อุปกรณ์ Blue Coat PacketShaper ควบคุมเว็บแอพพลิเคชั่นและคอนเทนต์แบบอัจฉริยะ จัดแบ่งหมวดหมู่ URL ครั้งแรกในวงการไอที

อังคาร ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๔:๔๙
รับรู้แอพพลิเคชั่นและคอนเทนต์ใหม่ในทันที ช่วยให้องค์กรก้าวทันเว็บที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้อย่างง่ายดาย

บลูโค้ท ซิสเต็มส์ อิงค์ (Blue Coat Systems, Inc.) (Nasdaq: BCSI) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเครือข่ายแอพพลิเคชั่น (Application Delivery Networking) เปิดเผยว่าตอนนี้อุปกรณ์ Blue Coat? PacketShaper? สามารถรับรู้เว็บแอพพลิเคชั่นและเว็บคอนเทนต์ใหม่ๆ ได้ทันที ช่วยให้องค์กรต่างๆ ก้าวทันเว็บที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยแทบไม่ก่อให้เกิดภาระต่อฝ่ายไอที ด้วยฟังก์ชั่น “การจำแนกประเภทตามหมวดหมู่ URL” ที่ไม่เคยมีมาก่อนในแวดวงอุตสาหกรรมไอที อุปกรณ์ PacketShaper จึงสามารถนำเสนอระบบควบคุมแบบอัจฉริยะสำหรับการบริหารจัดการเว็บแอพพลิเคชั่นและคอนเทนต์ใหม่ๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อัพเดตหรือนโยบายใหม่ๆ

“ปัจจุบัน แทรฟฟิก HTTP มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจมากขึ้น แต่องค์กรส่วนใหญ่กลับไม่สามารถตรวจสอบแทรฟฟิกประเภทนี้ได้ และดังนั้นจึงไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเว็บแอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจกับเว็บแอพพลิเคชั่นที่อาจเป็นอันตราย รวมถึงเว็บคอนเทนต์ที่มีลักษณะก้ำกึ่ง เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์และวิดีโอ” ซินดี้ โบโรวิค รองประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารระดับองค์กรและเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ของไอดีซี กล่าว “บริษัทต่างๆ จะต้องสามารถแยกแยะความแตกต่างของเว็บแทรฟฟิกได้อย่างละเอียดและชัดเจน และสามารถปรับขนาดเพื่อรองรับการขยายตัวของคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ”

รับรู้อย่างฉับพลันทันทีด้วยบริการ WebPulse

อุปกรณ์ PacketShaper สามารถใช้ประโยชน์จากบริการ Blue Coat WebPulse? บนระบบคลาวด์ซึ่งครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้ 70 ล้านรายทั่วโลก ระบบดังกล่าวทำหน้าที่ตรวจสอบเว็บโดยอาศัยข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน เพื่อทำความเข้าใจและจัดแบ่งหมวดหมู่ของเว็บแอพพลิเคชั่นและเว็บคอนเทนต์ในแบบเรียลไทม์ การผนวกรวมเข้ากับบริการ WebPulse นี้จะช่วยให้อุปกรณ์ PacketShaper สามารถคัดแยกเว็บไซต์ต่างๆ หลายสิบล้านเว็บไซต์ รวมถึง URL อีกหลายพันล้านรายการ โดยจำแนกตาม 80 หมวดหมู่ซึ่งมีความสมเหตุสมผลและสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดการและปรับใช้นโยบายโดยรวมกับคอนเทนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

บริการ WebPulse จะทำหน้าที่จำแนก URL แต่ละรายการเป็น 4 หมวดหมู่ ช่วยให้สามารถตรวจสอบและจัดการเว็บแอพพลิเคชั่นและเว็บคอนเทนต์ได้แม่นยำและละเอียดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น องค์กรจะสามารถอนุญาตให้พนักงานเข้าใช้เฟซบุ๊คเพื่ออัพเดตสถานะและสนทนาเท่านั้น แต่จะจำกัดแบนด์วิธสำหรับเกมในเฟซบุ๊ค

นโยบายที่รองรับการปรับเปลี่ยนสำหรับแอพพลิเคชั่นในอนาคต

ด้วยการจำแนกประเภทตามหมวดหมู่ URL ซึ่งรวมอยู่ในอุปกรณ์ PacketShaper ของบลูโค้ท องค์กรต่างๆ จะสามารถกำหนดนโยบายที่จะนำไปใช้กับคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่เพิ่งค้นพบได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดฐานข้อมูลเว็บใหม่ๆ หรือเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่า หรือสร้างนโยบายใหม่แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น เมื่อพบเกมออนไลน์ที่เพิ่งเปิดให้บริการ อุปกรณ์ PacketShaper ก็จะจำแนกว่าเป็นหมวดหมู่เกม และจะควบคุมเกมดังกล่าวตามนโยบายที่กำหนดไว้สำหรับหมวดหมู่นั้นๆ

โซลูชั่นแบบเก่าที่พยายามค้นหาแอพพลิเคชั่นโดยอ้างอิงจากชื่อโดเมนไม่สามารถปรับขนาดอย่างยืดหยุ่นเพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นและคอนเทนต์บนเว็บซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในการใช้โซลูชั่นเหล่านี้ ผู้จัดการฝ่ายไอทีจะต้องสร้างนโยบายใหม่สำหรับเกมออนไลน์ใหม่ๆ แต่ละเกม แม้กระทั่งในกรณีที่มีนโยบายเดียวกันนั้นอยู่แล้วสำหรับเกมอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากปราศจากความสามารถในการสร้างและจัดการนโยบายสำหรับกลุ่มเนื้อหาคอนเทนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โซลูชั่นเหล่านี้ก็จะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากและไม่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสมในขณะที่คอนเทนต์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น แนวทางนี้ยังไม่รองรับการจำแนกความแตกต่างอย่างละเอียด จึงไม่สามารถดำเนินการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับแทรฟฟิกจากเว็บไซต์อย่างเฟซบุ๊ค ซึ่งครอบคลุมหลายหมวดหมู่ รวมถึงอีเมล สนทนา วิดีโอ และเกม ซึ่งแต่ละองค์กรอาจต้องการจัดการดูแลคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ในลักษณะที่แตกต่างกัน

“การผสานรวมเข้ากับบริการ WebPulse ช่วยให้อุปกรณ์ PacketShaper สามารถตรวจสอบเว็บคอนเทนต์และเว็บแอพพลิเคชั่นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น ช่วยให้บริษัทต่างๆ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น” ทอม เชีย ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจ PacketShaper ของบลูโค้ท ซิสเต็มส์ กล่าว “ความสามารถในการรับรู้อย่างฉับไว บวกกับการควบคุมแบนด์วิธและแอพพลิเคชั่นอย่างเข้มงวด คือรากฐานของอุปกรณ์ PacketShaper ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพสำหรับเว็บแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่สำคัญๆ รวมถึงความยืดหยุ่นในการกำหนดนโยบายสำหรับเว็บคอนเทนต์อื่นๆ”

อุปกรณ์ใหม่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น 2 เท่า

ฟังก์ชั่นการจำแนกประเภทตามหมวดหมู่ URL พร้อมใช้งานบนอุปกรณ์ PacketShaper ทั้งหมดในรูปแบบของการอัพเกรดซอฟต์แวร์ นอกจากนี้บลูโค้ทยังได้แนะนำอุปกรณ์ PacketShaper รุ่นใหม่ ซึ่งมีสมรรถนะสูงกว่าอุปกรณ์ PacketShaper 10000 ถึง 2 เท่า โดยอุปกรณ์ PacketShaper 12000 สามารถจัดการข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว 3 Gbps ของการทำงานรวมกัน สำหรับแทรฟฟิกทั่วไปภายในองค์กร นับเป็นแพลตฟอร์มประสิทธิภาพสูงสำหรับแอพพลิเคชั่นและคอนเทนต์ที่ซับซ้อนในปัจจุบัน

การรายงานที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่นสำหรับองค์กร

พร้อมกันนี้ บลูโค้ทได้ปรับปรุง IntelligenceCenter ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มศูนย์กลางการรายงานสำหรับอุปกรณ์ PacketShaper ที่ติดตั้งไว้ตามที่ต่างๆ โดยจะรองรับการรายงานเกี่ยวกับการจำแนกประเภทใหม่ๆ ตามหมวดหมู่ URL นอกจากนั้น IntelligenceCenter 3 ของบลูโค้ทยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากขึ้นถึง 10 เท่า เพื่อรองรับการรายงานในระดับองค์กร พร้อมทั้งเพิ่มการควบคุมการเข้าถึงตามบทบาทของผู้ใช้ ซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดบทบาทและหน้าที่การทำงานสำหรับผู้ดูแลระบบเครือข่ายได้อย่างยืดหยุ่น การควบคุมตามบทบาทของผู้ใช้จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดการกระทำ เช่น ดูรายงาน จัดการการแจ้งเตือน และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเครือข่าย สำหรับทรัพยากรที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจหมายรวมถึงอุปกรณ์ เขตพื้นที หรือไซต์

ราคาและการวางจำหน่าย

PacketShaper 8.6: พร้อมใช้งานในรูปแบบของการอัพเกรดซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าทุกรายที่มีสัญญาบริการสำหรับอุปกรณ์ PacketShaper อยู่ในปัจจุบันอุปกรณ์ PacketShaper 12000: คาดว่าจะวางจำหน่ายในเดือนธันวาคม 2553 ราคาเริ่มต้นที่ 55,000 ดอลลาร์IntelligenceCenter 3: พร้อมใช้งานในรูปแบบของการอัพเกรดซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าทุกรายที่มีสัญญาบริการสำหรับ IntelligenceCenter อยู่ในปัจจุบัน

เกี่ยวกับบลูโค้ท ซิสเต็มส์

บลูโค้ท ซิสเต็มส์ เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเครือข่ายแอพพลิเคชั่น (Application Delivery Networking) ซึ่งช่วยปรับปรุงการตรวจสอบ การเร่งความเร็ว และการรักษาความปลอดภัย รองรับการจัดส่งข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ทุกคนบนทุกเครือข่ายทุกที่ทุกเวลาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ความชาญฉลาดทางด้านแอพพลิเคชั่นนี้ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับการลงทุนด้านเครือข่ายให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ เพิ่มความรวดเร็วฉับไวในการตัดสินใจ และคุ้มครองแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

ปิยะ ไพฑูรย์รจิตพิพิธ

บลูโค้ท ซิสเต็มส์ อิงค์

[email protected]

ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย

ปราณี เฉลิมธนศักดิ์

บริษัท เอฟเอคิว

โทร 02 971 3700

[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero