งานวิจัยข้างต้น พญ.กรุณา อธิกิจ อายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้ผ่าน ทีมงาน Life and Family ว่า การนั่งนาน ๆ เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ชายที่นั่งทำงานอยู่กับที่มากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 2 เท่า และเสียชีวิตจากโรคหัวใจเทียบกับการทำงานที่ต้องเดิน
สอดรับกับการศึกษาจากสมาพันธ์มะเร็งอเมริกา ที่ทำการศึกษาถึงเวลานั่ง และการออกกำลังกายกับอัตราการเสียชีวิตของอาสาสมัครระหว่างปี 1993-2006 ของอาสาสมัครชายหญิงจำนวน 53,440 และ 69,776 คนตามลำดับ ซึ่งไม่มีใครเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ อัมพาต และโรคปอดเลย
โดยระหว่างช่วงทำการศึกษา ทีมวิจัยพบว่า ยิ่งนั่งพักนานเท่าไร ยิ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง มีรายงานว่า ผู้หญิงที่นั่งเกินวันละ 6 ชม. เสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิงที่นั่งวันละ 3 ชม. หรือประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ชายที่นั่งนานเกินวันละ 6 ชม. มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ชายที่นั่งวันละ 3 ชม. หรือประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์นี้ไม่เปลี่ยนแปลงหลังหักลบเวลาออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังพบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะโรคหัวใจมากกว่าโรคมะเร็ง ดังนั้น ไม่ว่าจะออกกำลังกาย 30-60 นาที แต่หากใช้เวลาที่เหลือของวันกับการนั่งนาน ๆ ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และเสียชีวิตได้
ไม่เพียงแค่โรคหัวใจเท่านั้น การนั่งนาน ๆ ติดต่อกันหลายชั่วโมง แพทย์สาขาอายุรกรรมท่านนี้บอกต่อว่า ยังเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคระบบหลอดเลือด เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกได้ง่าย ส่วนมากจะเกิดกับผู้โดยสารบนเครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะเวลานานนับสิบชั่วโมงโดยไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือคนขับรถเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูง
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโรคทางระบบเมทตาโบลิค (ระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายช้าลง) เป็นสาเหตุให้เกิดโรคน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง โรคเบาหวานชนิดที่สอง ระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้สูง ตลอดจนโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคทางกระดูก และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวนั้น แพทย์สาขาอายุรกรรมรายนี้ แนะนำสมาชิกทุกบ้านว่า ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิคให้ได้ทุกวัน ประมาณวันละ 30-60 นาที ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญควรลดการเวลาการนั่งนาน ๆ ด้วยการเปลี่ยนท่วงท่า หรือเดินยืดเส้นยืดสายบ้าง
"คนที่ชอบนั่งทำงานอยู่ที่ติดต่อกันหลายชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ โดยทุก 1 ชม. ควรใช้เวลาเดินเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง เช่น เดินขึ้นลงบันได 1-2 ชั้น “คนที่ชอบนั่งทำงานอยู่ที่ติดต่อกันหลายชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ โดยทุก 1 ชม. ควรใช้เวลาเดินเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง เช่น เดินขึ้นลงบันได 1-2 ชั้น หรือลดการพูดคุยสื่อสารทางเมล แต่ใช้การสื่อสารโดยตัวท่านเองในระหว่างเพื่อนร่วมงาน" พญ.กรุณาฝากทิ้งท้าย
(แหล่งข้อมูล : เว็ปไซค์ผู้จัดการ)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-625-6555 โรงพยาบาลปิยะเวท