิจ รวมถึงดำเนินการช่วยเหลือลูกค้าขยายธุรกิจผ่านการควบรวมและมองหาโอกาสในการขยายกิจการ ทั้งนี้ การให้บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ครอบคลุมถึง การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การตรวจสอบบัญชีทั้งภายในและภายนอกองค์กร การให้คำปรึกษาทางภาษีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การให้คำปรึกษาด้านการเงิน การปรับโครงสร้างองค์กร การควบรวมกิจการ งานด้านกฏหมายและการสืบสวน การบริหารความเสี่ยง การประเมินราคาทรัพย์สินสุทธิทางการเงินและภาษีก่อนที่จะทำการซื้อขายกิจการ ความช่วยเหลือด้านการโอนเงิน การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ การแนะกลยุทธ์ให้บริษัทในการออกจากธุรกิจเพื่อถอนทุนคืน การจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร การเตรียมการเพื่อถ่ายโอนกิจการ และการพิจารณาผลตอบแทน ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กรุณาค้นหาที่เว็บไซต์ www.grantthornton.co.th
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อ
เอียน แพสโค ลักษณ์พิไล วรทรัพย์
กรรมการบริหาร ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร
แกรนท์ ธอร์นตัน แกรนท์ ธอร์นตัน
โทร: 02 205 8100 โทร: 02 205 8142
อีเมล์: [email protected] อีเมล์: [email protected]